หาดใหญ่เป็นแมว 9 ชีวิต ช่วงโควิด-19 ใครต่อใครบอกว่าหาดใหญ่ตายแล้ว แต่คุณลองกลับมาดูตอนนี้สิ

“โอเดียนเป็นห้างสรรพสินค้ารายแรกๆ ของหาดใหญ่ เริ่มจากการที่เพื่อนผู้ประกอบการในย่าน 10 คน รวมตัวกันเพื่อจัดสรรพื้นที่ขายของภายในอาคารหลังเดียว ใครถนัดอะไรก็ขายสิ่งนั้น บางคนดีลเครื่องเขียนมาขาย กางเกงยีนส์ เสื้อผ้าผู้หญิง และซูเปอร์มาร์เก็ต เราเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2524 โดยตั้งพื้นที่อยู่ตรงข้ามศูนย์การค้าในปัจจุบัน จนปี พ.ศ. 2535 ก็ย้ายมาเปิดอยู่ในอาคารสูง 9 ชั้น ตรงพื้นที่ปัจจุบัน

ชื่อโอเดียนมาจากชื่อของโรงภาพยนตร์โอเดียน ซึ่งเคยตั้งอยู่ในพื้นที่ของเรามาก่อน พอโรงหนังปิดตัว พวกเราเห็นว่าชื่อนี้ติดไปกับพื้นที่แล้ว จึงตั้งชื่อห้างสรรพสินค้าเช่นนั้น โดยที่ดินของห้างสรรพสินค้าเป็นของลูกหลานของพระเสน่หามนตรี นายอำเภอคนแรกของหาดใหญ่ ถนนที่อาคารตั้งอยู่ก็มีชื่อว่าเสน่หานุสรณ์ ซึ่งตั้งตามชื่อของท่าน


จุดเด่นของเราคือทำเลที่อยู่ใจกลางเมือง ทำให้ทั้งคนหาดใหญ่ นักท่องเที่ยว และหน่วยงานที่มาหาดใหญ่เพื่อสัมมนาและพักโรงแรมโดยรอบ สามารถเดินมาซื้อของที่เราได้อย่างสะดวก เรามีสินค้าหลากหลาย และความที่เป็นห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น จึงมักได้โปรโมชั่นพิเศษจากแบรนด์สินค้ามากกว่าที่อื่นๆ ส่วนหนึ่งเพราะห้างเราหักเปอร์เซนต์เขาน้อยด้วย ถ้าเทียบกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ซัพพลายเออร์จึงชอบทำโปรโมชั่นกับเรา สินค้าหลายชนิดของเราจึงมีราคาย่อมเยากว่าห้างอื่นๆ

แน่นอนค่ะ ทุกวันนี้เราเจอความท้าทายหลายด้านมาก ทั้งการแข่งขันจากห้างสรรพสินค้าด้วยกันเอง การเข้ามาตีตลาดออนไลน์ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ไม่นับรวมโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบหนักจนทำให้เราต้องปรับลดพื้นที่การขายและพนักงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ความที่โอเดียนมีการบริหารแบบห้างหุ้นส่วน ซึ่งเน้นหลักบรรษัทภิบาล และความจริงใจต่อพนักงาน คู่ค้า และลูกค้า รวมถึงการมีวินัยในการใช้จ่ายและลงทุน นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เราอยู่รอดมาได้จนทุกวันนี้


อธิบายให้เห็นภาพ หาดใหญ่เคยประสบน้ำท่วมหนัก 3 ครั้ง โดยปี 2543 ถือว่าหนักสุด เพราะน้ำท่วมเข้ามาถึงชั้น 1 ของห้าง สูงถึง 60 เซนติเมตร แม้เราจะเก็บสินค้าขึ้นที่สูง แต่ก็ไม่รอดอยู่ดี มีการประเมินความเสียหายเฉพาะสินค้ามากถึง 20 ล้านบาท แต่โชคดีมากที่เราเป็นบริษัทหุ้นส่วน จึงต้องทำประกันภัยไว้ ถ้าโอเดียนมีเจ้าของคนเดียว ก็อาจมีความเสียดายเงินประกัน และถ้าไม่มีประกัน ช่วงเวลานั้นอาจต้องเจ็บหนัก

ขณะเดียวกัน ก็เพราะเรามีความโปร่งใสและจริงใจต่อคู่ค้า หลังน้ำลดและเราทำความสะอาดพื้นที่ ซัพพลายเออร์ทั้งหมดก็ส่งสินค้าใหม่มาให้เราขายพร้อมโปรโมชั่นลดราคาพิเศษช่วยเหลือเรา หรืออย่างล่าสุดที่โควิด-19 ระบาดจนทำให้ย่านใจกลางเมืองหาดใหญ่ฟุบหนักเพราะไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา ร้านค้ารอบๆ เราปิดกิจการกันเป็นปีๆ มีแต่โอเดียน ร้าน Watsons และร้านรังนกที่ยังเปิดอยู่ 3 ร้านในย่านนั้น หาดใหญ่ในช่วงนั้นเลยยังไม่ตายสนิทเสียทีเดียว

จะว่าไปโอเดียนเป็นห้างที่ผ่านวิกฤตร่วมกับคนหาดใหญ่มาหมดแล้วนะ ตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่ โรคซาร์ส เหตุการณ์ความไม่สงบ ไฟไหม้ก็เจอมาแล้ว ล่าสุดก็โควิด-19 นี่ โดยที่ผ่านมา เราหาได้แต่ทำการค้าอย่างเดียว แต่เรายังมีกิจกรรมที่คอยสนับสนุนเมือง และช่วยเหลือผู้คนให้ผ่านวิกฤตแต่ละครั้งมาได้ เช่นล่าสุดที่เราเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการแจกอาหารช่วงโควิด เป็นต้น

สำหรับพี่ ความสำเร็จของการทำห้างสรรพสินค้าคือการทำให้ผู้ขายอย่างเรา พนักงาน คู่ค้า และลูกค้ามีความสุข ทุกคนพึงพอใจกับประโยชน์ที่ได้ จำได้เลยว่าปี 2555 วันแรกที่ร้านกาแฟสตาร์บัคมาเปิดสาขาในโอเดียน และมีลูกค้ามารอต่อคิวซื้อล้นหลามมาก จนค่ำวันนั้นหลังร้านปิด ตัวแทนสตาร์บัคที่กรุงเทพฯ โทรมาบอกเราว่าสาขาที่โอเดียนทำลายสถิติขายดีที่สุดของประเทศ พอได้ยิน เราก็ดีใจไปกับเขาด้วย ดีใจที่เขาวางใจมาเป็นคู่ค้าเรา นี่แหละที่พี่คิดว่าสำเร็จ คู่ค้าเราขายของในที่เราได้ดี ในฐานะเจ้าของพื้นที่ก็ถือว่าเราทำสำเร็จแล้ว

พี่เห็นด้วยนะที่เขาเปรียบเทียบว่าหาดใหญ่เป็นเมืองแมว 9 ชีวิต ในฐานะที่เราเริ่มต้นธุรกิจในยุคสมัยที่การค้าหาดใหญ่รุ่งเรืองที่สุด จนมาถึงยุคซบเซาในช่วงโควิด-19 ที่ใครต่อใครลงความเห็นว่าหาดใหญ่ตายแล้ว แต่คุณมาดูทุกวันนี้สิ พอโควิดซาลง การท่องเที่ยวกลับมา เมืองก็กลับมาคึกคักอีกครั้ง ที่สำคัญ เมืองหาได้คึกคักจากตลาดของหนีภาษีแบบในอดีต แน่นอน มันอาจไม่ฟู่ฟ่าเหมือนแต่ก่อน แต่สิ่งที่เป็นอยู่นี้ก็ยั่งยืนกว่ามาก”


นฤมล อมรรัตน์วิทยา
กรรมการผู้จัดการห้างสรรพสินค้าโอเดียนแฟชั่นมอลล์
 

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago