“ผมเกิดอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ย้ายมาทำธุรกิจที่ราชบุรี แต่ถูกโกงเงิน เลยต้องมาสมัครเป็นลูกจ้างประจำสำนักงานไปรษณีย์ ทำได้สักพักก็มีปัญหากับหัวหน้างาน จึงลาออกมา พอดีกับที่ทาง อบจ. กำลังหาเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยภายในวิหารบนเขาแก่นจันทร์ ผมก็เลยได้ทำงานนี้
เขาแก่นจันทร์เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองราชบุรี แม้เป็นภูเขาที่ไม่สูงนัก แต่ถ้าขึ้นมาข้างบน ก็จะเห็นเมืองราชบุรีได้ทั้งหมด บริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแก่นจันทร์ เชื่อกันว่าเป็นที่สถิตของเจ้าแม่แก่นจันทร์ วิญญาณอารักษ์ที่สถิตอยู่ในไม้แก่นจันทร์ ตามตำนานท้องถิ่นของเมืองราชบุรี
นอกจากนี้ บริเวณเชิงเขายังเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 ซึ่งสมัยก่อนที่ท่านจะเป็นกษัตริย์สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ท่านเคยมารับราชการในเมืองแห่งนี้ เวลาที่ข้าราชการหรือตำรวจยศใหญ่ท่านไหนย้ายมาประจำการที่ราชบุรี ก่อนเข้ามาทำงาน ก็จะต้องแวะมาสักการะอนุสาวรีย์พระองค์ท่าน ก่อนจะขึ้นเขามาสักการะพระสี่มุมเมือง (พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ) ภายในวิหารที่ผมดูแลอยู่ตรงนี้
ที่เรียกว่าพระสี่มุมเมือง ก็เพราะในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เป็นพระพุทธรูป 4 องค์ โปรดให้ประดิษฐานไว้ตามจังหวัดต่างๆ ทั้ง 4 ทิศทั่วไทย ทิศเหนือคือจังหวัดลำปาง ทิศตะวันออกคือสระบุรี ทิศใต้คือพัทลุง และทิศตะวันตกคือราชบุรี
พระพุทธรูปองค์นี้เป็น 1 ใน 2 พระพุทธรูปคู่เมืองราชบุรี พระพุทธรูปอีกองค์คือ หลวงพ่อแก่นจันทร์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดช่องลมในตัวเมือง เป็นพระพุทธรูปยืน (ปางอุ้มบาตร) ส่วนบนเขาแก่นจันทร์นี้เป็นพระพุทธรูปนั่ง (ปางสมาธิ)
หน้าที่ของผมคือการเปิดและปิดวิหาร ดูแลความเรียบร้อย และคอยอธิบายประชาชนที่มาสักการะถึง ความสำคัญ รวมถึงขั้นตอนการกราบไหว้บูชา ผมจะอยู่ที่นี่ทั้งวันทั้งคืน เพราะต้องนอนเฝ้าด้วย แต่ก็มีวันหยุดที่เจ้าหน้าที่อีกคนจะมาเปลี่ยนเวรแทน
ผมทำงานนี้มาได้หนึ่งปีแล้ว รูปแบบงานก็เดิมๆ ซ้ำๆ ว่าไปก็ค่อนข้างน่าเบื่อ แต่พอคิดว่าสิ่งที่เราเฝ้าอยู่นี้มีความสำคัญกับคนราชบุรีและคนไทยทั้งประเทศ ผมก็รู้สึกภูมิใจ ยิ่งพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่ในหลวง ร.9 สร้างขึ้น ผมก็เลยต้องทำหน้าที่อย่างดีที่สุด นอกจากนี้ ภายในพระพุทธรูปยังมีสมบัติล้ำค่าที่ในหลวงท่านทรงพระราชทานมาให้ด้วย งานนี้จึงต้องเข้มงวดเป็นพิเศษ
ผมไม่บอกคุณหรอกว่าสมบัติล้ำค่านั้นคืออะไร เพราะเกรงความไม่ปลอดภัย แล้วผมก็อยู่ตรงนี้ ดูแลเต็มที่ อบจ. เขาก็ติดตั้งกล้องวงจรปิดดูแลตลอด ผมพร้อมต้อนรับทุกคนที่เข้ามาสักการะ แต่คนไหนใจไม่ซื่อ ผมก็ขอเตือนไว้ก่อนว่าอย่าได้เข้ามายุ่ง ผมคนเมืองเพชร อย่ามีปัญหากับผมเลย”
แสงอรุณ เทียนขำ
เจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยภายในวิหารพระสี่มุมเมืองบนเขาแก่นจันทร์
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…