“พวกเรารู้จักกันเพราะความสนใจในหนังตะลุง บางคนรู้จักเพราะเป็นเพื่อนร่วมคณะ แต่ส่วนใหญ่จะรู้จักจากการประกวดการแสดงหนังตะลุงของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งจะจัดขึ้นในงานบุญเดือนสิบของทุกปี จนนำมาสู่การร่วมชมรมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ของมหาวิทยาลัย
หนังตะลุงอยู่ในวิถีชีวิตของคนใต้ ทั้งในงานเทศกาล งานบุญ งานรื่นเริง หรือกระทั่งงานศพ เราเรียกคนเชิดและพากย์หนังว่านายหนัง โดยในแต่ละคณะจะต้องมีนายหนังแค่คนเดียว มีตัวละครให้เชิดกี่ตัวก็ว่าไป นายหนังจะต้องรับบทในการเล่าเรื่องและพากย์เสียงพูดคุยให้ตัวละครทั้งหมด นายหนังที่เก่งจะแยกบุคลิกตัวละครแต่ละตัวออกมาอย่างชัดเจน และทำให้ผู้คนติดตามเรื่องราวด้วยความสนุกสนานจนจบ
เราหลายคนในกลุ่มอยากเป็นนายหนังเพราะมีโอกาสได้ดูนายหนังเก่งๆ เชิดหุ่น หรือเราบางคนก็มีความสนใจอยู่ในสายเลือด เพราะเป็นลูกหลานของศิลปินหนังตะลุงอยู่แล้ว แม้จะสนใจศิลปะการแสดงเหมือนกัน แต่เราก็ล้วนมีจุดเด่นแตกต่างกัน บางคนเก่งในการขับกลอน บางคนเก่งเรื่องการพากย์เสียงได้อย่างรื่นหูและสนุก บางคนเก่งในด้านการอนุรักษ์แบบแผนดั้งเดิมไว้ และบางคนก็เก่งในเรื่องไหวพริบและการสร้างมุขตลกที่ล้อไปกับสถานการณ์สังคม
หลายคนมักเข้าใจผิดว่าหนังตะลุงจะเล่นเฉพาะแต่เรื่องรามเกียรติ์ หรือวรรณกรรมพื้นบ้านดั้งเดิม แต่จริงๆ แล้วในยุคหลัง ก็มีคณะหนังตะลุงหลายคณะเขียนบทละครขึ้นมาใหม่ บ้างก็ทำละครจากนิยายสมัยใหม่ หรือปรับบทละครดั้งเดิมให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เราจึงจะได้เห็นมุขที่เป็นกระแสสังคมถูกเล่าในหนังไม่น้อย หนังตะลุงสมัยนี้จึงไม่เพียงเป็นสื่อบันเทิงของชาวบ้าน แต่ยังเป็นสื่อสร้างสรรค์ที่สะท้อนความเป็นไปของสังคมและการเมืองไปพร้อมกัน
เมืองนครถือเป็นหนึ่งในเมืองที่มีคณะหนังตะลุงมากที่สุดในประเทศ เพราะแม้ในยุคหลังมานี้จะมีมหรสพสมัยใหม่เกิดขึ้นมากมาย แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ยังนิยมจ้างหนังตะลุงไปแสดงตามงานต่างๆ อยู่ ซึ่งก็อย่างที่บอก คณะหนังตะลุงหลายคณะต่างมีจุดเด่นเป็นของตัวเอง มีทั้งสายอนุรักษ์ที่เป็นที่ถูกใจของคนสูงวัย รวมถึงสายตลกโปกฮาที่เล่าเรื่องร่วมสมัย เช่น ‘คณะน้องเดียว ลูกทุ่งวัฒนธรรม’ ของเดียว สุวรรณแว่นทอง นายหนังผู้พิการทางสายตา ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก
โดยหนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงในการอนุรักษ์หนังตะลุงให้อยู่คู่กับเมืองนครไว้ คือ อาจารย์วาที ทรัพย์สิน อาจารย์ที่ก่อตั้งชมรมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ของพวกเรา ขณะเดียวกัน อาจารย์ก็ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านหนังตะลุง ทำหน้าที่เผยแพร่ภูมิปัญญาเรื่องนี้แก่ผู้ที่สนใจ และล่าสุดทางคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ก็มีแผนจะทำโรงหนังตะลุงของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยเปิดการแสดงอย่างน้อยเดือนละครั้ง
ถามว่ายุคสมัยเปลี่ยน แล้วหนังตะลุงจะสูญหายไปกับกาลเวลาไหม ในมุมมองของพวกเรา ไม่คิดว่าอย่างนั้นนะครับ อาจจะเพราะเราเติบโตมาแบบนี้และเห็นคนรุ่นเรารวมถึงรุ่นน้องอีกจำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจ และอยากฝึกฝนเพื่อพัฒนาตัวเองเป็นนายหนังหรือทำงานอยู่ในคณะหนังตะลุง ขณะเดียวกัน ทั้งสถาบันการศึกษาและทางจังหวัดก็มีการส่งเสริมการอนุรักษ์หนังตะลุงอยู่เรื่อยมา
แต่ก็คงจะดีกว่านี้ไม่น้อย หากเมืองนครจะมีพื้นที่กลางที่เปิดให้คนรุ่นใหม่ได้มาแสดงผลงานของตัวเองอย่างต่อเนื่องบ้าง อาจจัดแสดงสัปดาห์หรือเดือนละครั้งในตัวเมือง ให้คนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวที่มาเยือนนครได้มาดู เรามีภาพฝันไกลๆ ที่อยากพัฒนาแวดวงหนังตะลุงให้มีคุณภาพและเป็นที่สนใจในระดับที่ใครก็ตามที่มาเยือนเมืองนคร ยอมควักเงินซื้อตั๋วเข้าชม แบบการแสดงละครเวทีหรือมหรสพในต่างประเทศ ถ้าเป็นแบบนั้นได้ อาชีพนี้ไม่เพียงน่าภาคภูมิใจ แต่ยังมั่นคงและยั่งยืนอีก”
โจม-ธนวัฒน์ ไทรแก้ว, โอม-ณัฐพล บัวจันทร์,
ไบร์ท-อติวัฒน์ ทรงศิวิไล, ยูฟ่า-คุณากร ประมุข
และน้ำมนต์ เทิดเกียรติชาติ
กลุ่มหนังตะลุง ชมรมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…