“หาดใหญ่ไม่ได้มีสถานที่ท่องเที่ยวมากนัก แต่ด้วยทำเลที่มีสนามบินนานาชาติและชุมทางรถไฟ ความพร้อมในด้านโรงแรมที่มีให้เลือกทุกระดับ ที่สำคัญคืออาหารการกินที่หลากหลาย และวิถีชีวิตยามค่ำคืนที่คึกคัก ผมจึงบอกคนอื่นเสมอว่า ที่นี่คือศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาค
สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดสงขลา อยู่ใต้ร่มของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บทบาทของเราคล้ายๆ หอการค้า แต่จะโฟกัสไปที่การท่องเที่ยว สภาเรามีสมาชิกเป็นสมาคมต่างๆ เช่น สมาคมโรงแรม สมาคมมัคคุเทศก์ และอื่นๆ โดยเรามีหน้าที่เหมือนตัวกลางเชื่อมภาคเอกชนกับภาครัฐ ถ้าภาครัฐมีข่าวหรือโครงการใดๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ก็จะส่งมาให้เราไปกระจายต่อยังสมาชิก ในทางกลับกันถ้าภาคเอกชนมีข้อเสนอต่อภาครัฐ เราก็มีหน้าที่รับเรื่องไปเสนอ
ในฐานะประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา นอกเหนือจากความพยายามฟื้นฟูการท่องเที่ยวของจังหวัด โดยการประสานกับภาครัฐและสถาบันการเงินในการอัดฉีดอุตสาหกรรมหลังการฟื้นตัว เรากำลังพยายามปรับดีมานด์ไซด์ของกลุ่มนักท่องเที่ยวจากเดิมที่เคยพึ่งพามาเลเซียและสิงคโปร์ เราก็มองไปที่อินโดนีเซีย เวียดนาม และอื่นๆ โดยประสานไปยังภาครัฐ หน่วยงานที่สนับสนุนการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ ไปจนถึงสายการบิน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวตลาดใหม่ๆ เข้ามาในจังหวัด
อย่างที่บอก ผมไม่ได้อยากให้มองว่ามาเที่ยวหาดใหญ่แล้วจะจบที่หาดใหญ่ ไม่มีใครมาซื้อสินค้าหนีภาษีหรือสินค้าราคาถูกจากจีนที่หาดใหญ่อีกแล้ว แต่ในทางกลับกัน สิ่งนี้เป็นเรื่องดี เพราะจริงๆ หาดใหญ่มีศักยภาพมากกว่านั้นมาก โดยเฉพาะการมีชัยภูมิที่ยอดเยี่ยม คุณลงเครื่องบิน เช็คอินที่โรงแรมในเมือง จากนั้นก็ออกเที่ยวพื้นที่รอบๆ ได้แทบทุกทิศเลย คุณจะขึ้นไปดูวิถีชาวประมงที่ลุ่มแม่น้ำทะเลสาบสงขลาก็ได้ ไปเดินเล่นย่านเมืองเก่าสงขลาซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการขับเคลื่อนเพื่อขอเป็นเมืองมรดกโลก ชมทะเลน้อยที่จังหวัดพัทลุง หรือออกไปทางจังหวัดสตูล ก็มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามมากมาย
เที่ยวเสร็จคุณก็กลับมานอนหาดใหญ่ ที่นี่เต็มไปด้วยของอร่อยตั้งแต่สตรีทฟู้ดไปจนถึงร้านหรู ไนท์ไลฟ์ที่นี่ก็เปี่ยมด้วยชีวิตชีวา เช้าวันต่อมาคุณอาจตื่นมาตักบาตร และขึ้นเขาคอหงส์ไปชมทิวทัศน์ของเมือง ก่อนเดินทางกลับก็ซื้อของฝากที่ตลาดกิมหยง
อีกจุดเด่นของเมืองแห่งนี้คือความพร้อมด้านบริการด้านการแพทย์และสุขภาพ ซึ่งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงจากต่างประเทศเข้ามาได้ เรามีโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ที่รวมแพทย์เก่งๆ ไว้มากที่สุดในภาคใต้ โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย ศูนย์ชีวาศรม ขณะเดียวกันก็มีโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำระดับประเทศ ทั้งโรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ โรงพยาบาลราษฎร์ยินดี โรงพยาบาลศิครินทร์ และอื่นๆ
เมื่อโรงพยาบาลพร้อม โรงแรมก็พร้อม หาดใหญ่จึงมีระบบนิเวศของการรักษาและพักฟื้นครบครัน ขณะนี้โรงพยาบาลกรุงเทพกำลังทำ pilot project ร่วมกับโรงแรมและบริษัททัวร์ ทำแพ็คเกจด้านการตรวจสุขภาพและการรักษาเพื่อดึงดูดชาวมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย คุณมาหาหมอเสร็จ ก็พักฟื้นหรือพักผ่อนที่หาดใหญ่นี่เลย
ส่วนคำถามที่ว่าแล้วหาดใหญ่ขาดอะไร ผมมองว่าเรายังขาดการพัฒนาสาธารณูปโภคครับ เรายังขาดการบูรณาการในการซ่อมบำรุงสาธารณูปโภค เดี๋ยวซ่อมถนน เดี๋ยวขุดซ่อมท่อ วนเวียนไปอย่างนั้น เมืองยังขาดรถประจำทางสาธารณะจริงๆ การจัดการขยะก็ยังไม่ยั่งยืน พื้นที่สีเขียวไม่เพียงพอ และที่สำคัญคือขาดทางเท้าที่มีประสิทธิภาพ เราจึงเดินเท้าในเมืองไม่ได้ และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมรถจึงติด
ที่ผ่านมาภาครัฐนำเงินไปอัดฉีดกับการจัดอีเวนท์ในเมืองเยอะ ซึ่งผมเห็นด้วยว่าเมืองควรมีอีเวนท์ แต่การลงงบประมาณไปกับแค่เรื่องนี้ ก็เหมือนการปลูกดอกไม้ประดับเมืองที่สุดท้ายก็เฉาลง หรือที่มีข่าวว่ามีหน่วยงานรัฐจะลงทุน 200 ล้านบาท เพื่อทำหอชมเมืองบนเขาคอหงส์ ก็ไม่ต่าง ที่ผ่านมาเรามีโครงการก่อสร้างจากภาครัฐที่เมื่อสร้างเสร็จก็ถูกทิ้งร้างและไม่ได้ใช้งานนับจำนวนไม่ถ้วน เพราะผู้สร้างไม่ได้มองถึงการบริหารจัดการ และหอชมเมืองบนภูเขาที่ทุกคนก็เห็นทิวทัศน์ของเมืองได้ทั่วอยู่แล้ว มันจำเป็นจริงๆ หรือ?
สู้นำงบประมาณที่จะลงทุนโครงการใหญ่ๆ มาทำให้สาธารณูปโภคในเมืองให้มีความพร้อม มีทางเท้าและขนส่งมวลชนที่ใช้ได้จริง ที่จอดรถเพียงพอ และภาพรวมของเมืองมีความน่าอยู่และสะอาด ผมมองว่ารัฐควรเลิกใช้จ่ายเงินกับการปลูกไม้ประดับ และหันไปลงทุนกับต้นไม้ใหญ่ในความหมายของโครงสร้างพื้นฐานของเมืองให้พร้อมเสียที
เพราะถ้าโครงสร้างของเมืองดี ภาคเอกชนก็จะมีความมั่นใจและพร้อมลงทุนกับโครงการใหม่ๆ เอง รัฐไม่จำเป็นต้องไปสร้างแข่งกับเขา”
สมพล ชีววัฒนาพงศ์
ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดสงขลา
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…