ศาลเจ้าอยู่ที่เงินบริจาคและเงินจัดงาน ถ้าได้มาต้องสร้างเพื่อเรียกศรัทธาให้คนบริจาคเขาเห็น ไม่ใช่บริจาคแล้วศาลเจ้ายังซอมซ่อ ต้องทำให้งดงาม เงินเหลือก็พยายามใช้ให้หมด เหลือมากแล้วเป็นกิเลส

“คนจีนเข้ามาตั้งแต่สมัยขุดคลองรัชกาลที่ 5 ทุกคลองก็สร้างศาลเจ้าเป็นศูนย์รวม ศาลเจ้าคลอง 12 ที่นี่ร้อยปีขึ้น รุ่นพ่อมีแล้ว ผมเป็นรุ่นที่ 2 ตอนนี้อายุเจ็ดสิบกว่า เกิดมาก็เห็นแล้ว แต่เดิมเป็นศาลเจ้าไม้ เป็นสังกะสี เขาก็พัฒนามาเรื่อย เราเป็นคนดูแลศาลเจ้า มาเก็บมากวาด ใครมาไหว้เราก็ดูเขาขาดเหลืออะไร ตรงนี้ปักธูปกี่ดอกเราก็บอกเขา เวลาไปศาลเจ้าที่ไหนต้องไหว้ฟ้าดินด้านหน้าศาลเจ้าก่อน เขาใหญ่สุด เหมือนเราไปวัดต้องไปไหว้เจ้าอาวาสก่อน ของที่นี่เป็นเสามังกรฟ้าดินมีมังกรสองตัวสีเหลืองกับสีเขียวพันกันอยู่ เป็นเสาตะเกียง ข้างบนมีตะเกียงส่องสว่าง มีเจ้าพ่อปึงเถ่ากง แป๊ะกงก็เป็นอาจารย์ของท่าน มีเจ้าแม่กวนอิมที่ผู้หญิงชอบมาไหว้ เจ้าพ่อกวนอู พระสังกัจจายน์ หลวงพ่อโสธร ทั้งหมดก็จำลองมา อย่างเทพปึงเถ่ากง มีสองประเภท บางศาลเจ้าเขียนปึงเถ่ากงม่า คือมีทั้งเจ้าพ่อเจ้าแม่ แต่ของเรานี่เสี่ยงทายแล้วท่านไม่ยอมมีคู่ ท่านจะอยู่กับอาจารย์แป๊ะกง ก็เป็นปึงเถ่ากง แต่ดั้งเดิมเขามาเป็นแบบนี้ เราไม่เปลี่ยนอะไร เวลาจะทำอะไรก็เสี่ยงทายถามท่านทุกเรื่อง ที่เป็นแท่งไม้ประกบคู่แล้วโยนออกมาคว่ำหงายแบบนั้นแหละ

แต่ละศาลเจ้ามีงานเทศกาลประจำปี จัดงานไล่ ๆ กันไป มีคลอง 10 ก่อน แล้วไปคลอง 13 ไปองครักษ์ ย้อนไปคลอง 12 คลอง 11 ตามเครือข่ายที่เอาแรงกันอยู่นะ เขาเชิญเราไปก็ใส่ซองช่วยเขา เวลาเรามีเชิญเขาก็ใส่ซองมาช่วย ของเราจัดตามปฏิทินจีน วันชิวซา เดือน 2 วันที่ 3 ก็เตรียมชุดถวายเครื่องทรง กระดาษเงินกระดาษทอง ไหว้แล้วก็เผาส่งให้ท่าน ของไหว้ก็เป็ดไก่หัวหมู ขนมมงคลพวกถ้วยฟู ให้เฟื่องฟู ไหว้แล้วก็แจกจ่ายกันไปกิน งานมี 5 วัน ลานข้างหน้าก็ตั้งโต๊ะจีน 50 โต๊ะ มีงิ้วเล่นทั้ง 5 วัน ฉายหนัง 3 วัน ส่วนใหญ่คือเปิดให้เจ้าดู งิ้วเดี๋ยวนี้เด็กก็ไม่ดู คณะงิ้วก็คณะเดิม เจ้าของหรือคนแสดงอาจเปลี่ยน มีหัวหน้าคณะที่เคยติดต่ออยู่แล้วเขาแยกคณะไปจะกลับมาเล่น เราเสี่ยงทายถาม ท่านก็ไม่เอา จะเอาเจ้าเก่า หนังก็ฉายหนังจีนเก่า ๆ อยากจะเลิก เสี่ยงทายแล้วท่านไม่ให้เลิก ก็ลบหลู่ไม่ได้ เคยทำมาก็ต้องทำไป เราไม่อยากเปลี่ยนอะไร เคยเปลี่ยนครั้งนึงแล้วกรรมการมีอันเป็นไป เมื่อก่อนมันไม่สะดวก กรรมการรุ่นพ่อเขาจอดรถฝั่งโน้น แล้วหามเครื่องเล่นเป็นลังไม้ข้ามสะพานไม้มา เขาเหนื่อย เขาก็บ่นปีหน้าไม่แบกแล้ว หกล้มตกสะพานฟันหักเดี๋ยวนั้นเลย

งานประจำปีเหมือนเป็นการรวมตัวคนในชุมชนมาพบปะกัน พวกที่ออกไปอยู่ข้างนอกก็กลับมาเยี่ยมญาติ มากินเลี้ยงโต๊ะจีน บางคนมาได้ก็มา ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจด้วย ช่วงโควิดจัดงานไม่ได้มาสองปีก็แค่ซื้อของมาไหว้ การจัดงานประจำปีส่วนนึงก็เพื่อรวบรวมเงินเป็นทุนไว้จัดงานปีหน้า เรามีการประมูลของ เขาประมูลห้าร้อยเราก็ให้ลอตเตอรี่พันนึง ต้องให้เขามีลุ้น มีเสามังกรโคมไฟกระดาษตัดกิ่งไผ่ปักให้ประมูลไปติดห้างร้านเป็นมงคล คืนสุดท้ายมีเชิดสิงโต เช้ามาก็แห่โคมไฟที่ประมูลไปส่งให้เขาถึงบ้าน เราไม่ได้มีเรี่ยไรบริจาคอะไร ทำกันแบบลูกศิษย์ศรัทธาคนเก่า ๆ ก็ร่อยหรอลงไป วันข้างหน้าผมว่าลำบาก เศรษฐกิจแบบนี้ด้วย ของไหว้ตัดไม่ได้ รายจ่ายมีแต่เพิ่ม รายได้ลดลง ก็ประคับประคองให้ปีนึงจัดงานได้ ศาลเจ้าอยู่ที่เงินบริจาคและเงินจัดงาน ถ้าได้มาต้องสร้างเพื่อเรียกศรัทธาให้คนบริจาคเขาเห็น ไม่ใช่บริจาคแล้วศาลเจ้ายังซอมซ่อ ต้องทำให้งดงาม เงินเหลือก็เหลือไว้ใช้ปีต่อปี พยายามใช้ให้หมด เหลือมากแล้วเป็นกิเลส

คนมาไหว้ขอพร โชคลาภ ร่ำรวย หายป่วย ที่นี่โชคลาภไม่ค่อยมีหรอก คนน้อย ถ้าคนมาไหว้เยอะร้อยคนต้องมีถูกสักคนแหละ ก็กลายเป็นศักดิ์สิทธิ์ คนไม่ถูกก็เงียบ ๆ คือทั่วไปคนข้างนอกจะเข้ามาต้องมีสิ่งดึงดูดอย่างให้หวยแม่น มีคนดูหมอ คนเข้าทรง แต่ผมไม่นิยม เดี๋ยวคนมาเรียกเงิน มาหลอกลวง ว่าโชคไม่ดีต้องมาสะเดาะเคราะห์ เงินเข้ากระเป๋าเขา ไม่ได้เข้าเจ้า เราไม่เอาหรอก ของเราทำมาตั้งนานไม่มีด่างพร้อยอะไร อยู่เงียบ ๆ ใครศรัทธาก็มาไหว้ ที่นี่ทำเลสวย คนขับรถผ่านมองข้ามคลองมาเห็นศาลเจ้าสวย ก็ข้ามสะพานปูนมาไหว้ ช่วงตรุษจีน สารทจีน เขาก็ไหว้สืบทอดเทศกาล ผมก็บอกคนมาไหว้ เศรษฐกิจไม่ดี ก็ไหว้ตามกำลัง ไม่ให้เดือดร้อน เจ้าท่านไม่ว่าหรอก บางทีเป็ดไก่แพง ผมก็ซื้อปลามาไหว้ เราอยากกินอะไรก็ไหว้ ลูกหลานก็แจกจ่ายกันกินต่อ มันดีอย่างที่ไม่สูญเปล่า”

โสภณ ตั้งคติธรรม

ปราชญ์ชาวบ้านศาสนาประเพณีและวัฒนธรรม พิธีความเชื่อ วัฒนธรรมจีน

ผู้ดูแลศาลเจ้าเทวาลัย คลอง 12

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago