เมืองขลุงนี่ใครมาอยู่ก็ไม่อยากย้ายกลับ อยู่แล้วมีความสุข ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งเรื่องราวใหญ่โต มันมีวัฒนธรรม

“โรงเจขลุงก่อตั้งมาประมาณร้อยปี รับฟังจากคนเก่าคนแก่ว่า โรงเจเดิมอยู่ตรงสามแยกที่จะไปวัดคริสต์ มีบ้านจีนโบราณอยู่หลังนึง ย้ายมาเป็นที่ปัจจุบันนี้แล้วก็พัฒนากันขึ้นมาด้วยความร่วมมือร่วมใจของคณะกรรมการและเจอิ๊วคือบุคคลที่มาร่วมกินเจ ปี 2500-01 มีการล้างป่าช้าที่โรงเรียนเทศบาลขลุงเป็นครั้งแรก เหมือนเป็นจุดเริ่มต้นของการล้างป่าช้าครั้งแรก ทางราชการ ชาวเมืองขลุงต้องใช้พื้นที่ เลยขวนขวายมีความเลื่อมใสอัญเชิญเซี๊ยโจ้วฮุดโจ้วมาประทับอยู่ที่นี่ไม่ต่ำกว่า 60 ปีแล้ว ผู้อาวุโสที่ถ้าอยู่ถึงเวลานี้ก็น่าจะอายุ 90-100 ปีแล้ว ท่านชี้ส่วนหัวหางมังกร เริ่มตรงศาลหลักเมือง ให้ถนนเทศบาลสาย 1 โรงเจเป็นหัวมังกร วัดวันยาวบน ขลุงมูลนิธิ คือท้องมังกร ศาลหลักเมืองขลุงคือหางมังกร แล้วเลือกจุดสร้างศาลเจ้าที่ทำให้คนอยู่เย็นเป็นสุข มีสิ่งเป็นมงคลคุ้มครองภัยพิบัติต่างๆ เมืองขลุงนี่ใครมาอยู่ก็ไม่อยากย้ายกลับ อยู่แล้วมีความสุข ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งเรื่องราวใหญ่โต มันมีวัฒนธรรม

งานกินเจเป็นงานใหญ่ของโรงเจ ขลุงมูลนิธิ ศาลหลักเมือง ขลุงมูลนิธิก็มีงานฉลองวันคล้ายวันเกิดของแต่ละองค์ ก็มาร่วมกิจกรรมกัน แล้วก็มีงานทิ้งกระจาด ก่อนนี้ผมเข้ามาโรงเจไม่ถึงสิบขวบ มีคนศรัทธาเรื่องการกินเจแค่ร้อยเศษๆ เดี๋ยวนี้มีเป็นพันคนขึ้นไป ประเพณีกินเจ จีนไทยพุทธมาหมด แห่ขบวนไปที่ต่างๆ เรียกว่า ออกไปหาใบชา ถ้าเทียบเหมือนพระ ก็ออกบิณฑบาต เพื่อมาใช้ในกิจกรรม ชงน้ำเต้ ไหว้เจ้า ไหว้สัมภเวสี ทุกบ้านในชุมชนสามารถตั้งโต๊ะไหว้ ตั้งใบชา ผลไม้ เตรียมถวาย ฮุดโจ้วก็จะไปโปรด เขาก็จะบอกว่าใบชานี้ไหว้ฮุดโจ้วองค์ไหนในโรงเจ ทีมคณะสงฆ์ก็ให้ฮู้ไว้ เหมือนผ้ายันต์ ก่อนจะถึงเดือนเก้าพิธีกินเจ เขาเรียก กิ่วฮ้วงเซ่งหวย คณะกรรมการโรงเจจะจัดดำเนินการกินเจ เชิญโป๊ยจุนมาที่มูลนิธิ โป๊ยจุนเป็นเทพเจ้าที่มาดำเนินการพิธีกรรมทั้งหมด แล้วกิ่วฮ้วงคือองค์ประธานของการกินเจ แต่ถ้าไม่มีโป๊ยจุนมาดำเนินการกินเจก็ได้ แต่เมื่อก่อนมีปัญหากันตรงที่ไม่ยอมกัน ความเห็นของเก่าๆ ก็คือไปเชิญฮุดโจ้วมาจัดการ เพราะเรื่องของการกินเจคือเทพสวรรค์ เรื่องของโป๊ยจุนคือพื้นพิภพ เลยต้องมีเทพมาช่วยจัดการ หลังจากนั้นก็ไม่มีปัญหาอะไร

เทศกาลสงกรานต์ เป็นกิจกรรมที่เกิดความสามัคคี เข้าใจซึ่งกันและกัน รวมหินยาน มหายาน คริสต์ สองศาสนา สามวัฒนธรรม สมัยเด็กๆ ส่วนมากคนบ้านล่างขึ้นมาก็จะหาเรื่องหาราวกัน บ้านบนเราลงไปก็จะมีเรื่องมีราวกัน ลักษณะเหมือนด้วยความเป็นวัยรุ่น คือไม่สนิทกัน ไม่ใส่ใจกัน เพิ่งมารุ่นผมนี่แหละที่มารวมกัน สัก 20 ปีมาแล้วที่ทำกิจกรรมร่วมกัน เราทำกิจกรรมอะไรคนคริสต์ก็มาร่วม ต่างคนต่างเปิดใจให้กัน เรามานึกถึง คำสอนของฮุดโจ้วเรา คำสอนของพระเยซู ว่าไม่ใช่อย่างที่เราตีกัน เบื้องบนเขาไม่มีอะไรกันเลย แล้วเราจะมาทำให้เป็นปัญหาทำไม ของคริสต์มีโครงการนำเด็กคริสต์มาไหว้พระ พาเด็กอนุบาลถึงประถมมาเรียนสมาธิที่วัดใหม่ของหลวงพ่อวิริยังค์ คนคริสต์มาบริจาคที่โรงเจ ที่มูลนิธิ มาไหว้ มากินเจ ก็เยอะ โรงเจมีล้างป่าช้าปี 2538 ก็เชิญบาทหลวงมาทำพิธีด้วย มีการเชื่อมโยงกัน ลดช่องว่าง บาทหลวงสอนดี ผมทันช่วงที่หลวงพ่อชิ่นมาจำวัดที่วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า คนศรัทธามาก ไม่เคยเห็นบาทหลวงไหนที่คนเลื่อมใสขนาดนี้

ทีมสวดมนต์ ภาษาจีน เรียก เทงจู สวดสรรเสริญพิธีกรรม เราไปกันเป็นทีม ผมทำคนเดียวไม่ได้ สำเร็จมาได้ก็ด้วยทีมบริหาร ให้แต่ละคนมีหน้าที่ไปทำ ใช้เวลาฝึกสวดมนต์ประมาณ 1-2 ปี กว่าจะชำนาญ 10 ปี ใครเข้ามา เรารับทุกคน จะต่ำสุดจนกระทั่งสูงสุด ถ้าผมไปช่วยคนดีได้ 10 คน เขามีความสามารถ แป๊บเดียวเดี๋ยวเขาได้ละ ผมมาช่วยข้างล่างคนเดียวถือว่าคุ้มละ เพราะต้องออกแรงมาก ช่วยเขาให้ขึ้น ด้านนึงก็ให้มีคนมาสืบสานต่อ เห็นประโยชน์แก่ส่วนกลาง ผมมีแผนการรวบรวม ฝึกหัด บุคลากรใหม่ที่มาถือทรง (เข้าทรง) โดยไปรวบรวมมาจากครั้งแรกของที่มีการถือทรง เมื่อปี 2500-01 คนที่มาฝึกสอนชื่อ ชอฮุ้น อยู่เมืองชลบุรี มาสอน 4 คนที่ขลุง แกลง ชลบุรี พานทอง นี่คือชุดแรกของประเทศไทยเลย สี่บักที่รับมาจากชอฮุ้น มีบักเชง บักชุน บักย้ง อีกบักจำไม่ได้ บักเชงอยู่ที่ขลุงนี่ เราได้เป็นศิษย์เขา รุ่นผมเป็นรุ่นที่สอง รุ่นใหม่เป็นรุ่นที่สาม ผมก็มารวบรวม บันทึก ค่อยๆ ค้นบันทึก หลักฐานเอกสาร เพราะคนที่ให้ข้อมูลได้ก็อายุมากแล้ว ผมมองว่า ถึงผมจะมีอายุร้อยปี ผมก็เก็บข้อมูลไว้ได้แค่ 30 ปี แต่ถ้าให้มูลนิธิ จะเก็บได้ร้อยปีหรือยาวไป ใครเห็นว่าดีก็คัดลอกไป มีการเก็บรักษาไว้ได้ มีข้อมูลที่มากที่สุดเก็บเป็นเอกสาร ทำเป็นหนังสือ และไฟล์ไว้ ตอนนี้อยู่ระหว่างการรวบรวม แล้วผมก็บอกกรรมการว่า บางอย่างที่รับข้อมูลมา ตัดสินใจบันทึกได้ตอนนั้น บางอย่างฟังแล้วได้เลย บางอย่างต้องใช้เวลาหลายปีที่ต้องพิจารณา แล้วค่อยบันทึกข้อมูลที่แม่นๆ

ผมไปเรียนกศน. ก็ได้ศึกษาแนวทางที่พระเจ้าตากยกทัพมาถึงตรงนี้ ถึงได้มีศาลหลักเมืองที่ปกติจะตั้งเฉพาะที่ตัวจังหวัด ท่านดำเนินไปถึงคานรูด ตะปอนน้อย ตะปอนใหญ่ วัดสระบาป เลยย้อนไปเห็นภาพในอดีตขึ้นมาได้ แต่ตรงโรงเจนี้ รู้จากการเห็น คือตอนนั้นมีการยกอาคารด้านข้าง ขุดทำสระ ก็ไปเจอแนวฐานกว้าง เรียงกันอย่างดี จะเป็นฐานอะไรเราไม่รู้ เลยเก็บเอามาอิฐมาก้อนนึงแสดงให้เห็นว่าใต้ดินเป็นอย่างนี้ กองหินทั้งกองก็เขียนไว้ว่า ห้ามแตะต้อง ห้ามขุด ห้ามทำอะไรทั้งสิ้น

ผมนึกถึงภาษาจีนกับคนรุ่นใหม่ เมื่อ 9-10 ปีก่อนเลยขอสถานที่ของโรงเจสอนภาษาจีนฟรี คนมาเรียนเยอะ รุ่นหลังนี่เกือบร้อยเลย อาทิตย์ละสามวัน มีทั้งครูจีน ครูไทย เรียนแยกห้อง ผมสอนจีนแต้จิ๋วเอง แล้วมีคนจากเมืองจีนมาสอนที่โรงเรียนศรีหฤทัย เราอยากได้สำเนียงจีนของเขา เลยทำหนังสือถึงคุณพ่อขอมาสอน เขาก็มาสอนจีนกลาง เสาร์อาทิตย์ผมก็พาเขาไปกินไปเที่ยว เขาเป็นจิตอาสา เราได้ตรงนี้ไง แล้วคุณมาเรียน ก็กราบพระก่อนและหลังเรียนจบ ที่มาเลือกโรงเจเพราะอยากให้เขาออกไปต่อยอดยังไงก็แล้วแต่เขาจะนึกถึงโรงเจเสมอ เรียนในห้องโถงใหญ่เหมือนราชวังชั้นในเลย ผมต้องการให้เขาซึมซับ รู้ว่ามีตรงนี้นะ เขากลับไปแล้ว วันนึงเขานึกได้ว่าภาษาจีนเขาได้มาจากไหน เขาจะนึกถึงตรงนี้ สิ่งที่โรงเจให้ไป มีผลดีกับชุมชน ถามว่า อนาคต คือตรงนี้แหละ เป็นการสานต่อรุ่นหลังที่เขาจะนึกถึงโรงเจ”

ธนพนธ์ มัธยสินชัย
รองประธานโรงเจขลุง

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

2 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

6 days ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

1 week ago