“วิถีคลองรังสิต-ประยูรศักดิ์” แต่ละคนมองวิถีชีวิตของคลองรังสิตไม่เหมือนกัน

ในเชิงกายภาพ ถ้าเป็นมุมมองของคนในพื้นที่ เหมือนเป็นการเกิดใหม่ของสิ่งเรียนรู้ ที่เขาอาจจะมองว่ามันก็เป็นอยู่แล้ว แต่เราทำภาพให้ชัดเจนขึ้น ลงไปขยี้ให้เห็นคุณค่ามากขึ้น ในปทุมธานีมีวิสาหกิจชุมชนเยอะมากที่อยู่ในแต่ละเทศบาล เครือข่ายที่อยู่กับเทศบาลก็เยอะ เพียงแต่เขาไม่รู้ว่าจะวิ่งไปไหน แล้วจะมารวมตัวอะไรกันยังไง

มหาวิทยาลัยเองอาจมีบทบาทเป็นตัวกลางเข้ามาประสาน เข้ามาขอความร่วมมือ มันไม่ใช่แค่โครงการนี้เสร็จแล้วจบ มันอาจต่อยอดมาเป็นบริการวิชาการ อย่างหน่วยงานที่เป็นของเทศบาลเองอยากพัฒนาอะไร เขาก็เริ่มตระหนักแล้วว่า เขาจะทำพื้นที่ตรงนี้นะ แล้ววิสัยทัศน์เขาอยากได้แบบนี้ เขาอยากจะไปให้ได้เหมือนเรา อาจารย์มาช่วยหน่อย เป็นที่จดจำของคนในพื้นที่ เขาให้ความร่วมมืออย่างดี แต่ในแง่ของการขับเคลื่อน เพราะด้วยกระบวนการเราทำ 4 เทศบาล พื้นที่ใหญ่ และทำงานกับส่วนราชการ ลักษณะ นโยบาย ของแต่ละเทศบาลก็ไม่เหมือนกัน ก็ต้องพูดตรงๆ ว่าอาจจะขับเคลื่อนช้า

ในงานวิจัยที่เราสรุปและสกัดแล้วเอาไปให้ทั้ง 4 เทศบาล เราก็หวังว่าผลสะท้อนที่อยู่ในงานวิจัยที่เราให้ไป อย่างน้อยจะได้เข้าไปอยู่ในแผน น่าจะมีอะไรบางอย่างที่หยิบยกไปเป็นโพรเจกต์ร่วมกัน โดยพื้นที่อาจจะไม่ได้พัฒนาหน้ามือไปหลังมือ มันยาก ต้องใช้เวลา แต่ถ้าเราใช้กิจกรรมเชื่อม อย่างกิจกรรมวัฒนธรรมศาลเจ้า มันมีทั้ง 4 เทศบาล ถ้าเรารวมให้เป็นอีเวนต์เดียวกัน มีเจ้าภาพร่วมคือเทศบาลทั้ง 4 แล้วก็เกิดเส้นทางท่องเที่ยวทั้ง 4 เทศบาล ก็จะสะท้อนมาที่เชิงกายภาพเอง

ต้องยอมรับว่าอาจจะเป็นกลุ่มคนเดิมๆ ที่เป็นเจเนอเรชันเดิมๆ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในพื้นที่ จริงๆ เขาอาจจะมีตัวตน แต่เรายังไม่เจอว่ามีกลุ่มนี้อยู่นะ เราคงต้องทำงานลงลึกเข้าไปอีก เพื่อไปควานหา หรืออาจต้องมีกิจกรรมเพิ่มให้มีกลุ่มคนที่หลากหลายเข้ามา ซึ่งที่เราทำมาปีกว่าๆ ก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เพียงแต่ว่าต้องอาศัยเวลากับกลไก ทั้งตัวที่เป็นหน่วยงานเองช่วยขับเคลื่อน แล้วสิ่งที่ทางบพท.ให้ความสำคัญคือทำยังไงให้มันเกิดการเรียนรู้ที่เป็น Circular Economy ด้วย

คือพื้นที่เรียนรู้แล้วสามารถเกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เรียนรู้อย่างเดียวไม่ได้นะ ต้องส่งเสริมเศรษฐกิจด้วย คนต้องอยู่ต้องใช้

ผศ.ดร.ธนภูมิ วงษ์บำหรุ

อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และหัวหน้าโครงการย่อย ‘กลไกความร่วมมือในการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านพื้นที่การเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี’

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

3 weeks ago