“อาตมาเป็นคนสมุทรสาคร บวชอยู่กรุงเทพฯ ได้ 6 ปี ช่วงปี พ.ศ. 2514 พระอาจารย์ว่วยจง เจ้าอาวาสวัดฉื่อฉาง ถึงแก่มรณภาพ อาตมาจึงเดินทางมาหาดใหญ่เป็นครั้งแรกเพื่อร่วมงานศพ และช่วยดูวัดนี้ต่อ จนปี พ.ศ. 2517 เขาก็ให้เป็นเจ้าอาวาส จึงต้องอยู่ที่วัดแห่งนี้ไม่ได้ไปไหนตั้งแต่นั้น
ฉื่อฉางเป็นคำภาษาจีนเพี้ยนมาจาก ‘ฉื่อซ่านซื่อ’ แปลว่าเมตตากรุณา แต่เดิมที่นี่เป็นศาลเจ้าลื่อโจ๊ว ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 โดยพ่อค้าชาวจีนที่มาทำการค้าที่หาดใหญ่ ก่อนจะมีการยกสถานะเป็นวัดในปัจจุบัน
ตอนอาตมามาอยู่ที่นี่ใหม่ๆ หาดใหญ่ยังไม่พลุกพล่านเหมือนทุกวันนี้ บ้านเรือนยังเป็นไม้มุงจาก ส่วนวัดก็เป็นเรือนไม้ชั้นเดียวมุงกระเบื้องข้าวหลามตัด ถนนหนทางหลายสายยังเป็นลูกรัง และน้ำก็ท่วมเข้ามาในเมืองบ่อย ปี พ.ศ. 2531 หาดใหญ่มีน้ำท่วมใหญ่เข้ามาครึ่งวัด อาตมาต้องย้ายไปอยู่บนชั้นสองของบ้านไม้ที่อยู่ด้านหลังอยู่พักใหญ่ จนน้ำลดอาคารของวัดก็โทรมจนแทบไม่เหลือสภาพเดิม
วัดฉื่อฉางได้รับการบูรณะหลังจากน้ำท่วมครั้งนั้น เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 4 ชั้น อาตมาเป็นคนคุมการก่อสร้างเอง โดยเปิดตำราสถาปัตยกรรมวัดจีน และมาคัดดูว่าอันไหนเหมาะกับของเราบ้าง ส่วนกระเบื้องที่โยมเห็นอาตมากับญาติโยมก็ช่วยกันออกแบบลวดลาย ใช้ช่างกระเบื้องที่เป็นคนหาดใหญ่เผาและทำให้นี่แหละ แต่ก็ลองผิดลองถูกอยู่นานกว่าจะติดตั้งได้ครบอย่างที่เห็น
สังเกตดูก่อนจะเข้ามา บริเวณรั้ววัด อาตมาได้ให้ช่างถอดแบบภาพถ่ายเก่าของเมืองหาดใหญ่ในยุคสมัยต่างๆ มาเป็นลวดลายกระเบื้อง สะท้อนภาพของการเปลี่ยนผ่านของเมืองเมืองนี้
หาดใหญ่มีน้ำท่วมใหญ่อีกครั้งตอนปี 2543 และหลังจากนั้นในหลวงรัชกาลที่ 9 ก็รับสั่งให้มีการขุดคลองระบายน้ำรอบเมืองเพิ่มเติมจำนวน 7 สาย หลังจากนั้นน้ำจากทางปัตตานีและสะเดาก็ไม่ไหลเข้าท่วมเมืองหาดใหญ่อีก น้ำก็ไม่ท่วมเข้าวัดอาตมาด้วย
วัดฉื่อฉางเป็นศูนย์รวมใจของคนไทยเชื้อสายจีนในหาดใหญ่ ทุกปีเราจะจัดเทศกาลตรุษจีน สารทจีน ทิ้งกระจาด กินเจ และอื่นๆ ซึ่งไม่เพียงคนในท้องที่ แต่นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงคโปร์ก็มาร่วมด้วย โดยวัดอาตมาจะเน้นการสวดมนต์ ไม่มีการประทับทรง
ปีนี้อาตมาอายุ 84 ปีแล้ว อยู่หาดใหญ่จนเห็นความเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง ตั้งแต่ยุคที่เมืองพลุกพล่านมากๆ มาจนถึงเงียบสนิทจนไม่มีใครมาเข้าวัดเลยในช่วงโควิด อาตมาแก่แล้ว จึงไม่ได้มีมุมมองอะไรต่ออนาคตของเมืองนัก แต่ในฐานะที่เราอยู่ที่นี่ ก็พร้อมต้อนรับญาติโยมที่มาวัด ทั้งมาไหว้พระ หรือมาปรับทุกข์ ก็จะช่วยเท่าที่อาตมาจะช่วยได้”
พระอาจารย์จีนธรรมมานุกร (เย็นเฮ้า)
เจ้าอาวาสวัดฉื่อฉาง
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…