“วัดแก่งคอยเป็นจุดเดียวในเมืองที่รอดพ้นจากระเบิดช่วงสงครามโลก วัดจึงเป็นที่ศรัทธาของคนแก่งคอยอย่างมากจนถึงทุกวันนี้”

ที่ผมได้มาเป็นไวยาวัจกรวัดแก่งคอย เนื่องจากพ่อผมเคยเป็นมัคนายกมาก่อน ผมจึงผูกพันกับวัดนี้มาตั้งแต่เด็ก พอตำแหน่งนี้ว่างลง ท่านเจ้าอาวาสก็อยากหาคนที่ไว้ใจได้มาทำตำแหน่งนี้ ผมเกษียณงานประจำกลับจากกรุงเทพฯ พอดี เลยมารับช่วงต่อ ตอนนี้ทำมาเกือบ 10 ปีแล้ว 

ช่วงที่ผมมาเริ่มงานที่นี่ใหม่ๆ ท่านเจ้าอาวาส พระครูประภัศร์วรญาณ (ทรัพย์ ญาณวโร) มีวิสัยทัศน์มาก ก็มีการจัดสร้างวังบาดาล ถ้ำพญานาค พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง มีการบูรณะกุฏิ และทำวัดให้มีความสะอาด สวยงาม และดึงดูดให้ลูกหลานมาสักการะบูชา รวมถึงจัดศาสนพิธีต่างๆ ทำให้วัดกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งอานิสงส์นี้ก็ส่งผลให้วัดแก่งคอยเป็นที่รู้จักในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอแก่งคอยถึงปัจจุบัน

วัดแก่งคอยเป็นวัดหลักของคนที่นี่ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นมาตั้งฐานทัพที่อำเภอเรา ทำให้ทัพสัมพันธมิตรส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิด เมืองถูกระเบิดราบ แต่บริเวณวัดแก่งคอย ระเบิดกลับไม่ทำงาน คนที่หนีมาอยู่ในวัดจึงรอดชีวิต ชาวบ้านเลยเชื่อกันว่าเป็นเพราะบารมีหลวงพ่อลา ชัยมงฺคโล (พระครูสุนทรสังฆกิจ) เจ้าอาวาสในยุคนั้น

หลังสงครามสิ้นสุด ก็มีการตั้งอนุสรณ์สถานรำลึกถึงผู้เสียชีวิตภายในวัด และมีพิธีรำลึกทุกวันที่ 2 เมษายนของทุกปี จนมาช่วงหลังทางหอการค้าจังหวัดสระบุรี เทศบาลเมืองแก่งคอย และทางจังหวัด ร่วมกันต่อยอดพิธีกรรมประจำปีนี้ให้เป็นเทศกาล ‘แก่งคอยย้อนรอยสงครามโลก’ ขึ้น มีการชวนชาวแก่งคอยแต่งตัวย้อนยุคมาออกร้าน ทำถนนคนเดินสายวัฒนธรรม การแสดงคอนเสิร์ต รวมถึงการแสดงแสงสีเสียงบอกเล่าประวัติเมืองแก่งคอยและเหตุการณ์ช่วงสงครามโลก โดยมีวัดแก่งคอยเป็นศูนย์กลางการจัดงานเชื่อมไปกับย่านการค้าใจกลางเมือง และสถานีรถไฟ ซึ่งจัดมาได้ 3 ปีแล้ว

นอกจากมีอนุสรณ์สถานผู้ประสบภัยทางอากาศช่วงสงครามโลก วัดแก่งคอยยังมีพระธาตุเจดีย์ศรีป่าสัก อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงยังมีชื่อเรื่องการทำน้ำมนต์และเขียนผ้ายันต์มาตั้งแต่สมัยหลวงพ่อลา เล่ากันว่าเวลาที่หลวงพ่อท่านเขียนยันต์ พอน้ำตาเทียนไหล เวลาลูกศิษย์วัดจับ ท่านจะรู้ทันทีว่าถ้าน้ำตาเทียนออกมาเป็นสีแดงจะมีเคราะห์ ถ้าเป็นสีเหลืองจะแคล้วคลาด ถ้าเป็นคนที่มาทำกับท่านแล้วเป็นสีแดง ท่านจะอาบน้ำมนต์ให้ สะเดาะเคราะห์ไปในตัว สิ่งที่ร้ายก็จะหาย ขึ้นโรงขึ้นศาล คดีความ หรือเจ็บป่วยอะไรต่างๆ จะทุเลา

นายควง อภัยวงศ์, จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปจนถึงพระยาพหลพลพยุหเสนา ต่างก็มาเป็นลูกศิษย์ มาให้หลวงพ่อลาท่านอาบน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ให้ หรือเรื่องผ้ายันต์ ก็เล่ากันว่าที่ระเบิดของสัมพันธมิตรด้านตอนสงครามโลกก็มาจากผ้ายันต์ของหลวงพ่อลา ผ้ายันต์จึงเป็นอีกสิ่งที่นักท่องเที่ยวจะแวะมาบูชากลับไปจนถึงทุกวันนี้ 

อย่างไรก็ดี วัดเราก็ยังมีจุดที่ต้องแก้ไขอยู่ ซึ่งผมเชื่อว่าถ้าแก้ไขได้ จะส่งผลบวกต่อเมืองของเราด้วย เพราะช่วงหลังมานี้ วัดได้รับความนิยม ประชาชนหลั่งไหลมามาก โดยเฉพาะช่วงวันหยุด รถจะติดยาวไปถึงตลาด และเมืองเราเล็กแค่นี้ มันจึงกระทบไปทั้งเมือง ผมจึงมีความคิดว่า ถ้าเราประสานกับเทศบาลเมืองแก่งคอย ให้มีการจัดหาที่จอดรถข้างนอกเขตตลาดให้ และมีรถพ่วงหรือรถขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ารับนักท่องเที่ยวจากที่จอดรถมาส่งยังวัดหรือตลาด ตรงนี้มันกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมเมืองหรือจับจ่ายใช้สอยร้านรวงในเมืองได้มาก

ซึ่งอย่าลืมว่าไม่เพียงวัดเราติดตลาด ยังอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ใกล้ศาลเจ้า ตลาดท่าน้ำแก่งคอยที่เป็นตลาดโบราณ และสถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย ทั้งหมดสามารถเที่ยวชมด้วยการเดินเท้าได้ภายในครึ่งวัน ถ้าเทศบาลทำรถรับ-ส่ง และทำทางเท้าให้น่าเดิน แก่งคอยเราน่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เยอะ คนในเมืองก็ไม่ต้องเจอปัญหารถติด แถมยังมีทางเท้าที่ชวนให้เดิน ไม่ต้องใช้รถส่วนตัวอีก ผมเห็นว่าเทศบาลเขาก็มีแผนจะทำวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมการท่องเที่ยว ก็อยากเสนอความคิดนี้ให้เขาไปพิจารณาด้วยครับ”   

โชค มะลิซ้อน
ไวยาวัจกรวัดแก่งคอย และประธานชุมชนหลวงปู่พรหม

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

4 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 month ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 month ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago