“เป็นคนขอนแก่น และมีบ้านอยู่ย่านศรีจันทร์ค่ะ จบสถาปัตย์ ม.ลาดกระบัง พอจบก็ทำงานที่ กทม.อยู่พักหนึ่ง แล้วเห็นว่าทาง TCDC เขาเปิดรับเจ้าหน้าที่ที่ขอนแก่น เราเองก็เป็นแฟนคลับไปเอ็มโพเรียมบ่อยมากรู้สึกว่าน่าจะดีถ้าได้ทำงานที่เราชอบ และได้อยู่ในบ้านเกิด ก็เลยตัดสินใจสมัครและได้กลับมาทำงานที่นี่ ตอนนั้นน่าจะก่อนโควิดประมาณสัก 5-6 ปี จำได้ว่าตอนนั้น Cafe ร้านกาแฟในเมืองขอนแก่นนี่เฟื่องฟูมาก และมี Character และ Design น่าสนใจเยอะเลย เราก็คิดว่างานเรื่องความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบก็น่าจะเริ่มมาแล้วสำหรับขอนแก่น แต่พอโควิดมาทุกอย่างหยุดชะงักไปหมด คาเฟ่ที่เคยมีอยู่เยอะ ก็เหลือรอดทำกันต่อไม่กี่ราย
ส่วนตัวมองแบบไม่เข้าข้างตัวเอง ปรางมองว่าถ้าพูดเรื่องศักยภาพด้านงานสร้างสรรค์ และศักยภาพของเมืองในภาคอีสาน ขอนแก่นจะเป็นตัวเลือกแรก ๆ เลยค่ะ แน่นอนว่าเศรษฐกิจกับสังคมมีผลพอสมควร อีกเรื่อง คือ เราสัมผัสได้ว่า กลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่พวกเขากำลังโหยหาไอเดียใหม่ๆ พื้นที่ใหม่ๆ ที่บางทีต้องลงทุนไปหาที่กรุงเทพ หรือเชียงใหม่ และเขาเป็นกำลังสำคัญ และสนใจที่จะเริ่มสร้างสรรค์อะไรๆ ของเขาเอง มันเป็นความรู้สึกประมาณว่า “บ้านเราน่าจะมีแบบนี้บ้าง ถ้าไม่มีฉันก็สร้างเองดีกว่า” อะไรแบบนั้น ซึ่งอะไรใหม่ๆ แบบที่ว่าส่วนใหญ่จะอยู่กระจัดกระจายออกไปตามมุมนู้นมุมนี่ของเมือง ช่วงก่อนโควิดจะกระจุกอยู่ใกล้ๆ มหาวิทยาลัย แต่พอโควิดมาเหมือนการ Set Zero ทุกคนกลับไป Restart กันใหม่
ตอนทำ TCDC ตำแหน่งที่ปรางสมัครเข้าไปมัน คือ เจ้าหน้าที่บริการดูแลโซนห้องสมุดในส่วนบริการทั้งหมด ดูแลห้องสมุด Material ห้องสมุดที่เป็นตัวห้องสมุดจริงๆ และพื้นที่ Office meeting ต่างๆ ข้างในตัวอาคาร แต่ด้วยความที่ทีมมันเล็กทำให้ทุกคนต้อง All in one ในตัว ปรางก็มาเป็น Project manager แล้วดันเลือกโครงการที่ชื่อว่า Made in Srichan โดยนำโมเดลต้นแบบมาจาก Made in Charoenkrung ที่กรุงเทพเขาทำ ถ้าที่เชียงใหม่ก็เป็น Made in Chang Moi พอเราก้าวเข้าไปเป็น Project manager เราดันชอบในการติดต่อประสานงานคุยกับคนในย่าน ได้จัดกิจกรรมชื่อประมาณว่า เปิดเมือง เปิดอนาคต แล้วเราก็รู้สึกชอบ แต่ด้วยความที่เราเป็นคนขี้เบื่อด้วย รู้สึกว่าพอเป็น Freelance มาทั้งชีวิตแล้วอยู่ๆ มาทำงานประจำเป็น Routine แล้วก็รู้สึกอิ่มตัวกับมัน เลยอยากลองออกมาทำอะไรเอง เป็นที่มาของร้าน Hobby please paint bar & workshop ทำกับน้องสาว 3 คน
คือ มันก็ลงตัวพอดีตรงที่ เราสนใจย่านแถวนี้ ตึกนี้ว่างโชคดีที่เห็นตอนติดไฟแดงตรงแยก พอคุยกับทางเจ้าของตึก แล้วพี่เขาก็โอเคกับเรามาก น้องเราก็ขายของกระจุกกระจิกอยู่แล้ว อย่างเวลามีงาน Art Lane ที่มข. ซึ่งจัดทุกปี ยอดขายจากงาน คือ โอเคเลย และมีกลุ่มลูกค้าติดตามเราอยู่พอสมควร เราจึงเอาจุดเด่นของทั้ง 3 คนมารวมกัน ปราง Paint ได้ งานศิลปะได้ น้องดูเรื่องเครื่องดื่ม อีกคนดูเรื่องของจุกจิกที่จะขายในร้าน มันจึงเหมือนสามเหลี่ยมสามส่วนมาช่วยกันขับเคลื่อนร้าน ตอนเปิดวันแรกๆ ทุกคนแถวนี้คิดว่าเป็นร้านกาแฟ เวลาสื่อสารเราก็จะพยายามใช้คำว่า Paint bar & workshop และพยายามหลีกเลี่ยงคำว่าคาเฟ่ หรือร้านกาแฟเพราะว่าเครื่องดื่มเราไม่ได้เยอะ เสริมมาเป็น Snack ทุกคน และเป็นเครื่องดื่มแนวโซดากับ Based นม ชาไทย ชาเขียว นมคาราเมล เลยพยายามใช้คำว่า Paint bar & workshop แทน ในตอนนี้จะมี Course ทำก้านไม้หอม เริ่มจาก Paint ขวดแก้วก่อน แล้วผสมกลิ่นต่างๆ แล้วปักก้านไม้หอม จัดเป็น package แล้วก็มีอุปกรณ์ DIY ที่จะเลือกทำที่ร้านก็ได้ หรือซื้อกลับไปทำที่บ้าน อันนี้ Walk in เข้ามาได้เลย และมี Course Paint 2 แบบ อันแรกเป็นระบายสีตามช่องที่มีตัวเลขกำกับ อีกอันเป็นงาน Paint ที่ใช้ปุยฝ้ายแล้วเอาเข็มจิ้ม ๆ ให้เป็นภาพคล้ายกับทำ Knitting ตอนนี้ร้านเปิด 11.00 – 19.00 น.ปิดวันพุธ ติดตามได้ที่ Facebook กับ IG Hobby please paint bar & workshop
เรื่องที่อยากจะฝากไปถึงทุกคนที่เกี่ยวข้อง คือ การเสริมให้เมืองขอนแก่นโดดเด่น และมี Positioning ชัดเจน ปรางอยากให้เพิ่มพื้นที่ Gallery หรือลานคนเมือง อย่างเชียงใหม่จะมีสามกษัตริย์ที่พอจะเป็นลานที่จัดงานต่างๆ ได้ รู้สึกได้ว่าตรงนั้นคือพื้นที่ที่เป็นลานคนเมือง แต่ขอนแก่นไม่มีอะไรชัดเจน ก็อยากให้เพิ่มพื้นที่แบบนี้ งานสำคัญๆ ของเมืองก็จะได้ชัดเจนมากขึ้น”
รัตสุดา เกตุแก้ว
เจ้าของร้าน Hobby please paint bar & workshop
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…