“อากงของผมเป็นคนจีนแต้จิ๋วที่อพยพมาตั้งรกรากที่พิษณุโลก เริ่มจากเป็นจับกังที่ท่าเรือ และได้เป็นผู้ช่วยกุ๊กที่รถเสบียง นั่นทำให้อากงได้เจอกับอาม่าที่เป็นลูกของเจ้าของร้านขายยาแผนโบราณที่ลำปาง อากงก็แต่งงานและพากลับมาที่พิษณุโลก โดยเปิดร้านขายของชำชื่อ ซุ่นฮะฮวด
อาม่าเป็นคนมีต้นทุนเรื่องการทำอาหารและสมุนไพรจีน ก็ถ่ายทอดให้แม่ผมต่อมา โดยอาม่าเคยเปิดร้านอาหารเล็กๆ อยู่พักหนึ่ง แต่รุ่นพ่อกับแม่ผมทำร้านโชห่วยและไปได้ดี เลยไม่ได้คิดถึงการเปิดร้านอาหารเลย
พวกเราเป็นรุ่นสามของบ้าน ธุรกิจแรกๆ ก็ราบรื่นดีครับ โดยนอกจากขายของหน้าร้าน เราก็ได้ส่งวัตถุดิบประกอบอาหารให้ตามภัตตาคารและโรงแรมทั่วเมืองพิษณุโลก จนกระทั่งมาปี 2540 เจอวิกฤตฟองสบู่ ธุรกิจโรงแรมเลยเจ๊งกันระนาว ลูกค้าเราก็หายไปด้วย จึงต้องปรับเปลี่ยนธุรกิจ ความที่เรามีความเชี่ยวชาญเรื่องทำของไหว้เจ้าอยู่แล้ว เลยหันมาเน้นการขายของไหว้เจ้า เพราะร้านก็อยู่ใกล้กับศาลเจ้าปุ่นเถ่ากง-ม่าในตลาดใต้ ทำธุรกิจนี้ไปอีกพักใหญ่ กระทั่งช่วงหลังๆ คนนิยมไหว้เจ้าลดลง เราจึงขายของยากขึ้น จนมาคุยกันในครอบครัวอีกรอบว่าเราจะปรับเปลี่ยนธุรกิจไปทางไหนดี และความคิดเรื่องการทำร้านอาหารจีนก็เกิดขึ้น
อย่างที่บอก เราได้สูตรอาหารแต้จิ๋วมาจากอาม่าซึ่งถ่ายทอดมายังแม่ผม ผมจึงไปถามแม่ว่าจำสูตรอาหารที่อาม่าสอนได้ไหม แม่บอกว่าจำได้ โดยเฉพาะเมนูติ่มซำที่มีความเฉพาะตัว ผม ภรรยา และแม่ เลยรื้อฟื้นสูตรอาม่ามาทำเมนูอาหารของร้าน โดยคิดถึงรูปแบบภัตตาคารที่มีเมนูหลักเป็นติ่มซำปั้นสด เพราะติ่มซำทานได้ทุกเพศและวัย และเหมาะกับกินคู่กับน้ำชา เป็นการพบปะสังสรรค์แบบคนจีนโบราณ
ติ่มซำของเราปั้นสดทุกวัน จึงให้รสและสัมผัสที่ดีกว่าติ่มซำแบบแช่แข็งแล้วมาอุ่น ซึ่งก็ง่ายต่อการบริหารสต็อกด้วย เพราะเราจะซื้อวัตถุดิบมาปั้นใหม่วันต่อวัน นอกจากนี้ก็มีเมนูอย่างก๋วยเตี๋ยวเข่ง ซึ่งเรามองว่าเป็นบรรพบุรุษของก๋วยเตี๋ยวหลอด เพียงแต่เราจะเสิร์ฟแยกเส้นและแยกไส้มาเลย
กุ้งสามเซียนเป็นอีกเมนูแนะนำ เราจะใช้กุ้งตัวใหญ่มาพันกับหมี่ซั่ว หลายคนอาจยังไม่ทราบว่านอกจากกล้วยตาก พิษณุโลกเรามีหมี่ซั่วที่อร่อยและขึ้นชื่อมาก โดยมีคนทำเส้นหมี่ซั่วเจ้าเก่าแก่ที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น เส้นของเขาจะนุ่ม ผัดแล้วไม่เละ เราก็ใช้หมี่ซั่วของเขามาทำเมนูหลายอย่าง เช่น หมี่ซั่วทรงเครื่อง และโกยซี่หมี่ ซึ่งเมนูหลังเราใช้หมี่ซั่วแทนหมี่เหลืองซึ่งเราพบปัญหาว่าหมี่เหลืองผัดไปแล้วมันยังมีกลิ่นโซดาติดมาจางๆ พอใช้หมี่ซั่วมาแทน ก็ได้ความหอมและนุ่ม หมดปัญหานี้
นอกจากนี้ก็ยังมีเมนูกวงเจียง เป็นเมนูประเภทอาหารว่างในกลุ่มคนจีนแต้จิ๋ว และจะค่อนข้างนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายในช่วงเทศกาลกินเจ หรือคนไทยจะเรียกกันคือขนมหัวผักกาด-เผือก รวมถึงเมนูอื่นๆ อย่าง ข้าวต้มเสิร์ฟกับกับข้าว โจ๊ก ข้าวผัด และที่สำคัญคือน้ำชา ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่เราพิถีพิถันมากๆ
ซุ่นฮะฮวดแปลว่า อยู่เย็นเป็นสุข มั่งคั่ง ครับ เราเปิดร้านนี้มาได้ 5 ปีแล้ว แต่ถ้านับรวมชื่อร้านที่เปิดมาตั้งแต่รุ่นอากงในอาคารหลังนี้ ก็เป็น 100 ปีแล้ว ก็หวังให้ร้านนี้เป็นอีกร้านที่อยู่คู่เมือง เป็นร้านที่คนพิษณุโลกมาฝากท้อง และใครที่มาเยือนพิษณุโลก ต้องมาที่ร้านเราให้ได้”
จิรันธนิน และภิญญาพัชญ์ พุทธิธนาเศรษฐ์
เจ้าของร้านซุ่นฮะฮวด
https://www.facebook.com/Seunhahhuad/
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…