“หมอลำมันหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณคนอีสานมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มาตั้งแต่ปู่ย่าตาทวดจนถึงปัจจุบัน”

“ปีนี้แม่อายุ 71 แล้ว เป็นนายกสามาคมหมอลำ จังหวัดขอนแก่น ตอนนี้สอนในนามศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย จะมีทั้งลูกศิษย์คนอื่น ทั้งลูกศิษย์ตัวเองเข้ามาอยู่ในสมาคมเป็นร้อย แล้วก็ที่อยู่ตามออนไลน์พวกโซเชียล อีกไม่รู้เท่าไหร่ เพราะแม่ทำคลิปเผยแพร่ทางนั้นด้วย มีบางคนที่อยู่ใกล้ๆ เขาเรียนจากออนไลน์แล้วก็จะนัดมาขอซ้อมให้ดูที่ศูนย์การเรียนก็มี นอกจากสอนที่ศูนย์ และสอนออนไลน์ แม่ก็รับเชิญไปสอนเป็นอาจารย์พิเศษช่วงเสาร์อาทิตย์ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น พวกที่เรียกเอกการแสดง แล้วสนใจหมอลำก็จะได้มาเรียนกับแม่ แม่สอนนักเรียนพวก ป.โท กับป.เอก ด้วยนะ เพราะเรียนจบด็อกเตอร์ก็เลยสอนพวกชั้นสูงๆ ได้ 

แม่มองหมอลำว่าเป็น จิตวิญญาณของวัฒนธรรมอีสาน ทุกบ้านทำบุญจะต้องมีหมอลำ รวมไปถึงงานศพก็มี ฉลองวันเกิดลูกก็มา เรียกว่าอยู่ในทุกช่วงชีวิตของคนอีสาน ตัวหมอลำเองก็เป็นการรวมกันของศิลปะหลายแขนง มีฟ้อนรำ มีร้อง มีต่อกลอน ไหนจะการแสดง ดนตรี เวที แสงเสียง มันคือการรวมตัวของศิลปะความรู้อย่างคนอีสาน แถมยังสามารถสอดแทรกเรื่องราวที่ตามสมัยเข้าไปได้ เช่น ยุคหนึ่งจะมีการรณรงค์เรื่องการกินปลาดิบ หรือเรื่องยาเสพติด เรื่องไม่สูบบุหรี่ หรือจะเตือนเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ ก็ให้หมอลำแต่งเป็นกลอนรำผ่านสื่อ ไม่ก็แสดงบนเวทีตระเวนไปในที่ต่างๆ อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับไหวพริบของหมอลำด้วย เพราะคนฟังจะหลากหลาย มีทั้งกลุ่มคนแก่ คนหนุ่ม ถ้าเป็นคนหนุ่มๆ มาฟังเราก็ประยุกต์หน่อย เขาเรียกว่า ‘หมอลำซิ่ง’ จังหวะทำนองก็จะเป็นจากช้าไปเร็ว เนื้อหาก็ทันยุคทันสถานการณ์ แต่ไม่ไปวิพากษ์วิจารใครนะ อันนี้ไม่ได้ต้องขออนุญาตคนตนเรื่องด้วย บางทีก็มีการแร็พแบบฮิปฮอปเข้ามาผสม ม่วนไปใหญ่ นี่แหละ Soft power ของแท้ ไหลไปได้ทุกวงการ (หัวเราะ)          

ที่บอกว่าหมอลำรันทุกวงการอันนี้ไม่เกินจริงนะ ใครเป็นหมอลำชื่อติดแล้วก็จะตลอดๆ ทั้งปี ทั้งปีหมายถึง 9 เดือนนะ เขาจะหยุดกันช่วงเข้าพรรษา ถือเว้นกันไป 3 เดือนเหมือนพระสงฆ์เลย ช่วง 3 เดือนนั้นก็ถือว่าเป็นช่วงเวลาของการซักซ้อม ปรับปรุงตัว และได้พักยก ก่อนจะลุยงานกันยาวๆ 9 เดือนวันหยุดประเพณี ปีใหม่ สงกรานต์ คนเขาหยุดกันเราไม่ได้หยุด ถ้าให้พูดถึงขอนแก่นกับงานหมอลำ งานใหญ่ก็ต้องงานไหมผูกเสี่ยว  (เทศกาลไหม และประเพณีผูกเสี่ยว จัดขึ้นช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี) จัดติดต่อกัน 12 วัน อย่างแม่เนี่ยต้องขึ้นแทบทุกวันเลยนะ

ล่าสุดนี้แม่ร่วมกับลูกหลานๆ แต่งกลอนหมอลำโคแฟค (Cofact) มาจากคำว่า โฆษณานั้นแหละ รวมกับคำว่า Fact (ข้อเท็จจริง) เป็นหมอลำที่รณรงค์เรื่อง Fake News ให้คนเท่าทันสื่อ กระตุ้นให้คนตระหนักว่าไม่ชัวร์อย่าแชร์ หรือให้ระวังพวกมิจฉาชีพมาหลอก แม่ก็แต่งเป็นกลอนรำให้ลูกศิษย์ลูกหาไปใช้เผยแพร่กันต่อ หรืออย่างที่ทางการเขาจะทำเมืองให้เป็น smart city แม่ก็เป็นคนแต่งกลอนรำ ทำให้เขาไปสองแบบ แบบเก่าหนึ่งกลอน แบบใหม่อีกหนึ่งกลอน เขามาจ้างเรา เวลามีโครงการอะไรแล้วอยากให้เขาถึงคนง่ายๆ เขาก็จะนึกถึงหมอลำ และนึกถึงแม่ หรือจะแต่งกลอนรำไปสอนเด็กนักเรียนในโรงเรียน 11 โรงเรียนในเทศบาล แม่ก็ทำให้เห็นว่ามันจะดีกับลูกหลาน ดีกับบ้านเมืองแม่ก็ช่วยไปทำ

สำหรับแม่ หมอลำมันหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณคนอีสานมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาแต่ปู่ย่าตาทวด มาจนถึงปัจจุบัน เด็กยุคใหม่มีกลุ่มที่สนใจอยู่มาก เขาก็มาสานต่อเองซึ่งเราไม่ได้บอกเขาว่า “ลูกหลานอย่าทิ้งวัฒนธรรมประเพณีอีสานเรานะ” แต่เขาสนใจ เขาซึมซับ เพราะมันอยู่ในวิถีคนอีสานอยู่แล้ว ใครรักใครชอบก็มาเรียนได้เลย ยิ่งเดียวนี้มันง่าย Facebook บ้าง YouTube มันไปได้ไกล แม้จะไม่ 100% เหมือนมันหัดเรียนกับครู แต่ก็เป็นเรื่องที่ดี ให้หมอลำจะอยู่ยืนยงคู่คนอีสานกับคนไทยต่อไป”

ดร.ราตรี ศรีวิไล บงสิทธิพร
ราชินีหมอลำซิ่ง และแม่ครู ศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยแม่ครูราตรีศรีวิไล ด้านศิลปกรรมการแสดงพื้นบ้าน

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

4 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 month ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 month ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago