ลำปางเป็นเมืองเล็กที่น่าจะมีการพัฒนาที่คล่องตัวกว่านี้ แต่ที่ผ่านมา เสียงของคนตัวเล็กๆ อย่างพวกเราไม่ค่อยถูกส่งไปถึงผู้ใหญ่สักเท่าไหร่

“เรามีกันประมาณ 40 คนได้ครับ ทุกคนในเมืองจะสลับกันมาเล่นสเก็ตบอร์ดกันตรงนี้ (ลานด้านหน้าหอปูมละกอน บริเวณ 5 แยกหอนาฬิกาเมืองลำปาง) เล่นด้วยกันมาหลายปีแล้ว เมื่อก่อนก็กระจายกันเล่น หลักๆ จะเล่นที่ลานด้านหน้าสวนสาธารณะเขลางค์นคร แต่เดี๋ยวนี้เล่นไม่ได้แล้วเพราะพื้นสึกหมด ส่วนอีกที่คือลานจอดรถของเซ็นทรัลลำปาง แต่ที่ห้างฯ มักใช้จัดงานอีเวนท์ สุดท้ายเลยมารวมตัวกันที่นี่

ที่นี่เป็นพื้นที่ของเทศบาลครับ ตอนแรกเขาก็ไม่อนุญาตให้เล่นหรอกครับ เพราะถ้านานๆ ไปพื้นตรงนี้ก็อาจมีความเสียหายได้ แต่เราก็ต่อรองบอกว่าเมืองควรต้องมีพื้นที่ให้พวกเรา เพราะสเก็ตบอร์ดก็เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง เทศบาลยังมีสนามฟุตบอล สนามบาสเก็ตบอล แต่กลับไม่มีลานสเก็ต ขณะที่อุตรดิตถ์เมืองเล็กกว่าเราเขายังมี หรือเชียงรายนี่มีพื้นที่ที่ดีมากๆ เลยนะ ทางเทศบาลเขาก็รับเรื่องเราไว้ ระหว่างนั้นเขาก็ให้เราเล่นกันที่นี่ไปก่อน ซึ่งนี่ก็ผ่านมาหลายปีแล้ว (หัวเราะ)

พวกแรมป์กระโดดและอุปกรณ์ทั้งหมดเป็นของที่พวกเรารวมเงินกันซื้อครับ เราฝากไว้กับเทศบาลหลังเล่นเสร็จ ส่วนแสงสว่าง เมื่อก่อนเขาไม่มีให้ ก็ต้องเอาไฟมาติดเอง ที่ต้องมีไฟเพราะเราเล่นกันตอนเย็นตั้งแต่หกโมงถึงสี่ทุ่ม ตอนกลางวันต่างคนต่างไปเรียนหรือไปทำงาน จนภายหลังพอเทศบาลปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณห้าแยกหอนาฬิกา เราก็เลยได้อานิสงส์เรื่องแสงสว่างไปด้วย

ช่วงก่อนเลือกตั้งนายกเทศมนตรี มีนักการเมืองมาคุยกับพวกเราที่นี่เยอะครับ เขาก็ถามความต้องการ เราก็บอกว่าในฐานะคนเล่นสเก็ตบอร์ด เราแค่ต้องการพื้นที่ที่เป็นกิจจะลักษณะเท่านั้นเอง พื้นที่ที่มีความปลอดภัยต่อทั้งผู้เล่นและคนที่ผ่านไปผ่านมา จริงอยู่ตรงนี้ทำเลดี แสงสว่างก็พร้อม แต่อย่าลืมว่ามันอยู่ริมถนน มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ ที่สำคัญคือในเขตเทศบาลเรามีที่ดินเปล่าเยอะ การพัฒนาให้เป็นลานสเก็ตบอร์ดได้มันไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ก็เฝ้ารออยู่เหมือนกันว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร  

ในมุมมองของผม ลำปางเป็นเมืองเล็ก ที่เอาเข้าจริง… น่าจะมีการพัฒนาที่คล่องตัวกว่านี้ แต่ที่ผ่านมา ดูเหมือนผู้ใหญ่จะไม่ค่อยรับฟังเสียงของคนตัวเล็กๆ อย่างพวกเราสักเท่าไหร่ รวมถึงไม่มีนโยบายที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยด้วย อย่างเรื่องเศรษฐกิจ อันนี้คือช่วงก่อนจะมีโควิด-19 อีกนะครับ พอมีกลุ่มทุนใหญ่มาเปิดศูนย์การค้า พื้นที่ธุรกิจเก่าแก่ในเขตใจกลางเมืองก็ซบเซา จนผู้ประกอบการพากันเซ้งร้านหรือปิดกิจการกันไปหมด คือผมเข้าใจว่ามันเป็นยุคสมัย หรือเป็นไปตามกลไกตลาด แต่การที่รัฐปล่อยให้เมืองมันดำเนินไปในลักษณะแบบนี้ ก็รู้สึกเสียดายแทนผู้ประกอบการรุ่นเก่า ที่มีส่วนร่วมขับเคลื่อนเมืองมาเหมือนกันครับ”  

ปกรณ์ วันอุดมฤกษ์

ผู้ประกอบการในจังหวัดลำปาง และตัวแทนกลุ่มสเก็ตบอร์ด

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago