“สมัยปู่ผมเป็นหนุ่ม แกซื้อที่ดินขนาด 2 ไร่ที่ติดแม่น้ำวังในชุมชนบ้านต้าไว้ และก็ปล่อยให้มันเป็นป่ารกมาอย่างนั้นมาหลายปี มีเหตุการณ์หนึ่งที่จุดประกายสู่อาชีพของผมทุกวันนี้ คือความที่พ่อผมเอาป้ายคำว่ายินดีต้อนรับมาติดไว้ตรงรั้วของที่ดินนั้น แล้วมีคนจากตัวเมืองลำปางขับรถมาถามพ่อว่าร้านอาหารเราเปิดหรือยัง พ่อก็บอกเราไม่ได้ทำร้าน ตรงนั้นเป็นแค่ที่ดินรก
ตอนนั้นผมยังทำงานเป็นวิศวกรโรงงานอยู่ที่จังหวัดระยอง ส่วนแฟนทำงานนิตยสารอยู่ที่กรุงเทพฯ เราก็คุยกันว่าจริงๆ ที่ดินตรงนั้นมันมีศักยภาพนะ ขนาดร้าง คนยังเข้าใจผิดว่าเป็นร้านเลย ก็ประจวบเหมาะกับที่ผมรู้สึกอิ่มตัวกับงานประจำที่ทำมา 8 ปีแล้วด้วย ก็เลยบอกกับแฟนว่างั้นเรากลับลำปาง ลองทำร้านกาแฟจากที่ดินตรงนั้นกัน โดยตั้งชื่อว่า ‘ฮิมวังคาเฟ่’ ตรงไปตรงมาเลย
แต่นั่นล่ะ ความที่เราสองคนไม่เคยทำธุรกิจมาก่อน และเมื่อ 7 ปีที่แล้ว การจะทำร้านกาแฟที่อยู่ห่างจากใจกลางเมืองเกือบ 10 กิโลเมตรก็เต็มไปด้วยความเสี่ยง ผมเลยตัดสินใจย้ายมาทำงานที่เชียงใหม่ก่อน ส่วนแฟนก็ลาออกมาดูแลร้านโดยตรง และผมก็จะกลับไปช่วยร้านทุกวันเสาร์และอาทิตย์ คือมองว่าถ้าธุรกิจไม่เวิร์ค อย่างน้อยผมก็มีรายได้จากงานประจำเป็นหลัก แต่ก็เพราะด้วยทำเลริมน้ำ ความร่มรื่น และความสงบด้วย ร้านเลยมีลูกค้าอย่างต่อเนื่อง พอเปิดได้ 2 ปี ผมก็เลยมั่นใจว่าธุรกิจเรารอดได้ ก็เลยลาออกจากงานประจำมาช่วยแฟนเต็มตัว
เราสองคนทำกันเองเกือบหมดเลยครับ ความที่แฟนเป็นคนมีเซ้นส์ด้านการออกแบบก็เลยเป็นคนแต่งร้าน ส่วนผมก็มีทักษะช่างไม้ ก็เลยช่วยกันทำตั้งแต่การแต่งร้านไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ ส่วนกาแฟแฟนจะทำเป็นหลัก โดยตอนหลังมีผู้ช่วยแล้ว และพอเอาพิซซ่าแบบโฮมเมดมาขาย ผมก็รับหน้าที่อบพิซซ่า
ความที่เรามีที่ดินค่อนข้างเยอะ นอกจากขายกาแฟและอาหาร เลยคิดถึงการสร้างกิจกรรมอื่นๆ ที่เราสนใจเปิดให้ลูกค้าได้เข้ามาร่วม เอาเข้าจริง แรงบันดาลใจหนึ่งของการทำร้านนี้ มันเกิดจากการที่ผมพบว่าลำปางบ้านเกิดผม มันขาดพื้นที่กิจกรรมแบบนี้ อย่างผมเป็นคนชอบฟังเพลง แต่พอไปนั่งร้านเหล้าในเมืองก็พบว่ารูปแบบของร้านและเพลงที่เปิดเหมือนๆ กันหมด ก็เลยใช้พื้นที่ตรงนี้จัดงานดนตรีเล็กๆ ชวนเพื่อนๆ มาเล่นดนตรีที่เราอยากฟังกัน หรือเมื่อพบว่าในเมืองไม่เคยมีลานสเก็ตบอร์ดเป็นจริงเป็นจังเลย ผมก็ทำลานสเก็ตเปิดให้ลูกค้าได้เล่นฟรี รวมถึงเปิดให้คนที่สนใจอยากจัดเวิร์คช้อปทำสิ่งของหรืองานสร้างสรรค์มาใช้พื้นที่เราได้ เป็นต้น ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจ พื้นที่นี้มันยังรองรับงานศิลปะ ดนตรี กีฬา และการพักผ่อน หรืองานอดิเรกส่วนตัวของเราที่แชร์กับลูกค้าที่สนใจไปพร้อมกันครับ
ผมมองว่าลำปางเป็นเมืองที่มีศักยภาพนะครับ มีกลุ่มคนที่รวมตัวกันจัดกิจกรรมเพื่อเมืองไม่น้อย ประเด็นก็คือส่วนใหญ่รูปแบบการจัดกิจกรรมก็ยังเกิดจากมุมมองของราชการหรือคนที่ทำงานเชิงประเพณีมากๆ แต่กลับไม่มีพื้นที่ของกิจกรรมร่วมสมัยเพื่อรองรับคนรุ่นใหม่เท่าที่ควรเลย
ทั้งนี้ ผมไม่ได้แอนตี้กิจกรรมเชิงประเพณีหรืออนุรักษ์วัฒนธรรมนะครับ คิดว่าเป็นเรื่องเหมาะสมแล้วที่ต้องขับเคลื่อนกันต่อไป แต่ผู้ใหญ่ที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายของเมืองโดยเฉพาะส่วนราชการ น่าจะคำนึงถึงพื้นที่สร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่บ้าง เรามีมหาวิทยาลัยถึง 5 แห่ง แต่กลับแทบไม่มีพื้นที่เปิดสำหรับให้คนรุ่นใหม่ได้ทำกิจกรรม หรือกระทั่งค้นพบแรงบันดาลใจเลย แล้วก็กลายเป็นว่าพอผมกับแฟนหยุดร้านเมื่อไหร่ เราต้องขับรถไปเชียงใหม่เพื่อเติมเต็มสิ่งที่ขาดตรงนี้
จริงอยู่ที่หลังๆ มานี้คนรุ่นใหม่หลายคนทยอยกันกลับลำปางเพื่อทำธุรกิจในเชิงไลฟ์สไตล์สร้างสรรค์เพิ่มความหลากหลายให้แก่เมืองแล้ว แต่คงดีได้กว่านี้อีกมาก หากหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจในการขับเคลื่อนเมืองมีมุมมองที่เปิดกว้างและสร้างสรรค์กว่านี้ เมืองจะดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้กลับมาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจได้อีกเยอะครับ”
สรัลภพ แก้วบุญปัน และนารถวสี ชมภูพงษ์
เจ้าของร้านฮิมวังคาเฟ่ (Himwang Cafe)
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…