สิ่งสำคัญที่เชื่อมโยงหน่วยย่อยๆ ของการพัฒนาเมืองได้เข้มแข็งที่สุดคือการทำให้เมืองมีบรรยากาศของการเรียนรู้

“พะเยาเรามีทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่ามากนะครับ ปัญหาก็คือที่ผ่านมาเรายังไม่สามารถพัฒนาต้นทุนทางคุณค่าให้เป็นมูลค่าได้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็อาจจะเพราะเจ้าของต้นทุนไม่รู้จะแปลงมันให้เป็นเงินอย่างไรดี ไม่รู้จักตลาด หรือเพราะขาดการเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

เป้าหมายหนึ่งของมหาวิทยาลัยพะเยานับตั้งแต่ก่อตั้งคือการบริการชุมชน ร่วมงานกับชาวบ้าน เกษตรกร ชาวประมง ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ และผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อใช้ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยช่วยยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของผู้คน ซึ่งจะเห็นได้ว่า เรามีโครงการและหน่วยงานที่ทำงานด้านนี้อยู่ไม่น้อย ตั้งแต่ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิจัยสัตว์ทดลอง ศูนย์เครื่องมือกลาง เป็นต้น

แต่ก็เช่นเดียวกับที่เรามองเห็นถึงความไม่เชื่อมประสานที่เกิดขึ้นในเมือง ในระดับมหาวิทยาลัย เราก็พบว่าแต่ละหน่วยงานก็มีการทำงานไปในทิศทางของตัวเองแบบต่างหน่วยต่างทำ จนมาปี พ.ศ. 2561 ที่เราเห็นตรงกันแล้วว่าทุกหน่วยงานต้องประสานความร่วมมือ จนเกิดการจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ทำงานเชื่อมประสานและขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน

ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นประเด็นอะไรก็ตามแต่ ทั้งอุตสาหกรรม เทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งสำคัญที่เชื่อมโยงหน่วยย่อยๆ ของการพัฒนาเมืองได้เข้มแข็งที่สุด คือการทำให้เมืองมีบรรยากาศของการเรียนรู้ ซึ่งก็ตรงกับที่ทาง บพท. พยายามขับเคลื่อนโครงการในเมืองต่างๆ อยู่ และก็ประจวบเหมาะกับที่เชียงราย เพื่อนบ้านของเรา เพิ่งได้รับเลือกเข้าเป็นเครือข่ายของยูเนสโก เราจึงเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะถอดบทเรียนจากเขา เพื่อมาปรับใช้ในเมืองพะเยาให้มีศักยภาพมากที่สุด

บทบาทหลักของผมต่อโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้คือ การสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ รวมถึงหากระบวนการที่ทำให้โครงการเดินต่ออย่างยั่งยืน โดยที่ไม่ต้องพึ่งพางบวิจัยในอนาคต เพราะเรามีบทเรียนจากหลายโครงการแล้วว่า แม้หลายโครงการจะมีศักยภาพเพียงใด แต่เมื่องบประมาณจากแหล่งทุนหมดตามวาระ โครงการก็ไม่สามารถเดินต่อได้

ก็เลยคิดกันว่าในช่วงปีแรกที่ทำ เราต้องรวมกลุ่มภาคเอกชนในเมืองให้เข้มแข็งให้ได้ก่อน คือถ้าเอกชนต่อติด พวกเขาจะเห็นประโยชน์และมีส่วนในการขับเคลื่อนโครงการได้ด้วยตัวเอง ที่สำคัญการเชื่อมร้อยกับราชการท้องถิ่นและชุมชนก็จะง่าย

ช่วงแรกเราจึงเน้นการสร้างความรับรู้ในเมือง ผ่านการจัดประชุม หรือกิจกรรมที่ชักชวนให้ตัวแทนจากหน่วยต่างๆ อย่างหอการค้า สมาพันธ์เอสเอ็มอี สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว และกลุ่มผู้ประกอบการต่างๆ มาร่วมกัน สร้างบทบาทให้ตัวแทนทุกฝ่ายเป็นเหมือนคณะกรรมการขับเคลื่อนเมืองในรูปแบบไม่เป็นทางการ กล่าวคือ ไม่ถึงกับบังคับให้ใครมาเป็น แต่เป็นการสร้างกลไกให้ทุกฝ่ายเห็นว่าพวกเขามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของเมือง

ซึ่งผลตอบรับค่อนข้างดีทีเดียวครับ ยิ่งเฉพาะเราวางกลุ่มเป้าหมายคือการช่วยยกระดับผู้ด้อยโอกาสให้เข้าถึงองค์ความรู้และทรัพยากรด้วย ที่สำคัญอีกอย่างคือ คนที่มาร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ หาได้มาจากฝั่งมหาวิทยาลัยของเราเลย แต่ก็เป็นคนพะเยาที่มีองค์ความรู้เฉพาะมาร่วมแบ่งปันเป็นหลัก ทางเราช่วยเหลือแค่ข้อมูลเชิงวิชาการ และการเป็น facilitator อำนวยความสะดวกให้กิจกรรมเกิดขึ้นเท่านั้น และอย่างที่บอก พอเราเชื่อมโยงหน่วยทำงานในเบื้องต้นได้สำเร็จ การร่วมมือกับรัฐจึงไม่ยาก อย่างล่าสุดโครงการเราก็ได้ความร่วมมือทั้งเทศบาลเมืองพะเยา และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในการขับเคลื่อนเมืองไปในทิศทางเดียวกัน

ผมมองว่าการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ก็คล้ายๆ กับการที่ผลิตภัณฑ์ได้ติดฉลาก OTOP นั่นแหละครับ เพราะการได้ประดับสิ่งนี้ ไม่ได้การันตีว่าคุณจะประสบความสำเร็จ แต่ต้องยอมรับว่ามันคือแบรนด์ที่ทุกคนรับรู้ ยิ่งพอเมืองมันเชื่อมโยงกับมาตรฐานระดับนานาชาติของยูเนสโก คนในพื้นที่รับรู้ก็เกิดความภาคภูมิใจ สิ่งที่ตามมาคือเขาก็อยากมีส่วนร่วม แรงใจก็เริ่มมา

ที่สำคัญพอเราอยู่ในเครือข่าย คนจากทั่วโลกก็จะรู้จักเรา เมืองในเครือข่ายก็จะมาเยี่ยมชม หรือแบ่งปันกลยุทธ์ในการพัฒนาเมืองมาให้เราได้ปรับใช้ ผมมองเห็นประโยชน์แบบนี้ หนึ่ง. พะเยาเป็นที่รู้จัก สอง. ทำให้เมืองมีมาตรฐานในการจัดการและพัฒนา และสาม. ช่วยยกระดับการทำงานให้ผู้คนในเมือง

พอบุคลากรที่ขับเคลื่อนเมืองได้รับการยกระดับ เมืองก็จะมีพลวัต สุดท้ายมันก็กลับมาที่เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนในเมืองดีขึ้น จากเมืองที่เราตระหนักในคุณค่าอยู่แล้ว ก็สามารถสร้างมูลค่าได้ในที่สุด”

ผศ. ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล
ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา
และนักวิจัยในโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

59 minutes ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

4 days ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

6 days ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

7 days ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

1 week ago