Categories: Citizenยะลา

เพราะอันที่จริงแล้ว หน่วยงานรัฐเป็นแค่ผู้สร้างแพลตฟอร์มและการอำนวยความสะดวก แต่ฝ่ายที่จะทำให้แพลตฟอร์มนั้นตอบโจทย์ความต้องการและวิถีชีวิตพวกเรามากที่สุด ก็คือพวกเราเอง

“พี่เป็นคนนครศรีธรรมราช มีโอกาสมาเยือนยะลาครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อน ชอบความที่เมืองไม่เอะอะวุ่นวาย ผู้คนเป็นมิตร อากาศดี มีสวนสาธารณะที่ร่มรื่น และผังเมืองที่สวยมาก เลยคิดว่ายังไงเสียเราจะต้องสอบบรรจุเป็นข้าราชการที่นี่ให้ได้

ปัจจุบันพี่เป็นผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลนครยะลา หน้าที่หลักคือทำแผนยุทธศาสตร์ของเมือง นำนโยบายของผู้บริหารแปลงออกมาเป็นงานปฏิบัติการ ดูเรื่องการจัดสรรงบประมาณ แผนประชาสัมพันธ์ และสารสนเทศของเทศบาล

เทศบาลนครยะลาเรามีพื้นที่การเรียนรู้หลักๆ คือ TK Park Yala ซึ่งเป็นอุทยานการเรียนรู้ระดับภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย โดยตั้งอยู่ภายในศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา เป็นทั้งสวนสาธารณะและสนามกีฬาของเมือง เรียกได้ว่าพื้นที่การเรียนรู้ของเราเป็นทั้งพื้นที่สีเขียวสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายไปพร้อมกัน

ไม่เพียงการจัดสรรพื้นที่เรียนรู้ แต่เทศบาลยังให้ความสำคัญกับการเข้าถึงองค์ความรู้ เราจึงมีการจัดสรรอินเทอร์เน็ทไวไฟสาธารณะให้ประชาชนได้ใช้ฟรี 83 จุดทั่วเขตเทศบาล ซึ่งปัจจุบันเราอยู่ระหว่างการขยายสัญญาณให้ครอบคลุมมากที่สุดทั้งโซนร้านค้า สถานที่ราชการ และพื้นที่สาธารณะ

เราเชื่อว่าอินเทอร์เน็ทควรเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานให้คนทุกคนได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ และในกรณีที่ประชาชนคนไหนไม่มีเครื่องมือที่จะใช้ ก็สามารถมาใช้บริการเพื่อค้นคว้าข้อมูลได้ฟรีที่อุทยานการเรียนรู้ของเรา ซึ่งที่นั่นก็มีห้องสมุดขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองให้บริการหนังสืออย่างครอบคลุม

ทั้งนี้นอกจากการให้ความสำคัญกับการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ยะลายังเป็นเมืองต้นแบบสมาร์ทซิตี้ (smart city) โดยเฉพาะการบริหารจัดการเมืองแบบ Smart governance เช่นไวไฟอินเทอร์เน็ทที่กล่าวไปแล้ว การจัดทำแอปฟลิเคชั่นของเมืองบน Line official account เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของเทศบาลให้กับประชาชน การร้องเรียนเรื่องต่างๆ การแจ้งเหตุฉุกเฉิน ไปจนถึงการเก็บข้อมูลด้านสาธารณสุขและภาษี ปัจจุบันเรากำลังศึกษาและพัฒนาเรื่องการใช้ระบบไฟฟ้า EV ในอาคารสำนักงานของเทศบาล เพื่อทำให้ smart governance ครอบคลุมทุกกระบวนการทำงานและรองรับประชาชนผู้มาใช้บริการมากที่สุด

อย่างที่กล่าว สำหรับพี่ยะลามีต้นทุนที่ดีอยู่แล้วค่ะ ผู้นำมีวิสัยทัศน์ สาธารณูปโภคมีความพร้อม มีสถานศึกษาครบ และบรรยากาศเมืองสงบและสะอาด อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจคือเราจะพัฒนาต้นทุนเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทซิตี้ หรือความพยายามจะเป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกให้ไปต่ออย่างไร

ซึ่งพี่คิดว่าหน้าที่ตรงนี้ควรจะเป็นของประชาชนชาวยะลาทุกคนที่มากำหนดทิศทาง กำหนดอนาคต และหาวิธีขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน เพราะอันที่จริงแล้ว เทศบาลเป็นแค่ผู้สร้างแพลตฟอร์มและการอำนวยความสะดวก แต่ฝ่ายที่จะทำให้แพลตฟอร์มนั้นตอบโจทย์ความต้องการและวิถีชีวิตพวกเรามากที่สุด ก็คือพวกเราเอง”  

วีร์ธิมา ส่งแสง

ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลนครยะลา

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

3 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

3 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

4 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

4 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

4 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

4 weeks ago