เมืองนครควรมีพื้นที่ให้ความหลากหลายของคนทุกวัย เพราะอันที่จริงแล้ว สเก็ตบอร์ดก็เป็นวัฒนธรรมเหมือนกัน

“ผมชอบดื่มกาแฟ นั่งทำงาน และพักผ่อนที่ร้านกาแฟอยู่แล้ว ก่อนเรียนจบ จึงมีความตั้งใจจะเปิดร้านกาแฟที่เมืองนคร เพราะตอนนั้นในตัวเมืองยังมีร้านกาแฟที่เป็นร้านแบบจริงจังไม่เยอะ แต่ครอบครัวก็ท้วง อยากให้ผมใช้เวลาทบทวนมากกว่านี้ ผมก็รับฟังโดยเลือกเรียนปริญญาโทที่กรุงเทพฯ ต่อ จนพอเรียนจบ ผมก็ไม่คิดจะทำอย่างอื่นเลย นอกจากกลับบ้านมาเปิดร้านกาแฟ

Glur House คือร้านกาแฟเล็กๆ ที่ถอดมาจากความชอบส่วนตัวของผม เช้าและกลางวันขายกาแฟ ส่วนตอนเย็นในวันศุกร์และเสาร์เปิดเป็นบาร์ และความที่ผมชอบเล่นสเก็ตบอร์ด เลยนำแผ่นสเก็ต อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงลวดลายกราฟิกแบบสตรีทอาร์ทมาตบแต่งร้าน เปิดอยู่ได้สักพัก กระแสสเก็ตบอร์ดและเซิร์ฟบอร์ดเริ่มมา ก็มีคนมาถามซื้ออุปกรณ์ ที่นี่ก็เลยกลายเป็นสเก็ตช็อปที่เดียวในเมืองพ่วงเข้ามาด้วย

ผมทำร้านคนเดียว โดยเริ่มต้นจากทุนที่จำกัด พอมีกำไรก็ค่อยๆ ต่อเติมมาเรื่อยๆ จนเป็นอย่างที่เห็น ผลตอบรับค่อนข้างดีครับ ตอนแรกก็กังวล รู้สึกเป็นเหมือนวัฒนธรรมของคนนครด้วยที่พอร้านไหนเปิดใหม่ คนก็จะแห่ไปใช้บริการก่อน ผ่าน 6 เดือนถึงจะเข้าสู่โลกของความเป็นจริง เจ้าของจะรู้ว่าหลังจากนั้นร้านจะรอดหรือไม่รอด แต่ด้วยความที่ผมจริงจังกับการทำกาแฟ ถ้ามีเวลาก็จะไปร่วมแข่งกาแฟเพื่อพัฒนาฝีมืออยู่เสมอ รวมถึงการคัดสรรเมล็ด และพยายามเรียนรู้เพื่อพัฒนาเมนูและการบริการของร้าน เดือนพฤศจิกายนปีนี้ (2565) Glur House จะครบ 6 ปีล่ะครับ

ลูกค้าหลักเป็นคนทำงานในตัวนครนี่แหละ มีนักท่องเที่ยวมาบ้าง ส่วนนักศึกษาไม่ค่อยเยอะ เพราะเมืองนครนี่ถึงแม้จะมีมหาวิทยาลัยหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่ล้วนอยู่นอกเมืองกันหมด นักศึกษาจึงไม่ค่อยเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ในเมืองเท่าไหร่ ผมว่าน่าเสียดายอยู่ ในย่านตัวเมืองควรมีความเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ให้มากกว่านี้

และก็เพราะเหตุนี้ด้วยแหละครับที่ทำให้ผมพบว่านครมีพื้นที่กิจกรรมของคนรุ่นใหม่น้อย พื้นที่สร้างสรรค์ส่วนมากจะขับเคลื่อนโดยรัฐซึ่งก็มีความเป็นราชการอยู่ หรือกระทั่งพื้นที่ทางศิลปะก็จะเป็นศิลปะแนวประเพณีเกือบทั้งหมด เท่าที่ทราบมา นครมีศิลปินและนักออกแบบรุ่นใหม่อยู่เยอะนะครับ แต่ความที่เมืองมันไม่มีพื้นที่ให้พวกเขาได้แสดงผลงาน คนเหล่านี้เลยเข้าไปหางานหรือแสดงงานในกรุงเทพฯ เสียเป็นส่วนมาก

ด้วยความเป็นราชการก็ส่วนหนึ่ง อีกส่วนก็เป็นมุมมองของผู้หลักผู้ใหญ่ในเมือง อย่างเทศบาลเขามีสนามกีฬาให้ทุกประเภทเลย แต่กับสเก็ตบอร์ดที่เป็นกีฬาเหมือนกัน เขากลับไม่มีพื้นที่ให้ ทุกวันนี้จะมีแค่ลานที่ห้างเซ็นทรัลเขาเปิดไว้ให้เราได้เล่นอย่างเป็นทางการแค่ที่เดียว

หรืออย่างในแวดวงคนเล่นสเก็ตบอร์ด ทุกปีเราจะมีงานสเก็ตเดย์ ที่คนเล่นสเก็ตจะรวมตัวกันออกมาไถสเก็ตไปบนถนนในเมืองเพื่อแสดงจุดยืน ผมเคยติดต่อไปทางเทศบาลและตำรวจจราจรเพื่อขอจัดกิจกรรม แต่เขาไม่อนุญาต แต่ถ้ามีคนขอจัดกิจกรรมเชิงประเพณีในพื้นที่เดียวกัน กิจกรรมนั้นก็จะได้รับอนุญาตและได้รับการอำนวยความสะดวกด้วย ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันครับ เพราะอันที่จริงแล้ว สเก็ตบอร์ดก็เป็นวัฒนธรรมเหมือนกัน”  

สุเมทัศน์ สิวะสุธรรม

เจ้าของร้าน Glur House
https://www.facebook.com/Glurhouse

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

7 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago