“หนึ่งในโปรเจกต์สำคัญที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองกำลังเร่งขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้คือการพัฒนาศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจรของจังหวัด ให้สร้างมูลค่าผ่านการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งที่นี่ยังจะเป็นแห่งแรกๆ ของประเทศอีกด้วย
เพราะอย่างที่หลายคนทราบดี ระยองอยู่ในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นเมืองอุตสาหกรรม ผู้ผลิตพลังงาน และผู้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ ของประเทศ ในฐานะ อบจ. ที่กำกับดูแลสาธารณูปโภคต่างๆ ของจังหวัด เราก็ควรใช้จุดแข็งที่เมืองเรามีอยู่แล้วมาช่วยบริหารจัดการให้มีความสมาร์ท สอดคล้องไปกับเมืองและบริบทของการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย
ในเฟสแรกเราได้จับมือกับ GPSC (บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)) อุทิศที่ดินให้เขามาทำโรงคัดแยกระบบปิด เพื่อใช้คัดแยกขยะก่อน จากนั้นเราก็ลงนามกับ อปท. ทั้งหมดในจังหวัด ให้ทุก อปท. นำขยะที่เก็บได้มาส่งให้ศูนย์เรา พร้อมกับที่เราคิดค่าขนส่งในราคาถูกกว่าที่อื่นเพื่อเป็นการจูงใจ
ในเฟสที่สอง GPSC ก็จะทำโรงงานที่รับขยะที่เรารวบรวมมาได้แปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า จากเดิมที่ อบจ.ระยองส่งขยะไปขายที่จังหวัดสระบุรี เราก็มีที่รับขยะและแปรรูปของเราเอง จนได้พลังงานไฟฟ้าที่ใช้เองในเมืองและส่งขายให้กับหน่วยงานต่างๆ ด้วย ขณะเดียวกัน เรายังมีแผนพัฒนารถขนขยะและรถที่ให้บริการสาธารณะของ อบจ. ให้เป็นรถ EV ในอนาคต แต่ก็อยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ และรอความชัดเจนจากนโยบายของรัฐบาลอยู่ พร้อมกันนั้นในศูนย์ดังกล่าว เรายังมีแผนใช้พลังงานโซลาร์เซลล์มาเสริม ทำให้ศูนย์แห่งนี้เป็นศูนย์สีเขียว เป็นที่ศึกษาดูงานในระดับประเทศและนานาชาติ
อบจ. ยังมีแผนจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ยังพื้นที่อื่นๆ ที่เราดูแลด้วย อาทิ อ่างเก็บน้ำดอกกราย เจดีย์กลางน้ำ และแลนด์มาร์คอื่นๆ รวมถึงใช้ระบบคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างรัฐและองค์กรเอกชนในจังหวัด
หรือเรือที่ใช้แล่นนำนักท่องเที่ยวชมป่าโกงกางใจกลางเมือง เราก็คิดว่ามันถึงเวลาต้องเปลี่ยนจากเรือเครื่องยนต์ให้เป็นเรือไฟฟ้าได้แล้ว ไม่ปล่อยคาร์บอน แถมยังไม่สร้างมลภาวะทางเสียงในพื้นที่ป่าด้วย แน่นอนตอนนี้งบประมาณยังสูงอยู่ แต่อย่างที่บอกว่าถ้ารัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนเรื่องนี้จริงจัง อีกหน่อย ทุกหน่วยงานก็อาจเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้ในราคาที่เป็นไปได้เอง
พร้อมกับการทรานส์ฟอร์มการใช้พลังงานในเมืองให้สมาร์ทขึ้น อบจ.ระยองก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อเข้ามาร่วมขับเคลื่อนเมือง เพราะจนทุกวันนี้ ภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดของเราก็ยังต้องการคนมาทำงานอีกเยอะ ซึ่งจะดีมากๆ ถ้าคนที่เข้ามาเป็นลูกหลานชาวระยอง เขาเกิดที่นี่ โตที่นี่ ก็ควรต้องทำงานและรับเงินเดือนสูงๆ ที่นี่ ไม่ใช่ไปหางานทำที่อื่นๆ
ซึ่งสิ่งที่อบจ.ทำได้คือการยกระดับการศึกษาในสถาบันการศึกษาภายใต้สังกัดของเรา โดยเฉพาะในระดับวิทยาลัยเทคนิคซึ่งจะกลายมาเป็นกำลังผลิตสำคัญของเมือง ปีที่ผ่านมาท่านนายก (ปิยะ ปิตุเตชะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง) จัดสรรงบประมาณถึง 650 ล้านบาท สนับสนุนโรงเรียนเพิ่มเติมจากที่กระทรวงศึกษาจัดสรรให้ ขณะเดียวกันเราก็ทำ MOU ให้วิทยาลัยเทคนิคและอาชีวะเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ เพื่อให้เกิดมีการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา อิมพอร์ตองค์ความรู้ใหม่ๆ เข้ามา เช่นเดียวกับการเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาเข้ากับบริษัทต่างๆ
เด็กระยองนี่ถ้าฝึกงานกับบริษัทในระยองเขามีเบี้ยเลี้ยงให้นะครับ จบมาก็มีโอกาสเข้าทำงานในบริษัทหรือโรงงานต่างๆ ในจังหวัดได้เลย เรียกได้ว่าการเรียนในระดับวิชาชีพในระยองนี่ค่อนข้างมั่นคงในระดับหนึ่งเลย
เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่ อบจ. มุ่งมั่นขับเคลื่อน ทำให้เมืองสมาร์ทไปพร้อมกับเทคโนโลยี และทำให้คนรุ่นใหม่ในระยองสมาร์ทไปพร้อมกับเมือง
มนตรี ชนะชัยวิบูลย์
ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…