พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งจำเพาะเจาะจงเนื้อหานิทรรศการด้านมานุษยวิทยา ที่มีพิพิธภัณฑ์ด้านนี้ไม่มากนักในประเทศไทย ดำเนินงานโดยคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มีคลังของสะสมโบราณวัตถุจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีภาคสนาม และได้รับบริจาคโบราณวัตถุและวัตถุทางวัฒนธรรมจำนวนมากจาก ดร.วินิจ วินิจนัยภาค จึงนำมาจัดแสดงเพื่อนำเสนอวิชาว่าด้วยเรื่องตัวคน และสิ่งที่คนสร้างขึ้น ทำให้ผู้เข้าชมได้ขยายมุมมอง ใคร่ครวญถึงสิ่งของที่นำมาจัดแสดง นำไปสู่การเข้าใจผู้คนในมิติที่รอบด้านขึ้น พร้อมกับมีนิทรรศการหมุนเวียนในหัวข้อต่างๆ เช่น นิทรรศการ “ทุ่งรังสิต” จากสมัน นาข้าว สาวโรงงาน ถึงนักศึกษาและเหี้ย ที่ทำให้รู้จักพื้นที่รังสิตและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ดียิ่งขึ้น และนิทรรศการ “มรดกวัฒนธรรมเชิงช่างเมืองเพชร” แสดงผลงานชั้นครูของช่างเมืองเพชรบุรี อาทิ ตำราดาว วัดขุนตรา และภาพวาดมหาชาติกัณฑ์กุมาร และนครกัณฑ์ ฝีมืออาจารย์เลิศ พ่วงพระเดช ขณะที่นิทรรศการซึ่งได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษคือ นิทรรศการ “เจ้าชายน้อย : หนังสือ ของสะสมและการสนทนาข้ามวัฒนธรรม” ที่เปิดมุมมองวรรณกรรมฝรั่งเศสให้กว้างไกลกว่าการจัดแสดงประวัติผู้ประพันธ์ สิ่งของสะสม หากสร้างบทสนทนาใหม่ๆ ผ่านการเผชิญหน้าทางวัฒนธรรมและบทบาทของพิพิธภัณฑ์ในโลกร่วมสมัย
นิทรรศการ “ฃุนน้อย : เจ้าชายน้อย ฉบับภาษาถิ่นสุโขทัย-ลายสือไท” ซึ่งย้ายจากส่วนแสดงหลักภายในอาคารนิทรรศการ ที่ปิดปรับปรุงหลังคาและซ่อมแซมอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 มาจัดแสดง พร้อมกับนิทรรศการ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” ณ อาคารส่วนต่อขยายที่อยู่ด้านข้างเชื่อมต่อกับพิพิธภัณฑ์ฯ โดยนำเสนอหนังสือ “ฃุนน้อย” ฉบับแปลขึ้นใหม่เป็นภาษาท้องถิ่นสุโขทัยและถ่ายถอดคำแปลด้วยอักษรลายสือไท สมัยสุโขทัย เพื่อเป็นสื่อกลางการสนทนาข้ามวัฒนธรรม เปิดประเด็นข้อถกเถียงและการศึกษาด้านการแปล-ภาษา-วัฒนธรรม (ท้องถิ่น) อันจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างหลายหลากของมนุษย์และวัฒนธรรม ซึ่งก็เป็นเหตุผลและสิ่งที่ได้รับจากการเยี่ยมชมนานาพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่าในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะด้านประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม เทคโนโลยี การเกษตร ศิลปะ วัฒนธรรม และ “ผู้คน”
ศึกษาข้อมูลและรายละเอียดของพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเพิ่มเติมได้ที่ https://museum.socanth.tu.ac.th
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…