“พื้นที่ของขลุงมี 3 พื้นที่ เดิมทีคนไทยเราอยู่ตามริมคลองขลุง ตั้งแต่ถนนสุขุมวิทไล่มาจนถึงแยกบ้านขลุง รีสอร์ท ชุมชนคนจีนอยู่ในตลาด คนเวียดนามอยู่โซนบ้านล่าง ซึ่งแต่ก่อนเขากีดกันกันหมด คนเวียดนามไม่มีน้ำจืดกิน ต้องเดินมาตักน้ำ ไม่แลกปลากุ้ง เลยทำให้วัฒนธรรมความผูกพันมีก็จริงแต่ไม่ได้ลึกซึ้งนัก ตัวผมเองเข้ามาโครงการพื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้ คือเป็นจิ๊กซอว์ตัวหนึ่ง แม่ผมเป็นคนขลุงพื้นถิ่นที่นี่ มีเชื้อสายชองมาพัวพันด้วย พ่อผมเป็นลูกจีนกับลูกเวียดนามผสมกัน เป็นคาทอลิก ผมเป็นลูกเสี้ยวละ เป็นพุทธ เลยผสมวัฒนธรรมของจีน ไทย คาทอลิก รู้ว่าวัฒนธรรมมันเกิดขึ้นมาได้ยังไง เกิดมาจากคนเปลี่ยนแปลง ความเป็นไทย ความเป็นคาทอลิก แล้วผมเข้าไปคุยกับชาวบ้านในแต่ละกลุ่มได้หมด ชุมชนประชาร่มเย็นก็เป็นชุมชนคนไทยเก่าที่ไม่ได้ร่ำรวยนะ แต่ถ้าริมคลองขลุง ตรงสี่แยกโรงเจขึ้นไปถึงถนนสุขุมวิทซีกซ้ายทั้งหมดเป็นชุมชนเก่า ซึ่งมีประวัติศาสตร์ มีซากปรักหักพังของเมืองขลุงอยู่ บ้านเก่า หน่วยงานเก่า โรงเจมาสร้างทับไป แล้วตั้งแต่ริมสุขุมวิทมาถึงริมคลองจะเห็นบ้านใหญ่โตเป็นสิบๆ หลัง ตระกูลคนไทยที่มาอยู่ก็เกิดขึ้นมาจากริมคลองนี่แหละ
ผมมองเรื่องการเจริญเติบโตบนพื้นฐานความเป็นประวัติศาสตร์เมืองขลุง แต่ก็ไม่มีใครทำ ตอนทีมวิจัยเข้ามาจัดประชุมกลุ่ม ยิงคำถามว่า อยากให้ใครมาเที่ยวขลุง ขลุงมีอะไรดี ส่วนใหญ่บอกว่าอาหารทะเล แต่ผมบอกว่าข้าว อ้าว ขลุงมีข้าวด้วยเหรอ นี่ไง ไม่รู้ เพราะมันสูญพันธุ์ไปแล้ว ที่นั่งๆ กันอยู่ นาข้าวทั้งนั้น เรียก ข้าวสองน้ำ เป็นน้ำจืดน้ำเค็ม ซึ่งที่ผมโปรโมตว่าข้าวคือจุดเด่น อยากทำให้เป็นสินค้าตัวหนึ่งที่แตกต่าง ด้วยเหตุที่ว่าพื้นที่หรือภูมิทัศน์ของแต่ละที่บ่งบอกถึงผลผลิต กลิ่น รสชาติ ซึ่งจะแตกต่างกัน แต่พอไม่ได้รับการส่งเสริม มันก็หายไป กลายเป็นว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องซื้อข้าว สมัยก่อนน้ำก็ไม่ต้องซื้อ มีน้ำกิน ทุกวันนี้ต้องซื้อน้ำ เอาแค่สองอย่างนี้ก็ทำให้ลำบากกันหมด
คนที่ยังมีชีวิตอยู่ปัจจุบันเขาบอกว่า ถ้าพูดถึง เมืองขลุง มันคือพื้นที่ 3.18 ตารางกิโลเมตรในเขตเทศบาลเมืองขลุงเองนะ ถ้าโฟกัสเมืองแห่งการเรียนรู้ที่รวมตำบลตะปอนมาก็ต้องเป็นอำเภอขลุง แบ่งตามพื้นที่การปกครอง ไม่ต้องใช้คำว่า เมืองขลุง เพราะประวัติศาสตร์เมืองขลุงเขารู้ว่าอยู่ตรงศาลหลักเมือง โครงการพื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้ก็ดี ไปกระตุ้นจิตสำนึกวัฒนธรรมความเป็นรากเหง้าเรา ให้เด็กรุ่นใหม่ได้เห็นอะไรบ้าง เพียงแต่ติดเรื่องคนมาสานต่อ ไม่ให้ขาดช่วง ความเป็นเมืองขลุงดูเหมือนน่าจะมีอะไร แต่ตัวผู้นำท้องถิ่นยังไม่ได้รวบรวม ข้อมูลกระจัดกระจาย เหมือนเราดึงเทศบาลมาได้ละ พอหมดชุดปุ๊บ ว่ากันใหม่ วนไปอย่างนี้”
ศราวุธ เจียไพบูลย์
ประธานชุมชนประชาร่มเย็น เทศบาลเมืองขลุง
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…
“ก่อนหน้านี้เราเป็นสถาปนิก และกระบวนกรจัดประชุมสัมมนาด้านวิชาการ โดยหลัก ๆ จะอยู่เชียงใหม่ ช่วงปี 2562 เรากลับลำพูนและเห็นเทศกาล River Festival Lamphun ริมแม่น้ำกวง รู้สึกตื่นตามาก ๆ ไม่เคยคิดว่าเราจะได้เห็นโชว์แสง…