เรามองราชบุรีไม่ใช่เมืองที่แฟนซีหรือหรูหรา แต่เป็นเมืองเรียบง่ายที่เปี่ยมด้วยเสน่ห์ มีความคิดสร้างสรรค์

“เราเกิดและโตที่ราชบุรี ก่อนย้ายไปเรียนและทำงานที่อื่นอยู่พักใหญ่ จนโชคชะตาพาให้เราเลือกกลับมาทำงานที่นี่ ก็คิดว่าถ้าเราจะทำธุรกิจอะไรสักอย่าง นอกจากสิ่งนั้นจะทำให้เราอยู่ได้ ก็ควรต้องสร้างประโยชน์อะไรให้เมืองบ้านเกิดเราด้วย

และเพราะแบบนี้ เมื่อราว 6 ปีที่แล้ว เราจึงสร้างโรงแรม ณ เวลา ให้ออกมาโดยสะท้อนความเป็นราชบุรี และอยากให้เป็นเมืองอย่างที่เราอยากเห็น คือ เรามองราชบุรีไม่ใช่เมืองที่แฟนซีหรือหรูหรา แต่เป็นเมืองเรียบง่ายที่เปี่ยมด้วยเสน่ห์ มีความคิดสร้างสรรค์ และเต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม เราจึงคิดถึงการทำโรงแรมทั้งในเชิงที่พักอาศัย พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม และแหล่งพักผ่อนในเชิงไลฟ์สไตล์ โดยให้ความสำคัญกับการออกแบบที่นำอัตลักษณ์ต่างๆ ของเมืองมาใช้ การสร้างบรรยากาศ และการจัดกิจกรรมสำหรับทุกเพศและวัย

เราเป็นโรงแรมแห่งแรกของเมืองที่มี convention center พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการจัดประชุมสัมมนาและพิธีการต่างๆ ครบครัน มีพื้นที่รองรับผู้ร่วมงานได้นับ 1,000 คน ขณะเดียวกันก็มีพื้นที่จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์สำหรับครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สำหรับจัดเวิร์คช็อปต่างๆ ชั้นเรียนทำอาหาร นาข้าว หรือแปลงเกษตรอินทรีย์ รวมถึงคาเฟ่ที่เปิดให้แขกที่ไม่เข้าพักกับโรงแรมมาแฮงค์เอาท์กับเราได้

เราอยากให้ที่นี่มีส่วนเปลี่ยนให้ราชบุรีเป็นจุดหมายหลัก ไม่ใช่เมืองผ่านอีกต่อไป คุณขับรถมาจากกรุงเทพฯ หรือจังหวัดอื่นๆ มาที่นี่ ใช้โรงแรมเราเป็น hub เพื่อขับรถไปเที่ยวที่ต่างๆ บางคนเลือกมาพักผ่อนแบบลองสเตย์ หอบงานมานั่งทำงานที่นี่ หรือหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศมาจัดประชุมสัมมนา คนในจังหวัดมาจัดงานเลี้ยงหรืองานแต่งงานที่นี่ก็ได้ เพราะนอกจากรายได้ที่เราได้จากการทำธุรกิจ การที่เรามีสิ่งอำนวยความสะดวกดึงดูดคนจากที่อื่นให้มาที่นี่ก็ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่น เนื่องจากพนักงานทุกคนของเราที่นี่ก็เป็นคนรุ่นใหม่ของราชบุรีทั้งหมด  

ราชบุรีเป็นเมืองที่มีเสน่ห์มากนะคะ มีวัดสวยๆ หลายแห่ง มีพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ไหนจะพื้นที่ธรรมชาติ และอาหารการกินก็อร่อย แต่ pain point ของเมืองคือเรายังขาดการเชื่อมโยงจุดเด่นเหล่านี้เข้าด้วยกัน แต่เดิมคนมาเที่ยวราชบุรี ส่วนใหญ่เขาตั้งใจไปอำเภอสวนผึ้ง หรืออาจจะมีจุดหมายอยู่แค่จุดหนึ่งจุดใด แต่ถ้าเราสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดเพื่อสร้างเส้นทาง ทำให้ผู้มาเยือนมองเห็นเส้นทางว่าถ้าผ่านอำเภอโพธารามควรต้องแวะอะไร ผ่านบ้านโป่งต้องแวะอะไร และแต่ละจุดมีของกินที่ไหนอร่อย มีจุดไหนให้ถ่ายรูปเช็คอินบ้าง เป็นเส้นทางสายกิน สายถ่ายรูป หรือกระทั่งเส้นทางเฉพาะสำหรับคนชอบเมืองเก่าและประวัติศาสตร์ เป็นต้น อาจทำเป็น application หรือข้อมูลออนไลน์ที่เข้าถึงได้ง่ายก็ได้ ตรงนี้จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองของเราได้มาก

พร้อมกันนั้น เมืองก็ควรมีแบรนดิ้งที่สะท้อนอัตลักษณ์ของเรา อาจชวนคนในเมืองและชวนครีเอทีฟเก่งๆ มาร่วมกันหาบิ๊กไอเดียให้กับเมือง ในแบบที่ถ้าพูดสิ่งนี้ขึ้นมา หรือได้เห็นชุดสีและสัญลักษณ์อะไรสักอย่าง ทุกคนจะรู้เลยว่าเป็นราชบุรี และใช้สิ่งนี้เป็นเครื่องมือทางการตลาด สร้างภาพลักษณ์ของเมืองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว ซึ่งเราก็ใช้ identity ตรงนี้มาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของเราได้ โอ่งมังกร ผ้าทอคูบัว งานเซรามิก หรืองานหัตถกรรมอื่นๆ

เมืองเรามีต้นทุนทางอัตลักษณ์และความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้ว ถ้าหยิบการตลาดเข้าไปจับ นำไอเดียใหม่ๆ ไปช่วยให้ผลิตภัณฑ์มันเก๋ มีสไตล์ และร่วมสมัยขึ้น นำเรื่อง story telling มาใช้และสื่อสารออกมา เมืองราชบุรีจะมีศักยภาพเติบโตได้อีกเยอะค่ะ”

เกรซ พรพิไลสวัสดิ์
กรรมการผู้จัดการโรงแรม ณ เวลา ราชบุรี
https://www.navelahotel.com/
 

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago