“ผมเริ่ม Tuber เมื่อ 8 ปีที่แล้ว จากความที่ก่อนหน้านี้ผมทำงานกรุงเทพฯ และพบว่าวงการสตาร์ทอัพในไทยกำลังมา พร้อมๆ กับการเกิด Co-working space หลายแห่ง ประกอบกับที่พบว่าคนหาดใหญ่ที่มีศักยภาพในวงการเทคโนโลยีต้องเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อย ก็คิดว่าถ้าเราเปิดพื้นที่ในบ้านเกิดเราได้ ก็คงมีส่วนขับเคลื่อนแวดวงสตาร์ทอัพให้หาดใหญ่และภาคใต้ จึงตัดสินใจเปิดที่นี่ขึ้นมาเป็น Co-working space แห่งแรกของเมือง
แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง สิ่งที่คิดไว้ไม่เป็นไปตามนั้น คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเราเป็นพื้นที่ให้เช่าห้องประชุมหรือไม่ก็เป็นคาเฟ่ กลุ่มสตาร์ทอัพหรือฟรีแลนซ์ที่มาใช้บริการเราค่อนข้างน้อยกว่าที่คิดไว้ อย่างไรก็ตาม ที่ธุรกิจนี้อยู่มาได้คือการให้เช่าสำนักงาน เช่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็มาเช่าเปิดบริษัทซอฟต์แวร์ที่เรา ทีม LINE MAN Wongnai ของหาดใหญ่ รวมถึงมีน้องคนหนึ่งที่จบ ม.6 และตัดสินใจไม่ต่อมหาวิทยาลัย มานั่งพัฒนา metaverse ที่พื้นที่ของเราแทน ส่วนคนทำงานฟรีแลนซ์ที่วอล์คอินก็มีบ้าง แต่ยังไม่ใช่รายได้หลัก รวมถึงมีหน่วยงานต่างๆ มาเช่าห้องประชุมของเราด้วย
แต่ตลอด 8 ปี เราก็หาได้เป็นพื้นที่ให้คนมานั่งทำงานอย่างเดียว เราพยายามสร้างความร่วมมือกับสถาบันต่างๆ อาทิ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ หรือสถาบันการศึกษาต่างๆ ในการทำโครงการและกิจกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนระบบนิเวศทางเทคโนโลยีของภาคใต้ โดยเฉพาะการเชื่อมกับองค์กรต่างๆ เพื่อสนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ในพื้นที่ให้เกิดขึ้น
นอกจากนี้ผมตั้งใจให้ที่นี่เป็นชุมชนของผู้คนที่สนใจเรื่องเดียวกัน เพราะอย่างเด็กๆ รุ่นใหม่ที่เขาสนใจ NFT, Blockchain, Cryptocurrency หรือ Metaverse แต่ชีวิตประจำวันเขาอาจไม่รู้จะคุยเรื่องนี้กับใคร ก็พยายามจัดเวิร์คชอปหรืองานเสวนาให้พวกเขาได้มาแลกเปลี่ยนกัน อาทิ Hat Yai Tech Meetup, Hat Yai Python Meetup และอื่นๆ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จัดขึ้นทุกเดือน
ผมมองว่าด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง หาดใหญ่มีกลุ่มสตาร์ทอัพน้อยกว่าที่เมืองควรจะมี อย่างไรก็ดี ที่ประสบความสำเร็จและเป็นตัวอย่างที่ดีก็มี เช่น myHealthFirst ที่ทำแอปพลิเคชั่นมอนิเตอร์ด้านสุขภาพของผู้ใช้ ที่จริง เราเริ่มมีซอฟต์แวร์เฮ้าส์มาเปิดที่นี่กันบ้างแล้ว ซึ่งผมเห็นเป็นโมเดลที่ดีหากองค์เหล่านั้นรับงานลูกค้าสัก 80% และแบ่งทรัพยากรอีก 20% ทำสตาร์ทอัพในโจทย์ของตัวเองเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนในเมืองด้วย
ทั้งนี้ทาง Tuber ก็พยายามเชื่อมโยงแพลทฟอร์มทางเทคโนโลยีที่หาดใหญ่และสงขลาเรามีเข้ากับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนอยู่ อย่างการประชาสัมพันธ์แพลทฟอร์มเทคโนโลยีตามชุมชนในพื้นที่คลองเตยลิงก์ อัพเดตให้ชาวชุมชนรู้ว่าเมืองเราตอนนี้มีนวัตกรรมอะไร และเราสามารถประยุกต์เข้ากับชีวิตเราได้อย่างไร เช่น เรามีหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดใน 3 จังหวัดชายแดน เราสามารถประยุกต์ให้มันมาดูแลความเรียบร้อย หรือบริการชุมชนได้
หรือจุดประกายให้หน่วยงานรัฐเห็นถึงวิธีการใหม่ๆ อย่างเรามีคนทำ IOT อยู่เยอะนะครับ อาจทำระบบจัดเก็บค่าจอดรถในเขตเทศบาล จากเดิมที่เจ้าหน้าที่เราเก็บได้ไม่ถึง 50% ของจำนวนรถที่จอดจริง คุณลองใช้แอปฯ เก็บเงินในพื้นที่ โดยทำแซนด์บ็อกตรงพื้นที่คลองเตยก่อนในกรณีที่มันติดข้อกฎหมาย เป็นต้น
ทุกวันนี้เทศบาลกำลังขับเคลื่อนเรื่องสมาร์ทซิตี้ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะเชื่อมตรงนี้เข้าไป รวมถึงเชื่อมคนทำงานด้านเทคโนโลยีเข้าไปกับการพัฒนาเมือง เพราะสมาร์ทซิตี้ไม่ใช่แค่การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด หรือทำแอปพลิเคชั่นของเมือง แต่เป็นการที่เมืองมีพื้นที่ให้คนทำสตาร์ทอัพ มีการลงทุนด้านเทคโนโลยี คุณหย่อนเม็ดเงินลงไปในเมือง เพื่อให้มันรีเทิร์นกลับเป็น 5 เท่าในระยะเวลาที่วางแผนไว้ เป็นต้น
ควบคู่ไปกับการเห็นหาดใหญ่เป็นเมืองที่น่าอยู่ เป็นเมืองที่มีพื้นที่และโอกาสสำหรับทุกคน ผมอยากให้ที่นี่มีแพลตฟอร์มที่รองรับไอเดียของคนในเมือง ให้ผู้มาเยือนและนักท่องเที่ยวนอกจากมาซื้อของฝากในตลาดกิมหยง ยังสามารถมาช้อปปิ้งแนวความคิดดีๆ หรือนวัตกรรมของคนหาดใหญ่กลับไปพัฒนาต่อที่บ้านของพวกเขาได้”
วรนล ฐิตินันทกร
ผู้ก่อตั้ง Tuber Co-working Space
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…