“อยู่ข้างล่างครับ”
เป็นคำตอบที่ได้รับในทันทีที่ฉันถามว่าแผนกเครื่องเขียนอยู่ที่ไหน หลังจากไปเดินวนอยู่พักหนึ่งฉันก็ถามเจ้าหน้าที่ข้างล่างด้วยคำถามเดียวกัน แต่คราวนี้ได้คำตอบว่าอยู่ข้างบน! วันนั้น ฉันไม่ได้ของที่ต้องการติดมือกลับบ้านเพราะร้านเก็บกลับไปหมดแล้ว แต่กว่าจะรู้ ก็ถูกส่งจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเพื่อไปอีกที่หนึ่งแล้วย้อนกลับไปที่เดิมอยู่ร่วมชั่วโมงด้วยความมั่นใจของพนักงานขายที่ไม่รู้ว่าแผนกของตัวมีของที่ลูกค้าถามหาหรือเปล่า
เหตุการณ์นี้ตอกย้ำความเศร้าของฉันที่มักรู้สึกเสมอว่าคนไทยไม่ค่อยจะนิยมการเรียนรู้เอาเสียเลย ฉันมักจะพบ “ความมั่นใจ”
ที่ตั้งอยู่บนความเชื่อมั่นในตัวเองมากกว่าจะอยู่บนฐานของการศึกษาหาข้อมูล และมักจะพบว่าคนจำนวนมากไม่ใส่ใจเรียนรู้เกี่ยวกับงานของตน แค่อยากได้ตำแหน่งหน้าที่แต่ไม่สนใจว่าอาชีพของตัวควรมีความรู้ในเรื่องอะไรบ้าง
ในขณะที่คนไทยแต่ก่อนมักถูกวิจารณ์ว่าขี้อาย ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง คนไทยสมัยใหม่กลับมักจะมีความมั่นใจในตัวเองสูง ที่น่าเสียดายก็คือความมั่นใจนั้นมักไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้จนแน่ใจว่าสิ่ง ที่ตัวเองคิดหรือรู้นั้นถูกต้อง
ฉันพบงานแปลในท้องตลาดที่แปลผิดอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งทำให้ฉันคิดว่าคนแปลต้องมั่นใจในภาษาของตัวเองมากจนไม่คิดจะเปิดพจนานุกรมทั้งที่แปลเป็นภาษาไทยออกมาแล้วอ่านแทบไม่รู้เรื่อง ได้ฟังคนกล่าวสุนทรพจน์ผิดๆ ถูกๆ เพราะมั่นใจจนไม่คิดจะซ้อมอ่านโพยที่คนอื่นเขียนมาให้ตัวก่อนขึ้นปราศรัย
ได้พบการแสดงความเห็นจำนวนมากในสังคมออนไลน์ที่ตั้งอยู่บนฐานของความรู้สึกและอคติของคนเขียนมากกว่าจะผ่านการค้นหาข้อเท็จจริงก่อนจะเข้าไปร่วมวงแสดงความเห็น แม้แต่การให้คำแนะนำซึ่งควรจะมาจากคนที่มีความรู้ในเรื่องนั้นจริงๆ ก็เคยเห็นคนให้คำแนะนำกันให้เกร่อและหลายๆ คำแนะนำก็เห็นได้ชัดว่าคนให้ไม่ได้รู้เรื่องที่ตนกำลังพูดอยู่เลย! และเมื่อวานนี้เอง คนขับรถเมล์ที่มั่นใจว่ารู้จักโรงละครที่ฉันจะไป ก็ส่งฉันลงแค่ 6 ป้ายรถเมล์ก่อนจะถึงโรงละครเท่านั้นเอง!!
ที่ฉันเศร้ามากกว่าคือการพบว่าคนไทยจำนวนมากไม่สนใจจะเรียนรู้เกี่ยวกับงานของตัวเอง ฉันรู้จักกรรมการหลายคนที่เข้าประชุมโดยไม่อ่านเอกสารประกอบการประชุมที่เขาเตรียมให้มาล่วงหน้า เคยเห็นคนขายกล้องที่ทำเป็นแค่หยิบกล้องขึ้นมาให้ลูกค้าดูโดยไม่มีความรู้เกี่ยวกับกล้องนั้นเลย เคยพบพนักงานขายหลายคนจากหลายห้างที่บอกฉันว่าที่ร้านไม่มีสินค้าที่
ฉันหาแล้วฉันก็พบว่ามันมีวางขายอยู่บนชั้นในแผนกนั้นเอง อาการอยากได้งานได้ตำแหน่งโดยไม่คิดจะเรียนรู้งานนี้ดูจะระบาดไปทั่วตั้งแต่ระดับผู้นำไปจนถึงลูกกระจ๊อกที่มีตำแหน่งเล็กสุด
เรามาเริ่มต้นกันใหม่ดีไหมคะ เริ่มที่ตัวเรานั่นแหละก่อนคนอื่น
เราอาจไม่โชคดีพอที่จะได้ทำงานที่ตัวเองชอบ แต่ทุกงาน เมื่อจับทำแล้ว เราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับมันได้เสมอและการเรียนรู้นั้นก็ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ เสริมสร้างคลังความรู้ให้กับตัวเองซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของเราในอนาคตได้ ที่สำคัญ การตั้งใจเรียนรู้เกี่ยวกับงานที่กำลังทำเป็นการสร้างนิสัยที่ดีให้ตัวเองที่จะช่วยให้เราก้าวต่อไปได้ดีกว่าที่จะปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปเฉยๆ ไหนๆ
ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมงกับงานอยู่แล้ว
ก็น่าจะมีอะไรกลับมาช่วยเพิ่มพูนคุณค่าของตัวเราเองบ้างไม่ใช่หรือคะ
ในนิยายเรื่อง Shane มีประโยคหนึ่งที่ฉันจำฝังใจมาแต่เด็กและคิดว่าจริงอย่างที่สุด นั่นคือ “มันไม่สำคัญหรอกว่าเรารู้อะไร (หรือเรียนอะไรมา) สำคัญที่ว่าเราเป็นคนอย่างไรต่างหาก”
ถ้าหากเราเป็นคนใฝ่เรียนรู้ ไม่ว่าจะจับงานอะไร ต่อให้ไม่มีพื้นฐานมาก่อนเลย ก็สามารถเรียนรู้งานจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญได้ในเวลาไม่นานเกินรอ
อย่าปล่อยให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยข้อมูลแต่ไม่มีการเรียนรู้เลยนะคะ
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…