“เมื่อกว่า 200 ปีก่อนตรงศาลเจ้าเป็นแหล่งเทียบท่าของเรือสำเภาจีน ช่วงแรกมีชาวฮกเกี้ยนอัญเชิญรูปปั้นเทพเจ้ากวนอูองค์เล็กเข้ามาประทับในเก๋งจีน ให้ประชาชนได้กราบไหว้ บูชาขอพร เป็นจุดเริ่มต้นของศาลเจ้าพ่อกวนอูในปี พ.ศ. 2279 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตอนนี้ศาลเจ้ามีอายุ 286 ปีแล้ว มีการชำรุดทรุดโทรมและบูรณะศาลเจ้าหรือเก๋งจีนให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยมา สมัยรัชกาลที่ 1 อัญเชิญเทพเจ้ากวนอูองค์กลาง มาประดิษฐานเป็นองค์ที่สอง ติดตั้งป้ายชื่อ “กวง ตี โกว เปี่ย” ซึ่งป้ายนี้ยังเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้าปัจจุบัน ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 2 ได้อัญเชิญเทพเจ้ากวนอูองค์ที่สาม องค์ขนาดใหญ่สุดมาประดิษฐาน และบูรณปฏิสังขรณ์ศาลให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นที่มาของเทพเจ้ากวนอูทั้งสามองค์ของศาลเจ้า บูรณะซ่อมแซมอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนชื่อศาลเจ้าเป็น “บู้ เจี่ย เบี่ย” ที่ใช้เป็นชื่อเรียกมาจนถึงปัจจุบัน จนสมัยรัชกาลที่ 9 บูรณะซ่อมแซม ปิดทอง ทาสีศาลเจ้าใหม่ทั้งหมด จนปี พ.ศ. 2536 ศาลเจ้าเกิดรั่วตรงที่ประดิษฐานเทพเจ้ากวนอู จึงได้ปิดปรับปรุงซ่อมแซม และสร้างเก๋งจีนอีกหลังตรงริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแต่เดิมใช้เป็นโรงแสดงงิ้ว
แต่ก่อนข้างหน้าก็มีสุเหร่า แต่รื้อไปแล้ว มีคนจีน ไทย อิสลาม คนสามศาสนาอยู่และร่วมมือร่วมใจกันมาตลอด สมัยก่อนรถเข้าไม่ได้ ต้องเดินหรือนั่งเรือมา เวลามีงานประจำปีจะไปบริจาคทรัพย์สินก็ลงเรือไปบริจาคไปช่วยงาน ศาลเจ้าเองไม่ค่อยมีใครรู้จัก เข้ามายาก เดี๋ยวนี้เป็นคนทั่วประเทศทั่วโลกเลยก็ว่าได้ที่มา ผมเข้ามาพัฒนาเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน สร้างเก๋งท่าน้ำขึ้นมา คนก็เห็น พอเห็นแล้วก็อยากเข้ามา แล้วสวนสมเด็จย่าก็สร้างเสร็จ คนก็รู้ว่าเข้ามาได้แล้ว ก็เข้ามาสวนสมเด็จย่าแล้วก็เลยเข้าไปศาลเจ้า ศาลเจ้ากวนอูเน้นเรื่องคุณธรรม มีอักษรภาษาจีนสองข้างว่า หยี่ คือคุณธรรม และ ตง คือ ซื่อสัตย์ กวนอูจะเน้นคุณธรรมกับซื่อสัตย์ คนมาไหว้ขอหวยอะไรจะไม่ได้ผล แต่ถ้าค้าขาย รุ่งเรือง ลูกหลานจะไปเข้าที่ไหน เป็นคนดี ซื่อสัตย์ กตัญญู จะได้เพราะท่านอยากให้ทำงาน หลังๆ มาคุกเข่าขอพรกับองค์กวนอูจำลองที่ตั้งอยู่ข้างๆ คือเอาโฉนดที่ถ่ายเอกสารมาให้เจ้าพ่อช่วยขาย สำเร็จ เป็นที่ร่ำลือ คนก็เข้ามาตรงนี้เยอะ
ศาลเจ้ากวนอูนี้เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ปีหนึ่งๆ มีจัดงาน 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 ง่วนเซียว คือสมัยก่อนคนจีนที่อยู่ก็ฉลองตรุษจีนกันจนถึงวันสุดท้าย แล้วเป็นเทศกาลโคมไฟด้วย งานที่ 2 ฉลองวันเกิดเทพเจ้ากวนอู แต่ที่นี่ไม่ได้จัดเป็นงานวันเกิดเทพเจ้า แต่จัดเป็นงานของ กวงเพ้ง ลูกชายเทพเจ้ากวนอู งานที่ 3 ซิโกว งานเทกระจาดให้สัมภเวสีรับส่วนบุญ งานที่ 4 คือ เสี่ยซิ้ง ขอบคุณเทพเจ้าครบปี เจริญแล้วมีความสุข ก็มาไหว้ขอบคุณเทพเจ้า
ศาลเจ้าถ้ามีคนศรัทธาก็ไปเรื่อยๆ ถ้าไม่มีคนศรัทธาก็จบ คนที่มา เขาศรัทธา เขาเชื่อมั่น คนรุ่นใหม่ก็ตามบรรพบุรุษ พ่อแม่ปู่ย่าตายายมา เดี๋ยวนี้ศาลเจ้าไม่เหมือนสมัยก่อนที่มีแต่พวกคนแก่ มีคนทุกรุ่น ทางศาลเจ้าก็คอยดูแลควบคุมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย คอยดูพวกไม่ดีที่เข้ามาศาลเจ้าทำให้เสื่อมเสีย ถ้ามีปัญหา ทำเกินขอบเขต เราก็โทรเรียกตำรวจมาจัดการ อย่างในชุมชนมีกิจกรรมอะไร มาขอความร่วมมือเวลามีจัดงาน ให้เราไปประชุมรับทราบข้อมูลว่าจะทำกิจกรรมอะไร เราก็ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาย่านด้วย โครงการของ UddC เข้ามาทำกิจกรรมต่างๆ ก็ทำให้กระเตื้อง มีขายของ ก็ดี ชาวบ้านมีรายได้ ทำให้คนที่อื่นรู้จักชุมชน รู้จักศาลเจ้าเยอะขึ้น คนก็กลับมาเองโดยไม่ต้องมีกิจกรรม
พงษ์ศักดิ์ ตันติประยุกต์
ผู้ดูแลศาลเจ้ากวนอู คลองสาน
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…