“ผมเป็นเจ้าของคณะสิงโต เห็นลูกหลานชอบดูและอยากเชิดสิงโต ผมเลยทำหัวสิงโตขนาดเล็กให้พวกเขาได้เล่น ต่อมาก็มีคนมาขอซื้อ แล้วเสียงตอบรับดีมาก จึงกลายเป็นธุรกิจครอบครัวไปเลย ตอนนี้ทำมาได้ 4-5 ปีแล้ว สิงโตที่ผมทำเรียกสิงโตกวางตุ้งของคณะกว๋องสิว คนปากน้ำโพจะไม่คุ้นคำว่าสิงโตกวางตุ้ง เท่ากับคำว่าสิงโตกว๋องสิว ต้นฉบับเป็นหัวสิงโตที่ชาวจีนกวางตุ้งที่ก่อตั้งสมาคมกว๋องสินในเมืองนครสวรรค์ประดิษฐ์ขึ้น ใช้แห่ในงานประเพณีตรุษจีนมา 100 กว่าปีแล้ว เชื่อกันว่านี่คือหัวสิงโตกวนกง หรือหัวสิงโตของเทพเจ้ากวนอู ใบหน้าของสิงโตจึงมีสีแดง เป็นสัญลักษณ์ของความจงรักภักดี ความเที่ยงธรรม และความกล้าหาญของเทพเจ้ากวนอู
เด็กๆ นครสวรรค์เติบโตมากับมังกร สิงโต และเอ็งกอ ซึ่งไม่ใช่จากพิธีกรรม แต่เป็นจินตนาการ ทำให้พวกเขาอยากเข้ามามีส่วนร่วม หรืออยากเป็นคนเชิด ซึ่งสิ่งนี้เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญว่าทำไมประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่จึงได้รับการสืบสานมาเป็นร้อยปี
ตอนผมทำหัวสิงโตขนาดเล็กให้ลูกหลานเล่น ก็ไม่ได้คิดหรอกว่าจะต้องทำขาย เหมือนเราเคยทำหัวใหญ่มาก่อน ก็ลองทำเล็กๆ สัก 9 หัวดู มีคนมาเห็นลูกหลานเราเชิด เขาก็เลยมาขอซื้อให้ลูกเขาไปเล่นด้วย ไปๆ มาๆ ครูที่โรงเรียนมาเห็น เขาก็ขอซื้อไปเป็นสื่อประกอบการเรียน มีการแข่งขันเชิดสิงโตเยาวชนชิงรางวัลด้วย เขาก็มารับจากเราไป
ผมไม่รู้ว่าเขาไปเรียนการเชิดสิงโตจากไหนนะ ก็น่าจะดูจากขบวนแห่ หรือไม่ก็ดูจากยูทูปกันมากกว่า อย่างคณะสิงโตเขาไม่มีกิจกรรมเปิดคอร์สการสอนหรอก เพราะคนเชิดส่วนใหญ่เขาก็ประกอบอาชีพอื่นกัน จะมารวมตัวกันซ้อมก่อนมีพิธีแห่เท่านั้น
แต่ถึงบอกว่าผมทำสิงโตกว๋องสิวจำลอง แต่หลายๆ ตัวก็ไม่ได้เหมือนต้นฉบับหมดหรอกครับ ก็ปรับไปตามความต้องการของลูกค้า หรือวัตถุดิบที่เรามี มีสีเขียว เหลือง ขาว ดำ แดง บางตัวก็ทาสองสี บางตัวก็สามสี ขาวล้วนก็มีครับ แต่ไม่แนะนำ เพราะเชิดไปไม่นานแล้วจะเปื้อน (หัวเราะ)
ภูมิใจไหมที่เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสืบสานวัฒนธรรมส่งต่อไปถึงเด็กๆ ผมอาจจะไม่ได้คิดถึงขนาดนั้น แค่คิดว่าทำของเล่นให้พวกเขาได้เล่นสนุกและได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน แค่นั้นก็ดีใจแล้ว และขณะเดียวกันสิ่งนี้ก็กลายเป็นธุรกิจที่เลี้ยงครอบครัวเราได้ด้วย”
นิกร ศรีนิล และวิพารัตน์ เทียมจันทร์
คนทำหัวสิงโตกวางตุ้ง
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…