“อาม่ามีธุรกิจขายอะไหล่รถชื่อเสรียนต์ อยู่แถวโรงพยาบาลพุทธชินราช ช่วงไหนที่ลูกค้าไม่เข้า เรานั่งว่างๆ ก็เลยหยิบกระดาษกับดินสอสีมาวาดรูป อาม่าเล่นคอมพิวเตอร์ไม่เป็นน่ะ พวกมือถือก็ตัวเล็กไปเลยไม่เล่น เลยฆ่าเวลาด้วยการวาดรูปจนกลายเป็นงานอดิเรก
จนพออายุมาก ลูกหลานเขาก็ขอให้อาม่าไม่ต้องมาดูร้านแล้ว ให้กลับมาพักผ่อนอยู่บ้านที่ตลาดใต้ อาม่าว่างๆ ก็เลยวาดรูปเล่นบนกระดาษลัง และเอามาแขวนหน้าบ้าน และไปขอแขวนตั้งโชว์ตามหน้าบ้านที่เขาปิดไว้ ตลาดใต้เดี๋ยวนี้มันเงียบน่ะ อยากให้มีสีสัน มีอะไรดูบ้าง คนที่นี่เขาก็ชอบกันนะ และมารู้ทีหลังว่ามีวัยรุ่นถ่ายรูปเช็คอินลงอินเตอร์เน็ทด้วย อาม่าก็ดีใจ
จริงๆ อาม่าไม่ใช่คนพิษณุโลก เป็นคนนครปฐมค่ะ มาแต่งงานกับคนพิษณุโลกและเริ่มธุรกิจนี้กันนี่แหละ ขอคุยหน่อย สมัยก่อนมีเศรษฐีจากศรีสะเกษมาจีบ เป็นเจ้าของปางไม้ เขามาจีบอาม่าและบอกว่าถ้าเป็นแฟนเขา อาม่าจะสบายไปทั้งชีวิต ไม่ต้องเหนื่อยทำงานอะไร เขาบอกแบบนี้ อาม่าเลยปฏิเสธเขาไป อาม่าชอบทำงานน่ะ ถ้าอยู่กับเขาแล้วไม่ได้ทำงาน คงไม่มีความสุข (หัวเราะ)
อาม่าจะสอนลูกหลานและพนักงานร้านเราหมดว่าจะพูดอะไรต้องให้เป็นมธุรสวาจา พูดจาให้ไพเราะเสมอ ถ้าคุณไปซื้อของที่เสรียนต์แล้วเจอพนักงานพูดจาไม่เพราะใส่ มาฟ้องอาม่าได้เลยนะ
ใช่… อาม่าเป็นคนจีนเหมือนกันแหละ แหม่ ก็แทนตัวเองว่าอาม่า และก็อยู่ย่านนี้ (ตลาดใต้) ตอนแรกก็มีชื่อจีน และใช้แซ่แหละ ส่วนชื่อนามสกุลไทยนี่มาเปลี่ยนโดย พันตำรวจเอก ขุนนครรัฐเขตต์ ตอนนั้นท่านเป็นผู้ช่วยมหาดไทย อาม่าไม่รู้จะเปลี่ยนเป็นนามสกุลอะไรดี ท่านก็บอกว่าเอาแบบนี้ไหม ตอนนั้น เจริญ วรรธนะสิน เป็นนักแบดมินตันที่กำลังดังมากๆ เอานามสกุลเขาแล้วเติมคำว่า ‘โอ’ นำหน้า เลยกลายเป็น โอวัฒนะสิน อาม่าก็ว่าเพราะดี เลยเป็นนามสกุลนี้”
สุภาพร โพธิอภิญาณวิสุทธิ์ (โอวัฒนะสิน)
เจ้าของร้านเสรียนต์ และผู้อาวุโสในตลาดใต้ พิษณุโลก
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…