บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน บริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร มีแหล่งเรียนรู้ที่แสดงวิถีชาวปทุมธานีและชาวไทยนั่นคือ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ในแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ถ่ายทอดพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร ภูมิปัญญา นวัตกรรมเกษตร ศาสตร์พระราชาปรัชญาเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า และความสำคัญของการเกษตรกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย โดยพื้นที่ 374 ไร่นั้นแบ่งอาคารเป็นแต่ละพิพิธภัณฑ์ ตั้งแต่พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา, พิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม, พิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร, พิพิธภัณฑ์วิถีน้ำ, พิพิธภัณฑ์ดินดล, พิพิธภัณฑ์เกษตรคือชีวิต, พิพิธภัณฑ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง และ พิพิธภัณฑ์เกษตรตามรอยพ่อ ซึ่งระหว่างนี้มีการปรับปรุงอาคารและนิทรรศการหลายแห่ง เปิดให้เข้าชมนิทรรศการภายในอาคาร 2 ชั้นของพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา ที่ต้อนรับผู้เข้าชมด้วยหุ่นจำลองพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีในวิถีเกษตรที่มีมาแต่โบราณเพื่อเป็นสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เกษตรกรช่วงเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก มีส่วนจัดแสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และมีโรงภาพยนตร์กษัตริย์ เกษตร ผู้ชมสวมแว่นตา 3 มิติที่จัดเตรียมให้ รับชมการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ ซึ่งจัดทำออกมาได้สนุก น่าตื่นเต้น ได้ยินเสียงยินดีจากเด็กๆ (และผู้ใหญ่) ที่ร่วมชมอยู่เป็นระยะ
โซนจัดแสดงต่างๆ เป็นไปในแบบให้ข้อมูล มีสิ่งของ อุปกรณ์ให้ได้หยิบจับ ลองเล่น หรือจอภาพวิดีโอแสดงการทำงาน อย่างการได้เรียนรู้หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงยึดทางสายกลางสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม ได้สนุกกับของเล่นในวิถีเกษตรที่ทำได้เองจากธรรมชาติใกล้ตัว ได้เข้าใจวิถีเกษตรของพ่อที่พยายามคิดหาวิธีจัดการดิน น้ำ ป่า คน โดยใช้พื้นที่ภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระราชวังดุสิต เป็นห้องทดลองเพื่อพัฒนาสู่พื้นที่จริงในแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ ได้เรียนรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน สร้างสรรค์อนาคตทางการเกษตรไทยและเกษตรโลก ได้เข้าไปอยู่ในบรรยากาศท้องทุ่ง วิถีลุ่มน้ำ และตลาดเก่าที่ขนสินค้าการเกษตรขึ้นท่าเรือแล้วนำไปขายในตลาดตามชุมชน นอกจากนี้ก็มีนิทรรศการสนองพระราชปณิธาน จัดแสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมุ่งมั่นในการสืบสาน รักษา ต่อยอด สนองพระราชดำริและพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และนิทรรศการน้อมนำคำพ่อสอน ว่าด้วยพระราชกรณียกิจสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงเป็นองค์ประธานแห่งการน้อมนำตามพระราชดำริและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
มีกลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินตามรอยศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปฏิบัติจนเกิดผลอยู่มากมาย ส่วนหนึ่งได้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายของพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ทั่วประเทศ ซึ่งในวันเสาร์ และอาทิตย์ สัปดาห์แรกของเดือน จะนำสินค้า ผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัย มาออกตลาดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งการเดินชมเป็นไปอย่างละลานตาและเลือกซื้อกันจนหิ้วพะรุงพะรัง ค่าที่มีทั้งอาหารสด อาหารแห้ง ผัก ผลไม้ น้ำพริก เครื่องปรุง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผ้าทอ งานฝีมือ จากทุกภาค ไหนจะน้ำพริกข่าจากภาคเหนือ ข้าวยำบูดูจากภาคใต้ ผ้าซิ่นจากอีสาน ข้าวสารจากภาคกลาง แล้วยังตลาดต้นไม้ที่มีทั้งไม้ผล ไม้ดอก ไม้เศรษฐกิจ อุปกรณ์การเกษตรต่างๆ โดยผู้ขายส่วนใหญ่คือผู้ลงมือทำ จึงพูดคุย สอบถาม ขอคำแนะนำได้ รวมถึงการเข้าร่วมเวิร์กช็อปกิจกรรมการเกษตรต่างๆ ที่สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าทางเฟซบุ๊กแฟนเพจของพิพิธภัณฑ์ฯ ซึ่งในวันเสาร์ และอาทิตย์ ที่ 2, 3, 4 ของเดือน ที่ไม่ได้ติดตลาดเศรษฐกิจพอเพียง ก็มีกิจกรรมท่องเที่ยว กิจกรรมการเกษตรแบบมืออาชีพ หลักสูตรอบรมเข้มข้นจากเกษตรกรตัวจริง ให้การเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง
ศึกษาข้อมูลพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/th
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…
“ก่อนหน้านี้เราเป็นสถาปนิก และกระบวนกรจัดประชุมสัมมนาด้านวิชาการ โดยหลัก ๆ จะอยู่เชียงใหม่ ช่วงปี 2562 เรากลับลำพูนและเห็นเทศกาล River Festival Lamphun ริมแม่น้ำกวง รู้สึกตื่นตามาก ๆ ไม่เคยคิดว่าเราจะได้เห็นโชว์แสง…