“หนูชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนอยู่แล้วค่ะ เพราะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่มีในตำราเรียนดี แถมได้ทำกิจกรรมที่ถ้าเป็นปกติก็คงไม่มีโอกาสได้ทำ ถ้าโรงเรียนมีโครงการอะไรมาเสนอให้เราเข้าร่วม ส่วนใหญ่หนูก็เลือกเข้าร่วมหมด
อย่างงานแก่งคอยย้อนรอยสงครามโลกรอบนี้ หนูมาเป็นมัคคุเทศก์อาสา ได้แต่งตัวย้อนยุคและนำนักท่องเที่ยวเข้าชมสถานที่ต่างๆ ในเมือง เช่น วัดแก่งคอย ถ้ำบาดาล ศาลเจ้า และตลาดเก่า สถานที่เหล่านี้อยู่ใกล้โรงเรียนหนูหมดเลย แต่นอกจากเรื่องประวัติศาสตร์ช่วงที่สัมพันธมิตรเอาระเบิดมาลงช่วงสงครามโลกและวัดแก่งคอยเป็นวัดเดียวที่รอดพ้นจากระเบิด หนูก็รู้เรื่องสถานที่อื่นๆ จากห้องเรียนในโรงเรียนน้อยมาก
ดีหน่อยที่หนูมีปู่ที่ชอบพาไปนั่นนี่และเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง พอมาเป็นมัคคุเทศก์อาสาโครงการนี้ ก็เหมือนได้ทบทวนเรื่องเล่าจากปู่ ขณะเดียวกัน พี่ๆ ในโครงการก็ได้ให้ข้อมูลให้หนูรู้เพิ่มเติม เพื่อจะได้นำชมให้แขกบ้านแขกเมืองได้เข้าใจ
ก่อนหน้านี้ก็มีไปร่วมกับโครงการของหอการค้าแก่งคอยและสระบุรีพัฒนาเมืองบ้าง อย่างไปทำเวิร์คช็อปที่พี่ๆ ให้หนูกับเพื่อนๆ ลองดูสินค้าชุมชนเช่น น้ำกระชาย ทองม้วน หรือขนมไทยต่างๆ และคิดกันว่าจะทำแบรนด์ดิ้งหรือมีวิธีสื่อสารสินค้าเหล่านี้ให้ขายได้ในวงกว้างยังไงได้บ้าง หรืองานแถลงข่าวต่างๆ ที่หนูกับเพื่อนๆ ถูกเกณฑ์ไปร่วม ก็ได้ความรู้กลับมาเยอะดี
ซึ่งนอกจากได้ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ในฐานะที่เป็นคนแก่งคอย ก็อยากเห็นบ้านเมืองพัฒนาด้วย อย่างการหาช่องทางยกระดับสินค้าชุมชน หรือการเปิดเมืองให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ถ้าหนูพอช่วยอะไรได้ ก็อยากช่วยค่ะ
ตอนนี้หนูอยู่ ม.5 แล้ว คิดว่าจะเรียนอะไรต่อไป? จริงๆ ฝันอยากเป็นทหารค่ะ เพราะทั้งปู่ พ่อ และพี่ชายล้วนเป็นทหารกันหมด หนูโตมาแบบนี้ก็อยากเป็นบ้าง ก็เอาเรื่องนี้ไปบอกกับที่บ้าน เขาบอกว่าไม่อยากให้เป็น อาจเห็นว่าหนูเป็นผู้หญิงด้วยแหละ เขาอยากให้ไปเรียนเป็นพยาบาลมากกว่า และก็เพราะเหตุนี้ หนูเลยเอาสองอาชีพมารวมกัน โดยตั้งใจจะไปเรียนต่อด้านพยาบาลทหาร เพราะครอบครัวอยากให้เป็นพยาบาล หนูก็เป็นให้ได้อยู่ ส่วนความฝันจะเป็นทหารก็ยังคงทำต่อไปได้
ที่สำคัญ สระบุรีเรามีโรงพยาบาลค่ายอดิสร ที่เป็นโรงพยาบาลทหาร ถ้าเรียนจบออกมา แล้วได้บรรจุที่นั่นก็ดี จะได้อยู่ใกล้บ้านค่ะ”
วันเพ็ญ หร่ำรัศมี
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…