“ปีที่แล้ว ทางโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากรประกาศรับสมัครนักเรียนในราชบุรีให้มาประกวดการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวของเมือง หนูกับเพื่อนอีก 4 คนก็รวมกลุ่มไปสมัคร ตั้งชื่อทีมว่า จาร์ ดรีมเมอร์ (Jar Dreamer) โดยนำโอ่ง (jar) ที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองมาตั้ง ประมาณว่าเป็นทีมนักฝันที่อยากเห็นเมืองราชบุรีเติบโตไปในแบบที่เราเป็น
ราชบุรีเป็นเมืองที่มีพื้นที่ทางประวัติศาสตร์เยอะมาก ย้อนไปตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังมีโบราณสถานสวยงามที่หลงเหลือมาถึงทุกวันนี้ไม่น้อย โดยเฉพาะวัดมหาธาตุที่หนูชอบ วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าที่มีศิลปะจากยุคสมัยต่างๆ ของบ้านเราซ้อนทับกันอยู่ เวลาเข้าไปในบริเวณวัด เหมือนเราได้ย้อนเวลากลับไปในอดีตจริงๆ ซึ่งจุดเด่นทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ คนส่วนใหญ่ แม้กระทั่งคนราชบุรีเองบางส่วนก็อาจยังไม่รู้เรื่องนี้ หนูก็เลยอยากจะสื่อสารออกไปในวงกว้าง
หลังจากเข้าอบรมและเรียนรู้เรื่องเมืองราชบุรีกับทีมของมหาวิทยาลัยศิลปากร ทีมของเราจึงคิดว่าน่าจะหาวิธีเชื่อมต่อสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เข้าด้วยกัน จึงเกิดเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวชมพื้นที่ประวัติศาสตร์ แต่จะให้นั่งรถไปชม ก็ไม่น่าสนใจ จึงคิดถึงการล่องเรือในแม่น้ำแม่กลองไปชมจุดต่างๆ เพราะวัดสวยๆ หลายวัดก็ล้วนตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายนี้ ขณะเดียวกันชุมชนตลาดเก่าซึ่งเป็นชุมชนคนจีนดั้งเดิมก็ตังอยู่ริมแม่น้ำ เส้นทางล่องเรือนี้จึงได้ทั้งโบราณสถานและชุมชนที่มีวิถีร่วมสมัยไปพร้อมกัน
ขณะเดียวกัน แม้เมืองเรามีประวัติศาสตร์ที่เล่าได้ไม่หมด แต่พอไปตามสถานที่นั้นจริงๆ กลับมีเครื่องมือในการสื่อสารความหมายน้อย ก็เลยคิดเสริมเข้าไปว่าแต่ละแห่งควรมีนิทรรศการเล็กๆ จัดแสดงข้อมูลที่เชื่อมโยงกับวิถีปัจจุบัน นำศิลปะใหม่ๆ มาปรับใช้เป็นแลนด์มาร์คให้คนมาถ่ายรูป คือมาถ่ายรูปและมาเรียนรู้ไปพร้อมกัน อย่างไปวัด เราก็ไม่ใช่แค่ไปทำบุญไหว้พระอย่างเดียว แต่ยังได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของวัดนั้นๆ หรือศิลปะที่อยู่ในวัดต่างๆ มีความหมายอย่างไร เป็นต้น
ปีนี้หนูอยู่ มอหกแล้วค่ะ เป็นรุ่นพี่ในชมรมโบราณคดีของโรงเรียนเบญจมราชูทิศด้วย ทีมจาร์ดรีมเมอร์ทั้งหมดก็เป็นเพื่อนร่วมชมรมเดียวกัน เรามีความคล้ายกันตรงที่เราเติบโตมาในเมืองที่หล่อหลอมให้เราสนใจเรื่องเก่าๆ ในอดีตเหมือนกัน ขณะเดียวกัน ชมรมโบราณคดีก็ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องในอดีตของเมืองเราอย่างเป็นระบบ
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความฝันอยากเป็นนักโบราณคดี ความที่การเรียนโบราณคดีในระดับอุดมศึกษายังไม่มีช่องทางมากมายนัก หนูจึงตัดสินใจเลือกสอบเข้าเอกภาษาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัยแทน ส่วนโบราณคดีก็อยู่ในความสนใจส่วนตัวต่อไป
ถามว่าฝันอยากเห็นอะไรในบ้านเรา? คือนอกจากอยากเห็นราชบุรีเจริญแล้ว ก็อยากให้ประเทศเรามีพื้นที่ให้อาชีพที่หลากหลายและมีความมั่นคงกว่านี้ เพราะความฝันของคนรุ่นใหม่หลายคนหลากหลายมาก แต่โลกของความเป็นจริงอาจยังไม่ตอบโจทย์ความฝันของพวกเราเท่าที่ควร”
ธนพร พยัฆศิริ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และสมาชิกชมรมโบราณคดี
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…