“เตี่ยผมย้ายจากซัวเถามาอยู่หาดใหญ่ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ แกทำงานรับจ้างส่งของตั้งแต่เด็กจนมีเงินเปิดร้านขายของชำที่บ้านหลังนี้ โดยตอนเช้า ด้วยความที่บ้านเราอยู่ในตัวเมือง แม่เลยทำน้ำชาขายด้วย โดยรับพวกอาหารเช้าง่ายๆ อย่างข้าวเหนียวปิ้ง ข้าวเหนียวห่อ หรือปาท่องโก๋มาขายกับน้ำชา ก็มีลูกค้าที่เป็นคนในตัวเมืองหาดใหญ่มากินอย่างต่อเนื่อง
ราวๆ 20 กว่าปีที่แล้ว ผมเห็นว่าเตี่ยกับแม่มีอายุมาก จากเดิมที่ผมช่วยแกส่งของมาตั้งแต่เด็ก ก็เลยชวนแฟนมาทำติ่มซำ และให้พวกเขาได้พัก
ความคิดเรื่องทำติ่มซำเป็นของแฟน พื้นเพครอบครัวเราสองคนไม่เคยมีใครทำติ่มซำมาก่อน แต่เห็นว่าแม่ผมเขาทำร้านอาหารเช้าเล็กๆ ในร้านขายของชำอยู่แล้ว ก็น่าจะทำให้มันจริงจังขึ้น และติ่มซำนี่แหละคือวัฒนธรรมอาหารเช้าที่จริงจังของคนหาดใหญ่
เรียนรู้ด้วยการครูพักลักจำมาทั้งหมดเลยครับ หลักๆ เราชอบติ่มซำที่เมืองตรัง ก็ไปกินที่นั่นบ่อย สอบถามคนทำ หาตำรามาอ่าน และเปิดอินเตอร์เน็ท ทดลองอยู่หลายครั้ง และต้องทำทิ้งอยู่หลายหน กว่าจะได้สูตรที่ลงตัวอย่างทุกวันนี้
ถามว่าจุดเด่นคืออะไร เอาจริงๆ ติ่มซำในหาดใหญ่รสชาติไม่ได้ต่างกันมากนะ คนหาดใหญ่ 10 คน อาจมีร้านติ่มซำที่ชอบไม่ซ้ำกันเลยก็มี อยู่ที่ว่าคนคนนั้นจะคุ้นเคยรสชาติหรือบรรยากาศของร้านไหน แต่ร้านเราจุดเด่นคือความรวดเร็วและเมนูหลากหลายครับ เรานึ่งไว้ตั้งแต่เช้ามืดก่อนเปิดร้าน คุณมาถึง สั่งปุ๊บ ก็พร้อมเสิร์ฟเลย เพราะเรามองว่าคุณมากินอาหารเช้าเพื่อจะได้เริ่มวันทำงาน การจะนั่งรอนึ่งติ่มซำ 15-20 นาที มันไม่น่าจะตอบโจทย์ ซึ่งนอกจากติ่มซำ ก็ยังมีไข่ลวก ขนมปัง ไส้กรอก โจ๊ก ข้าวหมูทอด และอื่นๆ เป็นร้านอาหารเช้าที่ครอบคลุม
อีกเรื่องคือราคาย่อมเยา เราขายติ่มซำเข่งละ 16 บาท เพราะส่วนใหญ่เรามีลูกค้าขาประจำที่อุดหนุนกันมาตั้งนาน จึงไม่คิดจะเอากำไรมาก ตั้งใจให้ที่นี่เป็นร้านอาหารเช้าที่เป็นส่วนหนึ่งของคนหาดใหญ่ ซึ่งในทางกลับกัน ช่วงโควิด-19 ที่เศรษฐกิจในเมืองซบเซา กลับเป็นร้านเราที่ยอดขายไม่เคยตก เพราะลูกค้าประจำเรานี่แหละที่คอยสนับสนุนตลอดมา ช่วงที่นั่งกินที่ร้านไม่ได้ พวกเขาก็ขี่มอเตอร์ไซค์มาซื้อกลับบ้าน พอร้านกลับมาเปิดขายได้ตามปกติ คนก็มากินใหม่
ยุ่งทุกวันครับ ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ จะยุ่งเป็นพิเศษ เรามีไลน์แมนด้วย แต่จะปิดเฉพาะวันอาทิตย์เพราะทำไม่ทัน โดยหลังๆ พอมีคนทำสื่อออนไลน์มาเขียนแนะนำร้าน ก็มีนักท่องเที่ยวตามมาบ้าง ส่วนมากที่มา เพราะเขาอยากลองกินติ่มซำที่คนหาดใหญ่จริงๆ กินกัน
หลักๆ แฟนผมเป็นฝ่ายผลิตอยู่หลังร้าน ส่วนผมเป็นฝ่ายขาย ถ้ามาก็จะเจอผมรับออร์เดอร์ และหยิบมาให้เด็กเอาไปเสิร์ฟ บางทีก็ทำน้ำชาด้วย ก็มีพนักงานอยู่ 4-5 คน และมีลูกสาวมาช่วยด้วย เราจะเปิดร้านตอนตี 5 และขายจนถึง 11 โมง พอปิดร้าน ก็นั่งทำติ่มซำสำหรับขายพรุ่งนี้ต่อ บ่ายสองก็ทำซาลาเปานึ่งไว้ จะเสร็จประมาณ 4-5 โมงเย็น พวกเราก็จะได้พัก อีกวันก็จะตื่นก่อนเปิดร้านเพื่อเอาติ่มซำที่ทำมานึ่ง พอเปิดร้าน ลูกค้าสั่งก็จะได้กินเลย
ร้านเปิดทุกวันครับ หยุดเฉพาะวันที่เหนื่อย ก็ต้องมาดูกันอีกทีว่าวันไหน ไม่ได้กำหนดไว้แน่นอน แต่จะหยุดราว 2-3 วันต่อเดือน”
เกรียงสงวน เอกพิทักษ์ดำรง
เจ้าของร้านภักดีติ่มซำ
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…