“ในกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการที่ทางอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรให้เรารวมกลุ่มกับเพื่อน ร่วมกันออกแบบแนวคิดพื้นที่การเรียนรู้ของเมืองราชบุรี พวกเราเห็นตรงกันว่าอยากสร้างแลนด์มาร์คทางศิลปะให้กับเมืองค่ะ
เราตั้งชื่อทีมว่า T.5 New Modern โดยเริ่มจากการวาดแผนที่เมืองราชบุรีพร้อมแลนด์มาร์คของเมืองประกอบเข้าไป อาทิ โอ่งมังกรที่เถ้าฮ่งไถ่ พระพุทธรูปที่เขาแก่นจันทร์และวัดช่องลม สะพานดำ ไปจนถึงผึ้งที่อำเภอสวนผึ้ง และอื่นๆ หลังจากนั้น เราก็ลดขนาดของพื้นที่ให้เล็กลงมา เพราะเห็นว่าสถานที่ท่องเที่ยวดังๆ นั้น นักท่องเที่ยวต่างรู้จักอยู่แล้ว แต่ถ้าเราทำเป็นเส้นทางเดินเท้าในตัวเมือง ก็คงจะน่าสนใจไม่น้อย
อย่างไรก็ตาม เราได้เพิ่มสีสันให้เส้นทางเดินเท้าด้วยการเสนอแนวคิดเรื่องการทำสตรีทอาร์ท และจุดถ่ายภาพตามทางเท้าในเมือง โดยเน้นการทำภาพสามมิติบนทางเท้าหรือบนพื้น เสริมเข้าไปกับจิตรกรรมบนผนังที่มีคนทำอยู่แล้ว เพื่อเป็นการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้เดินเท้าชมเมือง และแวะถ่ายรูปตามจุดต่างๆ
ขณะเดียวกัน เราก็เสนอให้มีกิจกรรมด้านศิลปหัตถกรรมตามจุดต่างๆ เช่น กิจกรรมเรียนรู้การปั้นและเพ้นท์โอ่งมังกร กิจกรรมเรียนรู้ลวดลายผ้าทอคูบัว และอื่นๆ โดยจัดอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี สวนสาธารณะใกล้สะพานดำ และบริเวณเขื่อนริมน้ำในตลาดโคยกี๊ พร้อมกันนั้นก็ให้สถานที่เหล่านั้นเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของเมืองที่มีการออกแบบให้มีความทันสมัยขึ้น เป็นต้น
หนูเกิดและเติบโตที่นี่ ก็อยากเห็นราชบุรีมีเศรษฐกิจดีขึ้น และมีนักท่องเที่ยวเข้ามา อยากให้เป็นเมืองที่คนที่อื่นอยากมาอยู่ที่นี่ เป็นเมืองที่เจริญ แต่ก็ยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของเราไว้อยู่ค่ะ”
ธัญชนก กาสุวรรณ์
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี)
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…