“พื้นเพผมเป็นคนสมุทรสาคร ได้ภรรยาเป็นคนปากพูน เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ และความที่พ่อตาทำสวนมะพร้าว เลยรับกิจการทำสวนมะพร้าวต่อมา ก่อนหน้านี้ผมเป็นช่างก่อสร้าง จึงไม่มีปัญหากับการทำงานบนที่สูงอย่างการปีนต้นมะพร้าว
ชุมชนที่ผมอยู่นี่มีการทำสวนมะพร้าวส่งต่อมาหลายรุ่น จะมีทั้งเก็บผลขาย ไม่ก็ทำน้ำตาลมะพร้าว ซึ่งสวนของผมนี่ทำน้ำตาลมะพร้าวอย่างเดียว ทำมายี่สิบกว่าปีแล้ว
ผมมีสวนอยู่ 7 ไร่ เป็นมะพร้าวน้ำตาล ลำต้นไม่สูง ใช้บันไดปีนเก็บได้เลย น้ำตาลสดนี่ได้จากช่อดอก ผมจะปีนขึ้นไปปาดตาลและหาถังไปรองน้ำตาลจากช่อดอก เช้ารอบหนึ่ง และเย็นอีกรอบหนึ่งสลับกันไปเก็บและไปรองใหม่อยู่อย่างนี้ พอได้มาก็เอาไปต้มและเคี่ยวในกระทะใบบัวประมาณ 3-4 ชั่วโมง จะได้น้ำตาลมะพร้าวมาใส่ปี๊บ เลยเรียกกันว่าน้ำตาลปี๊บ ส่วนใหญ่โรงเหล้าจะมารับซื้อไปทำสุราชุมชน เขาจะสั่งทีหลายถังเลย บางส่วนผมก็เอาใส่กระปุกส่งขายสำหรับคนเอาไปทำอาหารหรือทำขนม
ผมขายน้ำตาลมะพร้าวแบบนี้มาหลายปี จนไม่นานมานี้ หลังจากลูกสาวเรียนจบและรอบรรจุราชการ ลูกก็กลับมาอยู่บ้าน และไปได้ความคิดมาว่าน่าจะทำน้ำตาลมะพร้าวให้ขายคนทั่วไปได้ง่ายกว่านี้ จึงทดลองเอาน้ำตาลไปใส่แม่พิมพ์ทรงลูกเต๋า ออกมาเป็นน้ำตาลทรงลูกเต๋าขนาดเล็กและใหญ่ ทำให้หยิบใช้หรือกินง่าย โดยเฉพาะใส่กาแฟดื่ม เป็นเจ้าเดียวในปากพูนเลย และอีกส่วนก็ลองทำคาราเมลจากน้ำตาลมะพร้าวบรรจุขวด ลูกสาวเลยเปิดเพจเฟซบุ๊ค เพื่อช่วยจัดจำหน่ายอีกช่องทางหนึ่ง
ทุกวันนี้ลูกสาวย้ายไปเป็นครูที่จังหวัดระนองแล้ว แต่ก็ยังดูเฟซบุ๊คให้ตลอด ถ้ามีคนสั่งซื้อมา เขาก็จะส่งไลน์มาบอกจำนวนที่ภรรยา ผมก็จะทำเพิ่มใส่กระปุกตามออร์เดอร์ และให้ภรรยาเอาไปส่งไปรษณีย์ตามที่อยู่ของลูกค้า ก็เป็นรายได้ที่เสริมเข้ามาพอสมควร จากนั้นก็ได้ทางหน่วยงานต่างๆ มาสนับสนุนให้น้ำตาลลูกเต๋านี้เป็นสินค้าโอท็อป และอยู่ระหว่างจดทะเบียนลิขสิทธิ์
ผมขึ้นมะพร้าวทุกวัน เพราะน้ำตาลสดมันออกทุกวัน จะมีหยุดพักบ้างก็ช่วงฤดูฝนสักเดือนหรือสองเดือน เพราะถ้าวันไหนฝนตกหนัก น้ำฝนก็ชะความเข้มข้นของน้ำตาลออก คุณภาพจะไม่ดี ช่วงที่หยุดบางครั้งผมก็ไปรับงานก่อสร้างบ้าง สวนของผมไม่ใช้สารเคมีใดๆ บางทีก็เจอโรคหรือแมงกินใบบ้าง แต่ก็ไม่เยอะ และไม่กระทบอะไร
และก็เพราะไม่ได้ใช้เคมี ต้นมะพร้าวเลยแข็งแรงและให้น้ำตาลสดตลอด คิดว่าคงเก็บน้ำตาลไปได้อีกหลายสิบปีจนกว่าต้นจะหมดอายุขัย หรือไม่แน่ร่างกายผมอาจปีนไม่ไหวไปเสียก่อน (ยิ้ม) แต่ทุกวันนี้ ก็มีลูกชายคนโตอีกคนมาช่วยเก็บเป็นหลัก น่าจะเป็นอาชีพของเขาต่อไปอีกนาน
ลุงแดง-สุนทร พงษ์หา และกิ่ง พงษ์หา
สวนมะพร้าวลุงแดง
Facebook: ลุงแดง น้ำตาลมะพร้าวแท้ 100%
http://bit.ly/3TBkvm5
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…