“อยากให้แก่งคอยเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เรามีทรัพยากรที่พร้อมทั้งบุคคล สถานที่ และบรรยากาศ อยากให้เมืองกลายเป็นหนึ่งทางเลือกสำหรับคนเมืองที่คิดอยากมาพักผ่อน”

“พี่เกิดแก่งคอยค่ะ โตมาในเมืองนี้ ได้ไปเรียนที่อื่นอยู่พักหนึ่ง หลังเรียนจบ เพราะเราผูกพันกับบ้านเกิด ก็เลยกลับมาทำงานที่นี่ อยากมีส่วนทำให้บ้านเมืองเราพัฒนา พี่เลยทำงานอยู่เทศบาลเมืองแก่งคอยได้ 30 ปีแล้ว

ถ้าย้อนกลับไปสมัยก่อน ตอนที่พี่กลับมาทำงานที่นี่ใหม่ๆ เงื่อนไขของเมืองแก่งคอยในเชิงสังคมก็ไม่ค่อยต่างจากปัจจุบันนี้นัก เด็กที่เติบโตที่นี่ พอไปเรียนกรุงเทพฯ หรือเมืองอื่นๆ ส่วนใหญ่ก็เลือกจะไปทำงานที่เมืองนั้น น้อยคนจะกลับมาทำงานที่บ้าน เพราะนอกจากงานราชการกับโรงงาน แก่งคอยก็ไม่ได้มีทางเลือกด้านวิชาชีพเท่าใดนัก หรือกระทั่งงานในโรงงานอุตสาหกรรมก็ตาม ถึงแม้จะอยู่ในอำเภอแก่งคอย แต่ทั้งหมดก็ล้วนอยู่นอกเขตเทศบาล พื้นที่เทศบาลแก่งคอยจึงเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ

พอเมืองเรามีแต่ผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ความกระตือรือร้นก็ลดน้อยลง เพราะผู้สูงอายุเขาก็ทำงานมาทั้งชีวิตแล้ว พ่อส่งลูกหลานเรียนจบกันหมด จึงไม่ได้คิดถึงการต่อยอดอะไรมาก ซึ่งก็เป็นธรรมชาติที่เราเข้าใจได้ เมืองเราเงียบสงบดีก็จริง แต่มันก็ขาดชีวิตชีวา ขาดสีสัน รวมถึงธุรกิจใหม่ๆ ที่ช่วยดึงดูดให้ผู้คนมาอยู่อาศัย หรือให้คนรุ่นใหม่กลับบ้าน ก็เป็นเหมือนงูกินหางมาจนถึงปัจจุบัน

เทศบาลเมืองแก่งคอยก็อยากให้คนรุ่นใหม่กลับมาทำงานที่บ้านเกิดแหละค่ะ เพราะคนรุ่นใหม่คือกำลังสำคัญของการพัฒนาเมือง แต่เมื่อความเป็นจริงเรามีกำลังตรงนี้น้อย ท่านนายกเทศมนตรี (สมชาย วรกิจเจริญผล) ก็เลยพยายามผลักดันให้ทรัพยากรบุคคลที่เรามีอยู่แล้ว ช่วยทำให้เมืองน่าอยู่ ซึ่งนั่นก็คือกลุ่มเด็กและเยาวชนและผู้สูงอายุ นั่นจึงเกิดโครงการหรือกิจกรรมที่เราพยายามดึงคนทั้งสองรุ่นมาเจอกัน เชื่อมหน่วยงานต่างๆ มาช่วยสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิดให้เด็กๆ หรือทำโครงการให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วม และช่วยเป็นแรงสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่

โดยเฉพาะเรื่องหลัง (กิจกรรมส่งเสริมผู้สูงอายุ) เทศบาลเราภายใต้การทำงานของกองสวัสดิการสังคมได้ทำ ‘โรงเรียนผู้สูงอายุ’ ขึ้น โดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ของเราอยู่ดีกินดี ได้เข้าสังคม และเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ รวมถึงทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องสุขภาพไปจนถึงกิจกรรมสันทนาการ

ปัจจุบันเรามีนักเรียนที่เป็นผู้สูงอายุประมาณ 70 คน ในแต่ละสัปดาห์โรงเรียนก็จะมีกิจกรรมที่หมุนเวียนให้ผู้สูงอายุที่สนใจเข้าร่วม โดยเฉลี่ยจะมีนักเรียนเข้าร่วมประมาณ 30-40 คน บางสัปดาห์ก็เป็นกิจกรรมออกกำลังกาย บางสัปดาห์เป็นเรื่องอาหารการกิน เป็นทักษะหัตถกรรมสำหรับประกอบอาชีพเสริม รวมถึงทักษะดิจิทัลสำหรับโลกสมัยใหม่ เป็นต้น

ถึงจะบอกว่าเป็นโรงเรียน แต่บรรยากาศการเรียนผ่อนคลายกว่านั้นเยอะ เหมือนชั่วโมงชมรมให้ผู้สูงวัยมาร่วมสนุกกันมากกว่า พวกท่านจะได้ไม่เครียด ไม่ต้องเหงาอยู่บ้าน หรือได้ตระหนักในคุณค่าของตัวเอง เพราะคนวัยเกษียณหลายคน พอไม่ได้ทำงานแล้วอยู่บ้านเฉยๆ บางทีพวกเขาก็คิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า และพอเครียดมากๆ เข้า ก็ส่งผลต่อสุขภาพ กลายเป็นคนป่วยง่าย เป็นภาระให้ลูกหลาน พื้นที่ตรงนี้จึงเหมือนเป็นเครื่องเยียวยาจิตใจของพวกท่านไปพร้อมกัน

ซึ่งพี่ก็ดีใจที่ช่วงหลังๆ ทางหอการค้าแก่งคอย ก็ดี บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด ก็ดี เขาพยายามร่วมกันทำโครงการเพื่อพัฒนาเมือง ด้วยการดึงกลุ่มผู้สูงอายุเข้ามาด้วย อย่างงานแก่งคอยย้อนรอยสงครามโลกที่เป็นงานประจำปีของอำเภอ ทางกลุ่มเขาก็ชวนผู้สูงอายุจากโรงเรียนของเรามาขึ้นเวที บอกเล่าเรื่องราวในอดีตของเมืองแก่งคอยให้ลูกหลานที่นี่ได้ฟัง บางท่านทันเห็นช่วงสงครามโลก ก็เล่าได้เป็นฉากๆ สิ่งนี้ยังสะท้อนต้นทุนทางประวัติศาสตร์ของเมืองเราได้ดีอีกด้วย ในฐานะตัวแทนของเทศบาล พี่ก็ดีใจที่มีกลุ่มภาคเอกชนมาร่วมพัฒนาเมืองกับเราแบบนี้ เพราะต้องยอมรับว่าเทศบาลทำฝ่ายเดียวไม่ไหว ไหนจะระบบระเบียบราชการที่ทำให้การดำเนินงานล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น อันนี้ไม่รู้พูดได้หรือเปล่า ทุกวันนี้เทศบาลเราใช้รถขนขยะคันเก่ามากว่า 30 ปีแล้ว รถคันเดิมทำหน้าที่ต่อไปแทบไม่ไหวแถมยังสร้างมลภาวะให้กับเมืองด้วย ท่านนายกฯ มีแผนจะของบประมาณเพื่อซื้อรถขยะใหม่ ก็ต้องทำเอกสารไปยื่นส่วนกลางหลายรอบมาก จนผ่านมา 2 ปีแล้ว เรายังไม่ได้รถขยะเลย ทั้งที่จริงๆ นี่เป็นสิ่งพื้นฐานสำหรับการบริหารจัดการเมืองที่สุดแล้ว

นั่นแหละค่ะ พี่จึงมองว่าการร่วมมือกับเอกชนที่มีมุมมองไม่ติดกรอบราชการและมีความคล่องตัว จะช่วยทำให้เมืองเราพัฒนาได้ดีกว่าที่เป็นอยู่มาก 

ถามว่าอยากเห็นแก่งคอยพัฒนาไปในทิศทางไหน? พี่ขอตอบจากต้นทุนที่เรามีและจากการที่ทำงานกับผู้สูงอายุ พี่ว่าแก่งคอยน่าจะเติบโตเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพราะนอกจากเรามีกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นเหมือนฐานความรู้เกี่ยวกับเมือง ประวัติศาสตร์ และด้านการดูแลร่างกายต่างๆ เรายังมีทรัพยากรที่พร้อมทั้งวัด แม่น้ำ และแหล่งธรรมชาติที่อยู่รอบเมือง รวมถึงบรรยากาศผ่อนคลายไม่เร่งรีบ การมาเยือนแก่งคอย เหมือนได้มาพักผ่อนกับวิถีชุมชนและธรรมชาติ ที่สำคัญ เราอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เพียงขับรถชั่วโมงกว่าเท่านั้น ก็อยากให้เมืองกลายเป็นหนึ่งทางเลือกสำหรับคนเมืองที่คิดอยากมาพักผ่อน”     

พรเพ็ญ เทพสนธิ
รองนายกเทศมนตรีเมืองแก่งคอย

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago