เป็นที่รู้กันว่าถ้านึกถึงมะพร้าวคุณภาพดี คนนครจะนึกถึงเมืองปากพูนแห่งนี้

“ความที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลปากพูนเป็นดินตะกอนที่เกิดจากการทับถมของทะเล ดินที่นี่จึงมีความเค็มเป็นที่โปรดปรานของต้นมะพร้าว พืชดั้งเดิมในพื้นที่ นั่นทำให้วิถีชีวิตของชาวปากพูนเกี่ยวข้องกับสวนมะพร้าวจากรุ่นสู่รุ่น และเป็นที่รู้กันว่าถ้านึกถึงมะพร้าวคุณภาพดี คนนครก็จะนึกถึงเมืองปากพูน

ชาวปากพูนมีภูมิปัญญาในการสร้างรายได้จากมะพร้าวตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ปลูกมะพร้าวขายเป็นลูก น้ำมะพร้าว กะทิ น้ำตาลมะพร้าว ไปจนถึงเอาก้านมาทำเครื่องจักสาน สถานะของการเป็นพื้นที่การเรียนรู้ในสวนมะพร้าวแห่งต่างๆ ในตำบลปากพูนจึงมีความชัดเจนมาก ทางทีมวิจัยจึงเห็นว่าหากเรานำงานวิชาการเข้าไปเสริมและสร้างเครือข่ายพื้นที่การเรียนรู้ในสวนมะพร้าวแห่งต่างๆ ขึ้น ก็น่าจะช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์และเศรษฐกิจในชุมชนได้มาก เราจึงทำโครงการ ‘พร้าวผูกเกลอ’ ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการย่อยที่ 2 ของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปากพูน


หลังจากที่ลงพื้นที่เพื่อสำรวจวิถีการผลิตมะพร้าวและประเมินศักยภาพของผู้ประกอบการและสวนมะพร้าวในแง่มุมต่างๆ เราก็ได้คัดเลือกสวนมะพร้าว 5 สวนที่ต่างมีวิถีและเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวเฉพาะตัวและเหมาะแก่การเป็นพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ โดยทีมวิจัยก็เข้าไปส่งเสริมด้านการแปรรูป การรวมกลุ่ม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงการออกแบบ การตลาด ไปจนถึงการจัดจำหน่ายทางออนไลน์ ดังนี้

สวนแห่งแรกคือสวนมะพร้าวบ้านพ่อเชื่อง ที่หมู่ 4 แต่เดิมสวนแห่งนี้ประสบปัญหาที่ว่ามะพร้าวที่มีดั้งเดิมในสวนมีลำต้นที่สูงเกินไป จนมีความเสี่ยงต่อการเก็บเกี่ยว ทางเจ้าของสวนจึงไปปรึกษาศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร และได้รับการสนับสนุนให้ทดลองบุกเบิกการปลูกมะพร้าวพันธุ์ชุมพร 2 ในพื้นที่ดู มะพร้าวสายพันธุ์ชุมพร 2 มีลำต้นเตี้ยสะดวกแก่การเก็บ และออกผลในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งพวกมันก็ออกผลในสวนของพ่อเชื่องอย่างดีเยี่ยม

ทั้งนี้ สวนมะพร้าวบ้านพ่อเชื่องยังเป็นตัวตั้งตัวตีสนับสนุนให้สวนเพื่อนบ้านหันมาปลูกชุมพร 2 เหมือนกัน นำมาสู่กลุ่มผู้ประกอบการที่สามารถยกระดับจากการขายกล้าต้นมะพร้าวผลละ 5-6 บาท ไปเป็นผลละ 50 บาท มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สวนบ้านพ่อเชื่องจึงเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มในการเพาะพันธุ์ต้นกล้ามะพร้าว

สวนแห่งที่สองและสามคือสวนมะพร้าวบ้านเอกาพันธ์ และสวนมะพร้าวบ้านสวนพอเพียง ทั้งสองแห่งอยู่ในหมู่ 2 ปัญหาเดิมของสวนสองแห่งนี้คือที่ดินส่วนใหญ่ที่เคยเป็นบ่อกุ้งร้าง ซึ่งทำให้ดินมีความทรุดโทรม ทางเจ้าของสวนจึงมีการปลูกพืชสวนครัวผสมผสานเพื่อปรับหน้าดิน และเลี้ยงปศุสัตว์อย่างวัวเนื้อและปลา เกิดเป็นสวนผสมผสานที่สร้างรายได้หลายทาง

สวนที่สี่คือสวนมะพร้าวลุงแดง โดดเด่นด้านการนำมะพร้าวมาแปรรูปเป็นน้ำตาลมะพร้าว ซึ่งแต่เดิมเขาจะทำน้ำตาลมะพร้าวส่งขายโรงต้มเหล้า และร้านอาหารต่างๆ จนเมื่อทางเทศบาลมาให้แนวทางในการปรับน้ำตาลที่ได้จากสวนเหล่านี้ให้รับประทานง่ายขึ้น ทางลูกสาวของลุงแดงจึงคิดไอเดียแปรรูปน้ำตาลมะพร้าวให้มีรูปทรงแบบลูกเต๋าขนาดเล็กสำหรับใช้ผสมกาแฟ เกิดเป็นสินค้าที่ขายดี ขณะเดียวกันทางทีมวิจัยของเราก็เข้าไปสนับสนุนให้ทำน้ำตาลมะพร้าวคาราเมล ในบรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานง่ายขึ้นเสริมเข้าไป ซึ่งเรากำลังผลักดันให้เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อยู่

และสวนที่ห้าคือสวนปันสุข เป็นอีกสวนที่ปลูกพืชผสมผสาน หากโดดเด่นที่เจ้าของสวนได้ปลูกไม้ดอกไว้เยอะ จนดึงดูดให้ผึ้งเข้ามาทำรัง เจ้าของสวนจึงตัดสินใจทำคอนโดผึ้งภายในสวน เพื่อจะได้เก็บน้ำผึ้งจากรังมาจัดจำหน่าย รวมถึงยังใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มาช่วยประหยัดพลังงานด้วย

จะเห็นได้ว่าสวนมะพร้าวทั้ง 5 แห่งล้วนมีความท้าทายและแนวทางในการแก้ปัญหาเฉพาะตัวที่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ สามารถนำไปถอดบทเรียนเพื่อประยุกต์กับพื้นที่ของตัวเอง ในขณะเดียวกัน หน้าที่ของโครงการไม่เพียงหาวิธีหนุนเสริมเทคโนโลยี การตลาด และสร้างแนวทางการต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลาง แต่ยังรวมถึงการสร้างแผนที่และเส้นทางการเรียนรู้ และการผูกสัมพันธ์ผู้ประกอบการในแต่ละส่วนเพื่อให้มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และภูมิปัญญาของตนเองเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายสวนมะพร้าวในตำบลปากพูน ดังคำที่ว่า ‘พร้าวผูกเกลอ’ หรือมะพร้าวที่สานมิตรภาพในชุมชน ต่อไป”  

ดร.จิตติมา ดำรงวัฒนะ

อาจารย์สาขาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชและนักวิจัยโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปากพูน

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

3 weeks ago