“ราชบุรีเป็นเมืองที่มีองค์ความรู้ให้ได้ศึกษาไม่จบสิ้น และองค์ความรู้เหล่านี้ก็เป็นต้นทุนชั้นดีต่อการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืน”

“ถ้าเราดูตามเอกสารและหลักฐานทางงานศิลปกรรม ราชบุรีมีการอาศัยอยู่ของผู้คนมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในพื้นที่บ้านโคกพริก ตำบลคุ้งกระถิน อำเภอเมืองราชบุรี ความน่าสนใจก็คือพื้นที่ดังกล่าวเดิมเป็นเส้นทางของแม่น้ำแม่กลองสายเก่า ซึ่งเมื่อแม่น้ำมีการเปลี่ยนเส้นทางในยุคต่อๆ มา ก็มีการเกิดขึ้นของชุมชนตามไปด้วย ทั้งเมืองโบราณคูบัว บริเวณวัดมหาธาตุ มาจนถึงเส้นทางใจกลางตัวเมืองในยุคปัจจุบัน

การเปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำนำมาสู่การตั้งถิ่นฐานของผู้คนในแต่ละยุค และนำมาสู่การกระจายตัวของงานศิลปกรรมที่เป็นผลผลิตของผู้คน เราจึงพบโบราณวัตถุที่สะท้อนยุคสมัยต่างๆ กระจายอยู่ทั่วเมือง ขณะเดียวกัน ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของลำน้ำแม่กลอง ก็ยังได้ดึงดูดให้ผู้คนจากพื้นที่ต่างๆ มาลงหลักปักฐาน จนเกิดความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นชาวมอญที่เริ่มมาในสมัยอยุธยา ชาวลาวโซ่งที่เข้ามาในช่วงกรุงธนบุรี ชาวไทยวนที่ถูกกวาดต้อนมาจากทางเชียงแสนในช่วงต้นรัตนโกสินทร์

หรือชาวจีนใช้แม่น้ำแม่กลองเป็นเส้นทางการค้าทำให้ราชบุรีกลายเป็นเมืองท่า ก่อนจะมีการตั้งรกราก และผสานทักษะการทำเครื่องปั้นดินเผาที่ติดตัวมาจากเมืองจีน เข้ากับดินทรายอันอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ จนเกิดเป็นอุตสาหกรรมผลิตโอ่งมังกรที่รุ่งเรืองมาถึงปัจจุบัน

บทบาทหลักของโครงการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ของเรา ซึ่งรับผิดชอบโครงการย่อยที่ 1 (โครงการพัฒนาคลังข้อมูลสารสนเทศศิลปวัฒนธรรมเมืองราชบุรี และการพัฒนาต้นแบบแหล่งเรียนรู้: เมืองประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม) คือการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเหล่านี้มาไว้ในฐานข้อมูล และร่วมกับคณะนักวิจัยท่านอื่นๆ รวมถึงเครือข่ายภาคประชาชนในการพัฒนาข้อมูลเหล่านี้ให้กลายเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของเมือง

โดยกระบวนการทำงานนี้เราเริ่มจากการระดมความคิดเห็นของผู้คนในราชบุรีที่เรียกว่าปฏิบัติการโต๊ะกลม หรือ Desk Project นำข้อมูลที่ได้มาแลกเปลี่ยน และพูดคุยกับคนในชุมชนว่าเราจะสร้างพื้นที่การเรียนรู้ และออกแบบอัตลักษณ์ของเมืองราชบุรีของเราอย่างไร

พร้อมกันนั้นก็ได้ประสานไปทางสถาบันการศึกษาในเขตเทศบาล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการทางศิลปวัฒนธรรมแก่เด็กนักเรียน ก่อนจะชวนให้เด็กๆ ตั้งกลุ่มประกวดแนวทางการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองราชบุรี ก็ได้รับความร่วมมือจากทั้งโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี โรงเรียนดรุณาราชบุรี และโรงเรียนในสังกัดเทศบาล ส่งทีมเข้าร่วม

ในการประกวดครั้งนั้น เราได้เห็นไอเดียในการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ของเด็กๆ หลากหลายมาก ทั้งการทำเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือ การจัดนิทรรศการเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่โบราณสถาน การนำอัตลักษณ์ของเมืองอย่างลวดลายของผ้าทอคูบัวหรือโอ่งมังกรมาออกแบบเป็นแลนด์มาร์คใหม่ เป็นต้น แต่ที่น่าดีใจคือในช่วงที่มีการนำเสนอผลงาน ทั้งชาวบ้านและตัวแทนจากหน่วยงานรัฐระดับจังหวัดก็เข้ามารับฟังไอเดียของเด็กๆ ด้วย ซึ่งเราหวังว่าสิ่งนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้หน่วยงานต่างๆ นำไปพัฒนาจนเกิดเป็นรูปธรรมต่อไป

นอกจากนี้ ควบคู่ไปกับที่ทางทีมวิจัยจากคณะมัณฑนศิลป์ (โครงการย่อยที่ 2) ต่อยอดฐานข้อมูลที่เราทำ และความคิดเห็นของชาวชุมชน ไปพัฒนาเป็นงานออกแบบผลิตภัณฑ์ของเมือง รวมถึงสื่อการเรียนรู้เมืองอย่างบอร์ดเกม เราก็ได้จัดทำนิทรรศการบอกเล่าประวัติและเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจของเมืองราชบุรีจัดแสดงบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำแม่กลองภายในตลาดโคยกี๊ และยังจัดแสดงนิทรรศการ HoloLens ที่ใช้เทคโนโลยีภาพเสมือนจริงสามมิติมาเผยให้เห็นถึงสภาพของโบราณวัตถุของเมืองราชบุรีในสภาพที่สมบูรณ์ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์แก่คนทั่วไปเพิ่มขึ้นไปอีก

สำหรับเรา ราชบุรีเป็นเมืองที่มีองค์ความรู้ให้ได้ศึกษาไม่จบสิ้น และองค์ความรู้เหล่านี้ก็เป็นต้นทุนชั้นดีต่อการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืน ซึ่งก็ถือเป็นโชคดีของคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาในยุคสมัยที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่าย เมื่อบวกรวมกับบรรยากาศของเมืองที่ช่วยหล่อหลอมให้พวกเขาสนในประวัติศาสตร์ ราชบุรีจึงมีต้นทุนที่พร้อมสรรพที่รอให้คนรุ่นใหม่หยิบไปต่อยอด เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจอย่างน่าสนใจ”

ศศิธร ศิลป์วุฒยา
อาจารย์ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
นักวิจัยในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ราชบุรี

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

7 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago