“ผมเป็นคนหัวหิน ตอนเรียนจบมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี รุ่นพี่ชวนตั้งกลุ่มยายกับตาที่เพชรบุรี ทำค่ายจิตอาสา กิจกรรมเดินท่องเมือง ปั่นจักรยานสองล้อพิทักษ์รักษ์ลำน้ำเพชร ซึ่งทำกันมาจะปีที่ 30 แล้ว ก็เป็นต้นแบบที่เราฟูมฟักสั่งสมประสบการณ์กลับมาทำที่หัวหินบ้านเรา ตั้งกลุ่มกะตอยรัก(ษ์)หัวหิน ออกแบบโลโก้สามตัวคือสามคนที่ตั้งกลุ่มกันมา กะตอยคือปลาหมึกตัวเล็กๆ แก๊งกะตอยก็เหมือนปลาหมึกตัวเล็กๆ ที่ซุกซน เราทำกิจกรรมง่ายๆ เรื่องประเพณี วัฒนธรรมพื้นถิ่นกันมาปีนี้ครบ 10 ปีแล้ว เราคิดแบบเด็กๆ แต่ทำโดยผู้ใหญ่ เพราะตอนเด็กเราคิด แต่เราทำไม่ได้ พอเป็นผู้ใหญ่ เราทำได้ เช่นทำกิจกรรมทอดน่องท่องเมือง ค่ายกะตอยมัคคุเทศก์น้อย ปั่นสองล้อลองของขลัง กาล่าดินเนอร์ที่สถานีรถไฟ กิจกรรมปลากระป๋อง คือสมัยเด็กๆ เดินไปที่สะพานปลา เวลาเขาเอาปลาขึ้นมาในตะกร้ามันมีพวกตัวเล็กๆ ที่หล่นลงมา หยิบกินได้ เราก็เอามาใส่เบ็ด กระป๋องนม มัดไป ซึ่งไม่ต้องลงทุนอะไรเลย กระป๋องนมก็หาเอา มีช่อง 3 มาถ่ายเพราะเห็นคุณค่า เลยเป็นการเปิดตัวกลุ่มกะตอยรัก(ษ์)หัวหิน
เวลาผมทำงานโครงการขึ้นมา ผมก็ขี่ซาเล้ง โพสต์ เพื่อนๆ คนไหนอยากช่วยอะไรก็ช่วยกัน ผมคิดแบบนี้ แต่หน่วยราชการทำไม่ได้ แล้วสื่อโทรทัศน์หลักๆ เขามาถ่ายไง ตัวเราก็เลยกลายเป็นทองขึ้นมา ก็สร้างความไม่พอใจกับหน่วยงานรัฐบางท่าน คือมีอำนาจทำไมทำไม่ได้ แต่ถ้าผมทำแบบท่านผมขับเบนซ์ไปแล้ว ผมพูดตรงๆ อาจจะไม่เหมือนใคร บางทีปัญหาการไม่พัฒนาของคนไทยเป็นเพราะหน่วยงานรัฐย่ำอยู่กับที่ มีแต่คำว่านาย แล้วมีคนถามว่าผมทำอย่างนี้ไม่กลัวใครจะมาก๊อปปี้เหรอ เขามาก๊อปปี้แสดงว่างานเราดี ผมมีเป็นร้อยแปดโครงการ ทำตามผมไม่ทันหรอก แล้วมองมาที่หัวหิน คนอีโก้สูง สมมติผมถามคุณ ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน ผมไปถามอีกคน เขาบอก เมื่อกี้ไปถามคนนี้แล้ว มาถามเขาทำไม หัวหินถ้าคิดจะทำเรื่องคอมมิวนิตี้หรือความร่วมมือนะ ไม่มีทาง
ถ้านึกถึงสมัย 40 ปีก่อนโน้น หัวหินคือมี 4 ที่ สถานีรถไฟหัวหิน โรงแรมรถไฟ ตลาดฉัตรไชย วังไกลกังวล แล้วก็มีสนามกอล์ฟเพิ่มมา ไม่รวมถึงน้ำตกป่าละอูทางโน้นนะ หัวหินก็คือนี่แหละ ชุมชนหน้าวัดหัวหิน ตรงหน้าโรงแรมฮิลตัน เราเรียก วังท่านจุล แล้วก็มาสะพานปลา ห้าแยกหมาชะงัก ชุมชนพูลสุข หลังวัดคือตรงหอนาฬิกา แต่ก่อนคนกรุงเทพฯ พอบอก เจอกันหน้าวัด ไปรอโน่น เพชรเกษม ไม่ใช่ หน้าวัดอยู่ด้านนี้ บ้านผมตอนเด็กๆ ก็อยู่หน้าวัด ซอยบิณฑบาต บ้านโผน กิ่งเพชรอยู่ถัดไป ลุงโผนยังมาไกวเปลเลี้ยงตอนผม 4-5 เดือนอยู่ ทีนี้ เราทำกิจกรรมทอดน่องท่องหัวหินถิ่นมนต์ขลัง เป็นเส้นทางเดิน 2 ชั่วโมง ก็ 7 โมงถึง 9 โมงเช้า กลุ่มเล็กๆ 10-15 คน มีข้าวเหนียวใบตอง 1 ห่อ น้ำ 1 ขวด ถุงผ้า เดินแล้วก็คุยไป คือถ้าคนไม่รู้ ก็ถามว่าทำกลุ่มกะตอยแล้วมีประโยชน์อะไร ทำทอดน่องทำไม หัวหินมันไปไกลสุดโต่งแล้ว เป็นรีสอร์ตห้าดาว เป็นปูนอะไรหมดแล้ว ผมบอก ลองเดินดูสิ มันก็แค่อาคารไม้สามชั้น ประเทศไทยมีกี่ที่ มีที่สามชุก มีที่นี่ เล่าให้เห็นภาพ เนี่ยนะ สมัยนั้นนะ หน้าจั่วทำไมมีมงกุฎมีนวมอยู่ข้างบน นั่นแหละ บ้านโผน กิ่งเพชรไง เดินอยู่ละแวกหน้าวัด ไปบ้านสามสี่ตระกูลที่มาบุกเบิกหัวหิน มาจบที่ศาลเจ้าแม่ นั่งวาดรูป ดูต้นหูกวาง มันอยู่ที่เทคนิคการเล่า
แล้วที่เคยทำกิจกรรมปั่นจักรยานสองล้อท่องลำน้ำเพชร ก็มาทำปั่นจักรยานสองล้อลองของขลัง ออกแบบแผนที่หัวหินมี 20 จุด เริ่มจากสะพานปลา ขี่จักรยานวนไป ผ่านสวนโผน ผ้าพิมพ์โขมพัสตร์ ตลาดเจ็ดโค้ง ข้าวเหนียวมะม่วงป้าเจือ จอดกินก๋วยเตี๋ยวใต้ถุน ข้าวแกงเนื้อ 25 บาท มันก็ตรงกับกิมมิกของ Green Tourism – Low Carbon ซึ่งเราทำก่อนโครงการพวกนี้จะมาด้วยซ้ำโดยที่เราไม่ได้คิด แล้วตอนนั้นก็เคยทำรถรางชมเมืองกับททท. เส้นทางนี้ก็จะพอดีสมบูรณ์มากเลย คนมาตลาดฉัตรไชยไม่รู้หรอกว่าโดมข้างบนเป็นเจ็ดโค้ง ประสบความสำเร็จมากเลยกับรถรางชมเมือง เพราะนักท่องเที่ยวมาที่หัวหินครั้งที่ 7 ครั้งที่ 8 เขาบอกมีอย่างนี้ด้วยเหรอ คือมันเป็นที่ที่รถยนต์จอดไม่ได้ พอเป็นรถรางปุ๊บ เราคอยบอกว่าหัวหินมีอะไรน่าสนใจกว่าแค่ร้านอาหารทะเล มากกว่า Mass Tourism มีเรื่องเล่าเยอะแยะ ถ้าหน่วยงานเข้ามาเนี่ย บางครั้งพวกของท่านไม่รู้จริงไง
หัวหินถิ่นผู้ดี พักผ่อน ไม่ใช่แบบธุรกิจจ๋า ฝรั่งเมาฮา หัวหินขึ้นๆ ลงๆ มาบูมขึ้นครั้งนึง ตอนนั้นผมจำได้เลย เกือบสามสิบปี มีอดีตนางเอกดังมาซื้อที่ มีบ้านพักที่นี่ ก็เริ่มมีดารามาเที่ยว คือหัวหินเนี่ย แต่งตัวแบบพจมาน ชายพจน์ วนิดา ไปวันไหน 365 วัน คุณจะไม่เคอะเขิน ไปถ่ายรูปสถานีรถไฟ ตลาดฉัตรไชย คุณก็มีฟิลคลาสสิกแบบวนิดายุคนั้น แต่ถ้าคุณแต่งตัวแบบนี้ไปพัทยา ไม่ได้นะ ผมมองว่าแนวทางพัฒนาเมืองหัวหินไปได้หลายรูปแบบ วิวัฒนาการเจริญก้าวหน้า เกษตรยั่งยืน ท่องเที่ยววิถีชุมชน มีทุกอย่าง วัด วัง ทะเล น้ำตก ภูเขา อยู่ที่จะจัดโชว์อะไร ผมอยากโชว์ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ การกิน อย่างถ้าคุณมาทัวร์หนึ่งวัน มาเที่ยวเดินทอดน่องท่องเมือง หรือไปเช่าจักรยานตรงหน้าโรงแรมเซ็นทารา ปั่นเที่ยวตาม 20 จุดที่ทำไว้ได้เลยทุกจุด มันขึ้นอยู่กับต้นทุนและเวลาที่มี
ผมอยากฝากไว้เรื่องนึง คุยไว้นานเป็นสิบปีละ สมัยรัชกาลที่ 6 ท่านเฮโลสาระพามาจากรถไฟจากห้วยทรายใต้นะ พาขบวนมาเที่ยวทะเล พอลงรถไฟปุ๊บ จะมองเห็นทะเลสีขาว ในวังเขาจะเทครัวกันมา ฉะนั้นมีรถรางเส้นเล็กๆ เพื่อใส่น้ำ หมูเห็ดเป็ดไก่ สัมภาระ วิ่งตรงมาที่โรงแรมรถไฟ ระยะทาง 850 เมตร ไอเดียผมคือ รื้อเกาะกลางถนนจากหน้ารูปพ่อตรงพลับพลาพระมงกุฎฯ จนถึงสุดชายหาด ทำเป็นรถรางแบบซานฟรานซิสโก เป็น Social Enterprise บริการฟรีเลย ใครมาก็พานั่งรถไฟฟรีเข้าไปถึงทะเล วิ่งไปวิ่งกลับ รถรางติดไฟแดงได้ มีสถานีขึ้นลงตามเส้นทางได้ ผมนำเสนอกับผู้ใหญ่บางท่าน เขาก็จำไว้ ถ้ามีโอกาส คือถ้าจะทำต้องแบบนี้ เพราะหัวหินยังเป็นเมืองคลาสสิก ไม่ใช่เมืองเร่งรีบ ผมว่าจะเป็นจุดขายอีกอย่างหนึ่งเลย ไปนั่งรถรางหัวหินกัน”
อนันทชัย แจ้งเหตุ
แฟนพันธุ์แท้หัวหิน
กลุ่มกะตอยรัก(ษ์)หัวหิน
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…