“ถ้าไม่ติดงานอะไร ผมมักจะปั่นจักรยานมานั่งดื่มกาแฟริมกว๊านอย่างนี้ทุกเช้า ตอนแรกก็ทำกาแฟดริปขายคนที่มาเดินเล่นเหมือนกันครับ แต่พอมีข้อห้ามไม่ให้มีรถเข็นมาขายเกิน 11 โมง ผมก็เลยไม่ขาย ใครอยากดื่มกาแฟ ผมทำเสิร์ฟเลย ก็กลายเป็นว่าพอมีคนมาดื่มของผมไป คราวต่อมาเขาก็เอาเมล็ดกาแฟมาแบ่งให้ลอง เป็นการตอบแทน
อาชีพของผมคือช่างกระจกและอลูมิเนียมครับ ก่อนหน้านี้เคยทำงานอยู่กรุงเทพฯ แต่อยู่จนถึงจุดจุดหนึ่งแล้วคิดว่าเราอยู่กรุงเทพฯ ต่อไม่ไหว เลยกลับมาทำงานที่บ้าน กรุงเทพฯ อะไรก็เป็นเงินเป็นทองไปหมด แค่อยากจะมานั่งสวนสาธารณะหรือริมแม่น้ำแบบนี้ ก็ต้องเสียค่าเดินทาง และความที่เป็นเมืองใหญ่ก็บีบคั้นให้คนต้องแข่งขัน ไม่ค่อยเอื้อเฟื้อกัน
ผมชอบพะเยาตรงที่เงินทองไม่ใช่เรื่องหลักใหญ่ ไม่ได้บอกว่าเงินไม่สำคัญนะครับ เป็นเรื่องสำคัญ แต่คนพะเยาหลายคนก็ไม่ถึงกับดิ้นรนหนักในการหาเงินไปซื้อข้าว เพราะคุณแค่ออกเรือไปที่กว๊านคุณก็หาปลาได้แล้ว เข้าป่าหาหน่อไม้ หาเห็ด หลายคนเป็นเกษตรกรก็ปลูกข้าวกินเอง และพะเยายังมีสังคมแบบชุมชนที่ใครมีอะไรก็เอามาแบ่งหรือมาแลกกันอยู่ เราจึงอยู่ได้ในแบบชีวิตที่ไม่ได้เร่งเร้าอะไร และทำให้คนที่นี่ไม่ค่อยเครียด
ผมไม่ได้เรียนสูงอะไร เลยอาจตอบได้ไม่ดีนักว่าอยากเห็นการพัฒนาอะไรในเมืองนี้ ก็คงอยากเห็นผู้คนผ่อนคลาย มีความสุข เห็นเมืองที่เติบโตไปพร้อมกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม เพราะสิ่งที่ผมอยากเห็นจริงๆ คือการได้เห็นกว๊านพะเยาที่สุขสงบในทุกเช้าแบบนี้”
กุหลาบ อินอิ่น
ช่างกระจกและอลูมิเนียม
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…