ก่อนหน้านี้ผมเป็นวิศวกรที่ประเทศเยอรมนี แต่มีเหตุให้ต้องกลับมาบ้านที่อัมพวา แล้วบังเอิญได้รู้จักคุณพ่อ (บาทหลวง) ที่สอนหนังสือที่โรงเรียนดรุณาราชบุรี ท่านชวนให้ผมมาสอนที่นี่ ความที่ช่วงนั้นผมรับงานติวเตอร์สอนภาษาเยอรมันและวิชาฟิสิกส์ให้นักเรียนที่ราชบุรีอยู่แล้ว จนพบว่าเราชอบสอนหนังสือให้เด็กๆ ก็เลยตกลงมาสอนประจำที่โรงเรียนนี้ ตอนนี้สอนมาได้ 4 ปีแล้วครับ
ผมเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ และเป็นหัวหน้างานหลักสูตรการอาชีพ โดยตำแหน่งหลังนี้ เป็นหลักสูตรที่เปิดให้นักเรียนได้เลือกวิชาชีพที่เขาอยากเรียนเสริมไปพร้อมกับหลักสูตรการศึกษาทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 แผน ได้แก่ แผนศิลป์-ธุรกิจ และแผนศิลป์-กีฬา แต่ละแผนก็จะมีเอกวิชาแยกย่อยออกไป ตั้งแต่ ภาษาอังกฤษ จีนธุรกิจ คหกรรม ไอที ไปจนถึงช่างไฟฟ้า นักเรียนสนใจอยากเรียนวิชาอะไรก็เลือกเอกนั้น
พร้อมกันนี้ทางผมก็จะทำ MOU กับสถาบันต่างๆ ที่เชี่ยวชาญวิชาเฉพาะ เพื่อให้เด็กนักเรียนในแผนได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กับสถาบันนั้นๆ ทั้งในรูปแบบส่งเด็กนักเรียนหรือบุคลากรของเราไปเรียนที่สถาบัน และทางสถาบันส่งผู้เชี่ยวชาญมาอบรมที่โรงเรียน เช่น ที่เราทำกับมหาวิทยาลัยศิลปากรด้านการอบรมยุวมัคคุเทศก์ ทำเรื่องฝึกอาชีพกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ไปจนถึงเรื่องฟุตบอลที่เราทำกับสโมสรอาชีพของเมืองราชบุรี เป็นต้น
ที่เราทำ MOU แบบนี้เพราะตระหนักว่าลำพังแค่การศึกษาในชั้นเรียนกับครูของเราอย่างเดียว ไม่เพียงพอ เด็กๆ จำเป็นต้องเรียนรู้กับเจ้าของอาชีพจริงๆ หรือผู้มีประสบการณ์โดยตรง
นอกจากนี้ ไม่เพียงได้เรียนรู้วิชาที่ว่าด้วยพื้นฐานอาชีพ แต่หลักสูตรนี้ยังทำให้เด็กนักเรียนได้ค้นพบความสนใจที่แท้จริงของตัวเองด้วย ถ้าไม่ชอบ ก็อาจหันไปเรียนอย่างอื่น แต่ถ้าชอบในสิ่งที่กำลังเรียนอยู่ ก็จะง่ายต่อการต่อยอดไปสู่การศึกษาในระดับสูงขึ้นไป
ผมมองว่า pain point หนึ่งของการศึกษาบ้านเราคือ คนส่วนใหญ่มีทัศนคติไม่ดีต่อการเรียนสายอาชีพ หลายคนจึงเลือกที่จะเรียนระดับสามัญ ทั้งๆ ที่บางคนอาจมีศักยภาพไปทางนั้น แต่ก็จำต้องเรียนในสิ่งที่เขาอาจไม่สนใจจริงๆ ซึ่งแตกต่างจากที่ประเทศเยอรมนี ที่ให้ค่ากับการศึกษาในวิทยาลัยวิชาชีพ มีการส่งเสริม และพัฒนาหลักสูตรอย่างเข้มข้นจริงจัง หลักสูตรที่ผมดูอยู่ตอนนี้ จึงเหมือนเป็นพื้นที่กลางที่ทำให้เด็กๆ อาจมองเห็นศักยภาพที่จะไปต่อทางวิชาชีพ พร้อมกับที่พวกเขายังคงเรียนในหลักสูตรสามัญอยู่
แม้จะไม่ใช่คนราชบุรี แต่ความที่เราทำงานด้านการศึกษาในเมืองเมืองนี้ คำถามที่ว่าอยากส่งเสริมให้คนที่นี่รู้เรื่องอะไร คำตอบก็น่าจะเป็นการรู้จักตัวเองและเรียนรู้ที่จะได้รู้เรื่องเมืองของตัวเอง โดยคำตอบนี้มันไม่ใช่แค่คนราชบุรี แต่เป็นทุกคนที่อาศัยอยู่ในเมืองของตัวเองทั้งหมด เพราะถ้ารู้จักตัวเองและที่ที่เราอยู่ มันก็ง่ายต่อการต่อยอดด้านอาชีพ การทำมาหากิน การทำธุรกิจ รวมถึงการได้อยู่ในเมืองอย่างเป็นสุข
อย่างเมืองราชบุรีเอง เรามีเรื่องน่าสนใจให้รู้เยอะมาก ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ผมรู้สึกเสียดายเล็กน้อยที่เรากลับมีพื้นที่ด้านการเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ในย่านใจกลางเมืองไม่มากเท่าที่ควร เรามีพิพิธภัณฑ์เพียงแห่งเดียว ขณะที่ศูนย์การเรียนรู้ในโรงเรียนก็จะเป็นพื้นที่ของนักเรียนอย่างเดียว คนทั่วไปที่อาจไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาก็ไม่มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ศูนย์การเรียนรู้ที่ผมว่านี่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะอยู่ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ หรืออาคารอย่างเดียวนะครับ เราสามารถทำสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ ไปตั้งตามพื้นที่ในเมืองได้เยอะ เอาข้อมูลของเมืองที่เรามีมาย่อยและนำเสนออย่างน่าสนใจ เป็นป้าย เป็นเกม เป็นแลนด์มาร์ค ขณะเดียวกัน โรงเรียนต่างๆ ในเมืองที่มีศูนย์การเรียนรู้ของตัวเอง ถ้าจัดให้มี open house เปิดให้คนอื่นๆ เข้ามาใช้พื้นที่ได้บ้างในบางวาระ สิ่งนี้ก็สร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ให้กับเมืองเราได้ไม่น้อย”
ชวลิต เจียมจรรยา
หัวหน้างานหลักสูตรการอาชีพ โรงเรียนดรุณาราชบุรี
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…