สิ่งที่ยังบ่งบอกว่าปลาส้มเป็นของพะเยาอยู่คือไส้ปลาครับ เพราะไส้ปลาที่มาจากที่อื่นมันคาว เอามาปรุงไม่อร่อย

“หลังเรียนจบผมไปเป็นทหารมา 25 ปี แต่ความที่เราโตมากับธุรกิจปลาส้มของแม่ และที่บ้านก็มีผมกับน้องสาวกันสองคน ก็เลยตัดสินใจลาออกมาสานต่อกิจการ โดยผมกับน้องจะอยู่โรงงานช่วยแม่ทำปลาส้ม ดูแลเรื่องวัตถุดิบ และการจัดส่ง ส่วนแฟนผมไปเปิดร้านขายที่ตลาดสดแม่ทองคำที่ตำบลแม่ต๋ำ

แม่ทองปอนมาจากชื่อแม่ผม แต่ไหนแต่ไรคนพะเยาก็ทำปลาส้มกินหรือขายกันเล็กๆ อยู่แล้ว จนช่วงหนึ่งที่รัฐบาลส่งเสริมสินค้า OTOP เราจึงต่อยอดเป็นธุรกิจจริงจัง เราเป็นเจ้าแรกในพะเยาที่นำเครื่องจักรเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต รวมถึงการทำฉลากและแบรนดิ้ง อย่างคำว่าปลาส้มไร้ก้าง เราก็เป็นเจ้าแรกที่หยิบมาใส่ในชื่อ เป็น ‘ปลาส้มไร้ก้างแม่ทองปอน’ จริงๆ เจ้าอื่นเขาก็ไร้ก้างครับ แต่เราหยิบมาใส่ก่อน เป็นแบรนดิ้งให้คนจดจำ


สมัยแม่ยังสาวๆ ก็ใช้ปลาจากในกว๊านพะเยานี่แหละครับ แต่พอคนหันมาทำปลาส้มขายกันเยอะ ปลาในกว๊านเลยไม่พอ ทุกวันนี้ผู้ประกอบการแทบทุกราย ต้องซื้อปลาจากสะพานปลาจากกรุงเทพฯ​ เพื่อมาทำปลาส้ม เขาก็ส่งมาเป็นรอบๆ เราก็เอาไปเข้าห้องเย็น แล้วแปรรูป

กรมประมงเคยพยายามส่งเสริมให้ใช้ปลาพื้นถิ่นอยู่เหมือนกันครับ โดยเพาะพันธุ์ปลาจีนให้เป็นวัตถุดิบหลัก แต่ปลามันโตแต่หัว เอามาทำปลาส้มไม่ได้ หรือผมก็เคยทดลองใช้ปลาที่หาง่ายอย่างดอร์ลี่มาทำด้วย แต่ปลาดอร์ลี่มันไม่มีเกล็ด พอมาทำแล้วเป็นเมือก เนื้อไม่จับกัน ก็เลยกลับไปใช้ปลาจากสะพานปลาดีกว่า

แต่สิ่งที่ยังบ่งบอกว่าปลาส้มเป็นของพะเยาอยู่คือไส้ปลาครับ เพราะไส้ปลาที่มาจากที่อื่นมันคาว เอามาปรุงไม่อร่อย เราก็เลยซื้อไส้ปลาจากชาวบ้านที่ทำประมงในกว๊านนี้แหละครับ ส่วนกระเทียมก็ใช้ของเกษตรกรในพะเยา

ทุกวันนี้นอกจากขายที่โรงงานตรงนี้ ก็มีหน้าร้านที่ตลาดสดแม่ทองคำ แล้วก็ไปวางตามร้านต่างๆ ในพะเยา ส่วนจังหวัดอื่นๆ ก็มีคนมาสั่งไปขายเหมือนกัน อย่างที่เชียงใหม่ เชียงราย และลำปางก็เยอะ นอกจากนี้ก็มีเพจเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/PraSomThongPon/ รับสั่งซื้อแบบออนไลน์ ส่งทั่วประเทศ

ส่วนตัวผมชอบสะสมอาวุธโบราณ ยันต์ และของเก่า และก็ชอบดื่มกาแฟด้วยครับ เลยเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ไว้ที่โรงงาน เอาของสะสมมาจัดแสดง ใช้เป็นที่รับแขก หรือผมใช้นั่งพักผ่อนเวลาที่งานทำปลาส้มไม่เยอะ แต่ร้านกาแฟผมไม่ได้เปิดเป็นทางการนะครับ

คือปกติไม่ขาย จะขายเฉพาะตอนไม่ปกติ อย่างถ้ามีคณะมาศึกษาดูงานที่โรงงาน ผมก็เปิดขาย (ยิ้ม)”

นิวัฒน์ จำรัส
ทายาทธุรกิจปลาส้มไร้ก้างแม่ทองปอน

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago