“ลุงพิทักษ์เคยเป็นหลงจู๊มาก่อน แกทำหน้าที่คล้ายเซลล์แมน ซึ่งต้องขับรถส่งของในเส้นทางลำปางไปจนถึงอำเภอแม่สายที่เชียงราย ส่วนป้าเป็นคนห้างฉัตรที่เข้ามาทำงานในตัวเมือง เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว เราเจอกันที่ลำปาง หลังจากตกลงใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ความที่ลุงแกไม่อยากเดินทางบ่อยอีกแล้ว จึงนำเงินเก็บมาเปิดร้านขายของชำอยู่ในย่านกาดกองต้านี่
สมัยนั้นกาดกองต้าบนถนนตลาดเก่าที่เลียบริมแม่น้ำวังเงียบเหงามาก ยังไม่มีถนนคนเดิน และบ้านส่วนใหญ่ก็ปิดไว้ ไม่ได้ทำการค้า แต่ความที่ซอยหลิ่งจันทร์หมันที่ร้านเราเปิด เป็นคิวรถไปอำเภอเมืองปาน ลูกค้าหลักของร้านจึงเป็นคนจากอำเภอรอบนอกที่นั่งรถประจำทาง ซึ่งสมัยนั้นเป็นรถคอกหมูเข้ามาทำธุระในเมือง สมัยก่อนรถขนคนมาแน่นทุกรอบเลย บางรอบถึงกับมีคนนั่งบนหลังคามาก็มี ยิ่งผู้โดยสารเยอะ ร้านป้ายิ่งขายดี ก็เริ่มต้นตั้งแต่ขายน้ำ ขายขนมง่ายๆ จนมาขายอาหารทำใหม่จำพวกขนมไข่หงส์ กล้วยทอด ตำส้มกับข้าวมัน คือตั้งแต่ตีห้าที่รถเริ่มวิ่ง ก็มีคนมารอซื้อแล้ว
ลุงกับป้ามีลูก 3 คน เราไม่ได้มีทรัพย์สินอะไรมากมาย ช่วงที่ลูกกำลังโตก็เลยเหนื่อยกันหน่อย จำได้ว่าต้องให้ลูกๆ มาช่วยพับใบตองสำหรับใส่อาหาร เพราะตอนนั้นยังไม่มีถุงพลาสติก ลุงกับป้าไม่เคยไปโรงเรียนลูกเลยนะ เพราะต้องขายของทุกวัน ถึงเวลาจ่ายค่าเทอม ก็เอาเงินฝากลูกไป ไม่เคยเห็นหน้าคุณครู เคราะห์ดีที่ลูกๆ ป้าเป็นคนตั้งใจเรียน พี่คนโตนอกจากมาช่วยร้าน ก็ยังช่วยสอนการบ้านให้น้อง ประกอบกับที่ลุงแกเป็นคนขยันทำมาหากิน เหล้าไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ และไม่เล่นการพนัน ก็เลยไม่เคยมีหนี้สิน และเราก็ช่วยกันขายของหาเงินส่งลูกๆ เรียนจบปริญญาตรีกันได้ทุกคน
ทุกวันนี้ลูกๆ ก็แยกย้ายไปมีชีวิตเป็นของตัวเองกันหมดแล้ว คนหนึ่งไปทำหอพักและเปิดบริษัทอยู่ที่ลำพูน อีกคนไปทำงานออฟฟิศที่เชียงใหม่ และอีกคนอยู่กรุงเทพฯ เขาก็ชวนเราให้มาอยู่ด้วยกันแหละ แต่เราติดชีวิตที่นี่ไปแล้ว ถึงแม้เศรษฐกิจจะซบเซา และเราขายของได้ไม่มากเท่าเมื่อก่อน แต่ความที่เราไม่ต้องส่งเสียใครแล้ว ก็เลยพออยู่ได้ ป้าก็ขายแต่พวกขนมและเครื่องดื่ม พวกอาหารสดที่ต้องทำใหม่ก็เลิกขายเพราะเหนื่อย เราอายุเจ็ดสิบกว่าปีแล้ว
ทุกวันนี้เราจะตื่นตีห้า และเดินออกจากบ้านเลียบแม่น้ำวังเพื่อไปออกกำลังกายกับเครื่องเล่นตรงจวนผู้ว่า ก่อนเดินกลับบ้านมาชงกาแฟดื่ม กินข้าว และเปิดร้าน ก็ขายไปจนถึงค่ำๆ ร้านป้าไม่มีวันหยุดนะ ปีใหม่ สงกรานต์ เข้าพรรษา ก็ไม่หยุด จะปิดร้านเฉพาะตอนที่ลูกมาชวนไปเที่ยวเท่านั้น (ยิ้ม)”
ป้าศรีไล บำรุงพรไพศาล และลุงพิทักษ์ บำรุงพรไพศาล
เจ้าของร้านขายของชำป้าไลในซอยหลิ่งจันทร์หมัน
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…