“พ่อผมเป็นคนปักษ์ใต้ แกขึ้นมาทำงานกรุงเทพฯ ก่อน แล้วเจ้านายส่งพ่อให้มาคุมการก่อสร้างตลาดพะเยาอาเขต และเป็นผู้จัดการขายอาคารและพื้นที่ในตลาด จนโครงการแล้วเสร็จ พ่อก็เลยได้โบนัสเป็นอาคารพาณิชย์หนึ่งหลัง แกจึงตัดสินใจปักหลักอยู่ที่นี่เลย ทำธุรกิจร้านอาหารชื่อพะเยาภัตตาคาร เปิดในปี 2529 เป็นร้านอาหารแรกๆ ในเมืองที่มีระบบแสงสีทันสมัย
ส่วนผม ตอนแรกไม่มีความคิดจะทำร้านอาหารเลยครับ ผมเป็นวิศวกรประจำโรงงานที่จังหวัดระยอง พอดีได้ภรรยาเป็นคนพะเยาเหมือนกัน ภรรยาผมเป็นพยาบาลอยู่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่แม่ของเธอป่วย ภรรยาเลยกลับมาคิดว่าด้วยอาชีพเธอ เธอดูแลคนอื่นมากมาย แต่กลับไม่ได้ดูแลแม่ตัวเองเลย สุดท้ายเราจึงตัดสินใจย้ายกลับมาที่นี่ ก็พอดีกับที่พ่อแม่ผมเขาทำธุรกิจร้านอาหารอยู่ก่อนแล้ว จึงรับสูตรทำอาหารเขามา ผมซื้ออาคารพาณิชย์ใหม่ใกล้ๆ กับศูนย์ท่ารถ ปรับปรุงรูปแบบธุรกิจที่พวกท่านทำไว้ ตั้งชื่อร้านว่าเฮียอู๊ด ข้าวต้มโต้รุ่ง ที่ใช้ชื่อนี้ เพราะเฮียอู๊ดคือชื่อพ่อผม
ความที่ผมโตมากับร้าน ผมจึงรู้ pain point ของธุรกิจนี้ดี ร้านข้าวต้มส่วนใหญ่จะเป็นที่นิยมเพราะรสชาติอร่อย เสิร์ฟเร็ว และราคาไม่แพง แต่ข้อเสียคือร้านไม่มี service mind ไม่มีระบบการจัดการที่ดี และพนักงานก็หมุนเวียนกันเข้า-ออกบ่อยเกินไป ทำให้เราต้องเสียเวลาและต้นทุนในการฝึกพนักงานใหม่
จะว่าผมนำวิธีการแบบวิศวกรมาทำแบรนด์ข้าวต้มก็ได้ คือนอกจากเซ็ทอัพสูตรอาหารให้เป็นมาตรฐานที่พ่อครัวคนไหนมาทำก็จะทำอาหารกว่า 300 เมนูนี้ได้แบบเดียวกัน ผมก็ทำคู่มือการจัดการในร้าน ซึ่งก็มีตั้งแต่วิธีการเสิร์ฟ การรักษาความสะอาด มาตรการการบริการและแก้ปัญหาให้ลูกค้า ที่สำคัญคือการสร้าง career path ให้พนักงาน ให้พวกเขามีอนาคตกับงานที่ทำกับเรา มีโบนัสตอบแทนกับความตั้งใจ หรือมีทักษะต่อยอดไปทำอย่างอื่นได้ เป็นต้น
หลังจากร้านข้าวต้มอยู่ตัว ผมก็มีโอกาสได้ทำงานเพื่อสังคมเมืองด้วย โดยขณะนี้เป็นรองประธานชมรมร้านอาหารจังหวัดพะเยา และรองเลขาธิการหอการค้าจังหวัด รวมถึงทำงานในกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ YEC ที่หันมาทำงานด้านนี้ เพราะเห็นว่าในฐานะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ก็น่าจะมีส่วนในการนำความคิดใหม่ๆ ไปสร้างกิจกรรมเพื่อส่งเสริมธุรกิจให้เมืองได้ เพราะที่ผ่านมากิจกรรมของเมืองจะเกิดจากมุมมองของฝ่ายข้าราชการเป็นหลัก เราก็ส่งเสริมสิ่งที่ดีอยู่แล้ว รวมถึงส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้มาร่วมสร้างสรรค์งานให้กับเมือง เช่น งานวิ่งมาราธอน การส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร ไปจนถึงการรวมกลุ่มธุรกิจกาแฟ เป็นต้น
ผมคิดว่าถึงพะเยาเป็นเมืองเล็กๆ แต่ความอุดมสมบูรณ์ของเราก็ทำให้เรามีพื้นที่ได้เรียนรู้อีกมาก ทั้งทรัพยากรและวิถีชีวิตรอบกว๊าน หรือองค์ประกอบของเมืองที่ค่อนข้างลงตัว การส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้ จึงไม่เพียงช่วยให้คนในเมืองสามารถพัฒนาทักษะทางวิชาชีพของตัวเองได้ แต่ในอีกแง่ มันยังทำให้แบรนด์ของเมืองเราชัดเจนขึ้น และถ้าแบรนด์ของเมืองเราชัด เป้าหมายเราจะชัดตาม
กล่าวตามตรงในฐานะที่ผมทำงานเมือง ผมพบว่าแผนพัฒนาจังหวัด 5 ปีของเรามันยังคลุมเครือในทิศทางอยู่ว่าจะไปทางไหนกันแน่ แต่พอมีแบรนด์นี้เข้ามา ไม่ได้แปลว่าเมืองของเราจะพบเป้าหมายทันทีนะครับ แต่มันก็ช่วยสร้างกระบวนเรียนรู้ ทำให้เราย้อนกลับมาสำรวจตัวเราหรือทรัพยากรรอบตัว เพื่อค้นหาว่าจริงๆ แล้วพะเยาจะพัฒนาไปยังทิศทางไหน เพราะเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน คือเมืองที่ผู้คนเข้าใจในจุดยืนของตัวเอง สร้างโจทย์การพัฒนาร่วมกัน และร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่ทิศทางนั้น หาใช่การที่คนอื่นมาบอกว่าเมืองต้องพัฒนาไปทางไหน และเพื่อจะไปสู่จุดนี้ บรรยากาศของการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญ”
ฉัตรชัย พรหมทอง
เจ้าของร้านเฮียอู๊ด ข้าวต้มโต้รุ่ง และยูนากริลล์
รองเลขาธิการหอการค้าจังหวัดพะเยา
https://www.facebook.com/HiaOodKhawTomToRung/
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…