“แม้เทศบาลเมืองพะเยาจะมีนโยบายที่จะขับเคลื่อนพะเยาให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ เศรษฐกิจดี และมีสุขภาวะที่ดี ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราอยู่แล้ว แต่การได้ร่วมมือกับทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา ก็ช่วยยกระดับการทำงาน รวมถึงเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจให้กับชาวบ้านได้อย่างมาก โดยเฉพาะในแง่ของความคิดสร้างสรรค์และการส่งเสริมทักษะความรู้ใหม่ๆ
ที่เห็นได้ชัดคือการที่มีทีมอาจารย์ร่วมกับผู้ประกอบการที่ทำสินค้า OTOP ออกแบบฉลากสินค้า บรรจุภัณฑ์ การถนอมอาหาร ไปจนถึงแบรนด์ดิ้ง เปลี่ยนภาพลักษณ์จากสินค้าท้องถิ่นที่เป็นมาให้ดูมีความเป็นสากลมากขึ้น ช่วยขยายตลาดให้สินค้าได้มากกว่าเดิม
หรืออย่างเรื่องการศึกษา ในฐานะตัวแทนสำนักงานเทศบาล ผมรู้สึกปลื้มใจที่ทีมงานจากมหาวิทยาลัย ได้ประสานให้เกิดวิชาใหม่ๆ ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล อย่างวิชาการเขียน coding ซึ่งเป็นทักษะที่ทำให้เด็กๆ สามารถเท่าทันโลก ขยายขอบเขตของการใช้สมาร์ทโฟนให้เป็นมากกว่าเครื่องมือติดต่อสื่อสารหรือเล่นโซเชียลมีเดีย แต่เป็นเครื่องมือที่สามารถต่อยอดเป็นอาชีพได้ นอกจากนี้ยังมีวิชาสมาร์ทฟาร์ม (smart farm) รวมถึงการใช้งานโดรน ที่นำร่องไปแล้วในโรงเรียนเทศบาล 2 และโรงเรียนเทศบาล 3 โดยกองการศึกษาของเราจะมีการเปิดหลักสูตรในโรงเรียนแห่งอื่นๆ ต่อไป
แน่นอนที่ว่าการศึกษาของแต่ละคนไม่เท่ากัน เด็กบางคนอาจมีความสามารถเรียนรู้ได้เร็ว แต่เด็กบางคนก็หัวช้า ดังนั้น เทศบาลจึงมุ่งมั่นในการจัดสรรและมีส่วนสนับสนุนให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้ในเมืองพะเยาให้ครอบคลุม และรองรับกับเด็กในทุกระดับให้ได้มากที่สุด แต่การจัดหาพื้นที่อย่างเดียวคงไม่มีทางจะทำให้เป้าหมายของเราสำเร็จได้ หากขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษมาร่วมงานกับเรา ผมจึงหวังให้ มหาวิทยาลัยพะเยา ในฐานะที่ผมมองว่าเป็นเหมือนพี่เลี้ยงของเทศบาล ร่วมขับเคลื่อนพะเยาของเราให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อไป
ส่วนการเป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้เนี่ย ส่วนตัวผมก็ดีใจครับที่เราได้รับการพิจารณาขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก แต่ก็มองสิ่งนี้เป็นแค่ประกาศนียบัตรรูปแบบหนึ่ง ได้มาเราก็ภูมิใจ แต่หัวใจสำคัญคือเราจะทำยังไงให้ชาวบ้านอยู่ดีมีสุข สามารถพึ่งพาตัวเองทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนมากกว่า รางวัลสำหรับเมืองก็เป็นเพียงรางวัลครับ แต่หัวใจจริงๆ คือชีวิตความเป็นอยู่ของคนในเมือง ซึ่งผมก็รู้สึกดีใจที่ทีมงานขับเคลื่อนโครงการเห็นตรงกับเราในข้อนี้ และใช้รางวัลที่เรากำลังจะได้นับจากนี้ มีส่วนเชื่อมความรู้เพื่อยกระดับเมืองให้ผู้คนมีความสุข”
มนัส สายโกสุม
รองนายกเทศมนตรีเมืองพะเยา
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…