“แม่เจ๊เคยขายก๋วยเตี๋ยวตอนเช้า และตอนบ่ายก็ขายเต้าหู้ทอดที่ตลาดเช้ามาก่อน แต่เขาเสียชีวิตไปแล้ว พอดีกับลูกเจ๊เรียนจบและทำงานในกรุงเทพฯ กันหมด เจ๊ก็เลยกลับมาอยู่บ้านที่พิษณุโลก และเช่าล็อคขายขนมปังหน้าหมู เผือกทอด เต้าหู้ทอด โดยประยุกต์สูตรของแม่มาอีกทีหนึ่ง ขายอยู่ตลาดใต้ฝั่งริมน้ำน่าน ขายมา 10 กว่าปีแล้ว
ปกติก็ออกจากบ้านตี 4 เกือบตี 5 จัดร้านเสร็จ 7 โมงเช้า ขายถึงสัก 10 โมงก็หมด โดยบางส่วนก็เอาไปฝากขายที่ร้านก๋วยเตี๋ยวเจ๊ลี่ ตรงถนนบรมไตรโลกนาถ
เจ๊ทำคนเดียว ไม่มีผู้ช่วย คั่วถั่ว ทำน้ำจิ้ม หั่นผัก ทอดเต้าหู้เองหมด เราเป็นคนเรื่องเยอะ เพราะอยากทำออกมาให้ดีที่สุด พวกวัตถุดิบจึงต้องพิถีพิถัน เรากินแบบไหน ก็จะขายให้ลูกค้ากินแบบนั้น เวลาเตรียมของขายจึงนานหน่อย
อย่างกระบวยตักน้ำจิ้มที่ใช้เป็นกะลาแบบนี้ เพราะถ้าใช้สแตนเลสตักเนี่ย นานๆ เข้าพวกมะขามกับน้ำส้มสายชู มันจะกัดสแตนเลส ปนเปื้อนลงน้ำจิ้ม ถั่วดำเราก็ซื้อมาต้มเอง ไม่ซื้อที่ต้มแล้ว เพราะไม่รู้เขาต้มดีหรือเปล่า และเอาถั่วดีมาต้มให้เราหรือเปล่า หรือเมื่อก่อนเจ๊ขายเมี่ยงลาวกับข้าวตังหน้าตั้งด้วยนะ แต่พอเจ๊หาวัตถุดิบจากพิษณุโลกไม่ได้แล้ว ก็เลยหยุดขายไปก่อน ไม่อยากสั่งจากที่อื่นมาโดยไม่เห็นของ
เจ๊มีความสุขนะที่เห็นลูกค้ามากินแล้วบอกอร่อย ก็มักจะกำชับลูกค้าว่าอย่าทิ้งไว้นาน เดี๋ยวเต้าหู้ไม่กรอบ ส่วนมากก็เป็นลูกค้าประจำทั้งนั้น คนในตลาด คนในตัวเมืองพิษณุโลก และพวกอาจารย์ พนักงาน และนักศึกษา ม.นเรศวร ก็มาซื้อกินเราเยอะ
ถามว่าไปร่วมโครงการอะไรกับเขา (โครงการย่านเก่าเล่าเรื่องฯ) ส่วนใหญ่ก็ไปฟังเสวนาที่เขาจัดที่ศาลเจ้านะ เราเห็นทีมงานเขาตั้งใจดีมาก แถมยังช่วยเราโปรโมทร้านด้วยการทำเพจเฟซบุ๊ค ซึ่งก็ช่วยได้มากเลย มีลูกค้าใหม่ๆ เข้ามา หรือถ้าภายในตลาดมีปัญหาอะไร ก็ใช้เพจนี้แหละช่วยสื่อสารเพื่อหาทางแก้ปัญหา
ก็อยากให้ตลาดเราดีกว่านี้ ไอ้เรื่องขายดีน่ะ สำหรับเจ๊ ไม่ค่อยห่วงหรอก เพราะเรามีลูกค้าประจำอยู่แล้ว และเราก็ขายเท่าที่จะขายไหว แต่ก็อยากให้เทศบาลมาจัดระเบียบให้ดีกว่านี้ คุณดูสิ ที่นี่เป็นตลาดเทศบาล 1 ตลาดแรกของพิษณุโลก บรรยากาศมันมีความดั้งเดิมก็จริง แต่ข้างในมันก็ยังอิรุงตุงนัง เขียงหมูขายติดกับร้านเสื้อผ้า ตกกลางคืนก็มีคนมานอน ความสะอาดก็ยังต้องปรับปรุง อยากให้เหมือนตลาดบ้านคลองเขาน่ะ ที่นั่นพอจัดโซนเรียบร้อย มันเลยเป็นระเบียบ และดูสะอาด มันก็น่าเดิน ลูกค้าก็มาเยอะ”
เจ๊อุ๊-จารุนันท์ แซ่เฮง
ร้านเผือกทอดเจ๊อุ๊
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…