เมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี ภารกิจเชื่อมพนัสนิคมให้เป็นนิคมของคนรุ่นใหม่

แม้จะมีจุดเด่นคือความสงบและน่าอยู่ แต่ด้วยทำเลที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และเมืองหลักศูนย์กลางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอย่างชลบุรี ฉะเชิงเทรา หรือระยอง เทศบาลเมืองพนัสนิคมจึงไม่สามารถฉกฉวยโอกาสต่อยอดฐานเศรษฐกิจจากเมืองหลักที่รายล้อม และทำให้คนรุ่นใหม่ในเมืองจำใจละทิ้งบ้านเกิดไปแสวงหาโอกาสจากเมืองเหล่านั้นแทนอย่างเลี่ยงไม่ได้ นั่นทำให้ในขณะที่พนัสนิคมกำลังประสบกับสภาวะ “เมืองหด” จากการที่ประชากรรุ่นใหม่ย้ายออกไปทำงานต่างถิ่น ขณะที่ตัวเมืองก็เข้าสู่สภาวะสังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ โดยในปี 2564 เมืองแห่งนี้มีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 25.89 ของประชากรทั้งหมด (ผู้สูงอายุจำนวน 2,594 คน จากทั้งหมด 10,600 คน)

พนัสนิคม เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่มีอายุกว่า 1,500 ปี ชื่อเมืองแห่งนี้ ถูกสถาปนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2371) โดย คำว่า “พนัส” แปลว่า “ป่า” และ “นิคม” แปลว่า “หมู่บ้านขนาดใหญ่”


ไม่ว่าจะสอดพ้องในความหมายของชื่อเมืองอย่างตั้งใจหรือไม่ หากในปัจจุบัน ท่ามกลางความหนาแน่นของนิคมอุตสาหกรรมของจังหวัดชลบุรี เทศบาลเมืองพนัสนิคมก็กลับยังเป็นหนึ่งในพื้นที่ไม่กี่แห่งที่เป็นเหมือน “โอเอซิส” ใจกลางแหล่งอุตสาหกรรมสำคัญระดับประเทศไว้ได้อย่างน่าสนใจ


ห่างจากอำเภอเมืองชลบุรีราว 30 กิโลเมตร บนพื้นที่เหนือสุดของจังหวัด เทศบาลเมืองพนัสนิคมที่มีขนาดเพียง 2.76 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรราว 10,600 คนกลับมีสวนสาธารณะมากถึง 6 แห่ง ไม่เพียงเท่านั้น  พนัสนิคมยังคว้ารางวัลด้านการบริหารจัดการเมืองอย่างยั่งยืนทั้งระดับประเทศและนานาชาติมาแทบนับไม่ถ้วน ทั้งเมืองต้นแบบของการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในระดับอาเซียน เทศบาลเมืองที่มีค่าดัชนีความน่าอยู่สูงสุด อันดับที่ 1 ของประเทศ (จากสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา หรือ LDI AWARDs) รวมถึงได้รับการคัดเลือกจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้เป็น 1 ใน 1,000 เมืองระดับโลก ที่ช่วยรณรงค์ด้านการพิทักษ์ชีวิตและสุขภาพของคนเมือง เป็นต้น


ในขณะที่เมืองอื่น ๆ ในพื้นที่ล้วนเต็มไปด้วยเครื่องจักรอุตสาหกรรม พนัสนิคมก็กลับขึ้นชื่อเรื่องการเป็นแหล่งผลิต “เครื่องจักสาน” และมีการส่งออกจนได้รับการยอมรับระดับสากล ซึ่งเป็นเมืองไม่กี่เมืองในภาคตะวันออกที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์งานหัตถกรรมพื้นถิ่นไว้ได้อย่างงดงาม เช่นเดียวกับอัตลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณี อันเกิดจากการหลอมรวมของชาวลาวเวียง ชาวจีน และชาวไทยอย่างเปี่ยมเสน่ห์


แต่ถึงกระนั้น ด้วยคาแรกเตอร์ของการเป็นเมืองการค้าเก่าแก่อันเงียบสงบ และโอเอซิสใจกลางย่านอุตสาหกรรม พนัสนิคมจึงต้องเผชิญกับความท้าทายระดับสากล ทั้งด้านสังคมสูงวัย (Aged Society) เศรษฐกิจ และการขาดไร้โอกาสด้านหน้าที่การงานแก่คนรุ่นใหม่ เฉกเช่นเมืองขนาดเล็กเมืองอื่นทั่วประเทศ อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง


นี่คือโจทย์สำคัญของเมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เมืองน่าอยู่ระดับโลก” ที่จะทำอย่างไรให้สถานะดังกล่าวมีความหมายมากกว่าการเป็นเมืองน่าอยู่ ที่จำกัดอยู่เพียงในกรอบของการพักอาศัย 


WeCitizens ฉบับนี้ พาผู้อ่านไปสำรวจเทศบาลเมืองพนัสนิคม เบื้องหลังการทำเมืองให้ขึ้นชื่อในระดับโลก และภารกิจของคนพนัสฯ ในการเชื่อมโยงต้นทุนที่มี เปลี่ยนให้เมืองแห่งนี้สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการลงทุน และเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดสำหรับผู้คนทุกช่วงวัยอย่างแท้จริง

“แม้เทศบาลเมืองพนัสนิคมจะมีความพยายามในการดำเนินงานพัฒนาเมืองอย่างดีที่สุด พนัสนิคมก็ยังประสบปัญหาสำคัญที่เรียกว่า ‘เมืองหด’ อันเป็นผลมาจากเมืองพนัสนิคมได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ”


โครงการวิจัย เศรษฐกิจสร้างสรรค์และการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อบูรณาการคนรุ่นใหม่ภายใต้แนวทางการมีส่วนร่วมของเขตพัฒนาเทศบาลเมืองพนัสนิคม เป็นโครงการวิจัยในโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด นำโดยเทศบาลเมืองพนัสนิคม ร่วมกับทีมนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์และสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยบูรพา และนักวิจัยด้านการออกแบบผังเมืองจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อรับมือกับสถานการณ์ “เมืองหด” โดยเน้นใช้จุดแข็งด้านสิ่งแวดล้อมและทุนวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย รวมถึงเน้นย้ำเสน่ห์ของพหุวัฒนธรรมดั้งเดิมให้กลับมาโดดเด่น เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่และผู้ที่สนใจในวิถีชีวิตท้องถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยและมีส่วนร่วมในชุมชน


ทั้งนี้ การดำเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็นหลายช่วง เริ่มจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ เช่น การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การประเมินศักยภาพการพัฒนา โดยใช้เครื่องมือ SWOT Analysis เพื่อวิเคราะห์ทุนท้องถิ่น (เช่น ที่ดิน มนุษย์ วัฒนธรรม และความหลากหลายทางชีวภาพ) ภายใต้กรอบ STEEPI Analysis รวมถึงการประเมินผลการดำเนินงานของทั้ง 7 ย่านในพนัสนิคม ได้แก่ ย่านประวัติศาสตร์ ย่านวิถีชีวิตและภูมิปัญญา ย่านตลาดจักสาน ย่านตลาดเก่า ย่านเอ็งกอ ย่านพนัสชวนชิม และย่านพนัสสร้างสรรค์บันดาลใจ โดยมุ่งเน้นการนำทุนวัฒนธรรมมาปรับใช้ให้เข้ากับสังคมร่วมสมัย

นอกจากนี้ ยังมีแผนเชิญชวนกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมกับการสนับสนุนให้พวกเขามีบทบาทในการคิดค้นแนวทางใหม่ ๆ โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังจากโครงการนี้คือการสร้างแผนการดำเนินงานและนโยบายที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ดึงดูดประชากรวัยแรงงานเข้ามาอาศัย ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ อันเป็นการแก้ไขปัญหาเมืองหด โดยให้เทศบาลเมืองพนัสนิคมเป็นเมืองต้นแบบให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชนจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อผลักดันให้เกิดการดำเนินงานต่อเนื่องในเทศบาลเมืองพนัสนิคม และขยายผลสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นต่อไป

โครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อบูรณาการคนรุ่นใหม่ภายใต้แนวทางการมีส่วนร่วมของเขตพัฒนาเทศบาลเมืองพนัสนิคม

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดตั้งโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการ เพื่อผลักดันให้เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี พัฒนาไปสู่การเป็นเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาดในระดับพื้นที่
  2. สนับสนุนการดำเนินงานของโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อพัฒนาเมืองให้น่าอยู่อย่างชาญฉลาด
  3. ส่งเสริมการลงทุนในระดับพื้นที่ภายในเทศบาลเมืองพนัสนิคม โดยขับเคลื่อนผ่านโปรแกรมบ่มเพาะและการเร่งรัดกระบวนการดังกล่าว
  4. จัดทำแผนพัฒนาเมืองที่เน้นการจัดการเมืองที่สร้างโอกาสและพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจากภาคีการพัฒนาพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม
  5. เสนอแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและพื้นที่สร้างสรรค์ที่เหมาะสมสำหรับคนรุ่นใหม่ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเทศบาลเมืองพนัสนิคม

Wecitizens Editor

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago