“ลุงพิทักษ์เคยเป็นหลงจู๊มาก่อน แกทำหน้าที่คล้ายเซลล์แมน ซึ่งต้องขับรถส่งของในเส้นทางลำปางไปจนถึงอำเภอแม่สายที่เชียงราย ส่วนป้าเป็นคนห้างฉัตรที่เข้ามาทำงานในตัวเมือง เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว เราเจอกันที่ลำปาง หลังจากตกลงใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ความที่ลุงแกไม่อยากเดินทางบ่อยอีกแล้ว จึงนำเงินเก็บมาเปิดร้านขายของชำอยู่ในย่านกาดกองต้านี่
สมัยนั้นกาดกองต้าบนถนนตลาดเก่าที่เลียบริมแม่น้ำวังเงียบเหงามาก ยังไม่มีถนนคนเดิน และบ้านส่วนใหญ่ก็ปิดไว้ ไม่ได้ทำการค้า แต่ความที่ซอยหลิ่งจันทร์หมันที่ร้านเราเปิด เป็นคิวรถไปอำเภอเมืองปาน ลูกค้าหลักของร้านจึงเป็นคนจากอำเภอรอบนอกที่นั่งรถประจำทาง ซึ่งสมัยนั้นเป็นรถคอกหมูเข้ามาทำธุระในเมือง สมัยก่อนรถขนคนมาแน่นทุกรอบเลย บางรอบถึงกับมีคนนั่งบนหลังคามาก็มี ยิ่งผู้โดยสารเยอะ ร้านป้ายิ่งขายดี ก็เริ่มต้นตั้งแต่ขายน้ำ ขายขนมง่ายๆ จนมาขายอาหารทำใหม่จำพวกขนมไข่หงส์ กล้วยทอด ตำส้มกับข้าวมัน คือตั้งแต่ตีห้าที่รถเริ่มวิ่ง ก็มีคนมารอซื้อแล้ว
ลุงกับป้ามีลูก 3 คน เราไม่ได้มีทรัพย์สินอะไรมากมาย ช่วงที่ลูกกำลังโตก็เลยเหนื่อยกันหน่อย จำได้ว่าต้องให้ลูกๆ มาช่วยพับใบตองสำหรับใส่อาหาร เพราะตอนนั้นยังไม่มีถุงพลาสติก ลุงกับป้าไม่เคยไปโรงเรียนลูกเลยนะ เพราะต้องขายของทุกวัน ถึงเวลาจ่ายค่าเทอม ก็เอาเงินฝากลูกไป ไม่เคยเห็นหน้าคุณครู เคราะห์ดีที่ลูกๆ ป้าเป็นคนตั้งใจเรียน พี่คนโตนอกจากมาช่วยร้าน ก็ยังช่วยสอนการบ้านให้น้อง ประกอบกับที่ลุงแกเป็นคนขยันทำมาหากิน เหล้าไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ และไม่เล่นการพนัน ก็เลยไม่เคยมีหนี้สิน และเราก็ช่วยกันขายของหาเงินส่งลูกๆ เรียนจบปริญญาตรีกันได้ทุกคน
ทุกวันนี้ลูกๆ ก็แยกย้ายไปมีชีวิตเป็นของตัวเองกันหมดแล้ว คนหนึ่งไปทำหอพักและเปิดบริษัทอยู่ที่ลำพูน อีกคนไปทำงานออฟฟิศที่เชียงใหม่ และอีกคนอยู่กรุงเทพฯ เขาก็ชวนเราให้มาอยู่ด้วยกันแหละ แต่เราติดชีวิตที่นี่ไปแล้ว ถึงแม้เศรษฐกิจจะซบเซา และเราขายของได้ไม่มากเท่าเมื่อก่อน แต่ความที่เราไม่ต้องส่งเสียใครแล้ว ก็เลยพออยู่ได้ ป้าก็ขายแต่พวกขนมและเครื่องดื่ม พวกอาหารสดที่ต้องทำใหม่ก็เลิกขายเพราะเหนื่อย เราอายุเจ็ดสิบกว่าปีแล้ว
ทุกวันนี้เราจะตื่นตีห้า และเดินออกจากบ้านเลียบแม่น้ำวังเพื่อไปออกกำลังกายกับเครื่องเล่นตรงจวนผู้ว่า ก่อนเดินกลับบ้านมาชงกาแฟดื่ม กินข้าว และเปิดร้าน ก็ขายไปจนถึงค่ำๆ ร้านป้าไม่มีวันหยุดนะ ปีใหม่ สงกรานต์ เข้าพรรษา ก็ไม่หยุด จะปิดร้านเฉพาะตอนที่ลูกมาชวนไปเที่ยวเท่านั้น (ยิ้ม)”
ป้าศรีไล บำรุงพรไพศาล และลุงพิทักษ์ บำรุงพรไพศาล
เจ้าของร้านขายของชำป้าไลในซอยหลิ่งจันทร์หมัน
สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม …
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…