“งานพัฒนาชุมชนทำงานอิงกับนโยบายหลักของกรมการพัฒนาชุมชน แต่ละช่วงกรมจัดสรรเรื่องอะไร พัฒนาชุมชนเมือง กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กลุ่มอาชีพ กลุ่มโอทอปชุมชน งานหลากหลายแล้วแต่เขากำหนดให้ ต้องทำงานประสานกับหลายส่วนหลายหน่วยงาน เราเป็นผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตำบลบึงยี่โถ ก็ทำผลงานไปตามกำลังความสามารถจนได้รับรางวัลอาสาพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด เราเป็นคนมีความรู้มีประสบการณ์ในการทำงานกับชาวบ้านเยอะ แต่งานอาสาเป็นงานที่ต้องมีเงิน มีเวลา ต้องทุ่มเท แต่ก็ต้องไม่เบียดบังเวลาชีวิตตัวเองด้วย คนที่มาทำก็จะเป็นคนที่ไม่ได้ทำงานประจำ สูงอายุบ้าง คนวัยกลางคนก็จะทำธุรกิจส่วนตัวเพราะเขาจัดสรรเวลามาได้
พื้นที่อำเภอธัญบุรีโดดเด่น จะพูดไปก็อยู่ที่งบบริหาร ในความเป็นเมือง เช่นนครรังสิต คนเยอะกว่า เป็นแหล่งเศรษฐกิจค้าขาย ปัญหาก็เยอะกว่า หลากหลายกว่า งบประมาณที่ได้มาเวลาจะไปพัฒนาอะไรต่าง ๆ ก็ถูกใช้ไปเยอะ และก็อยู่ที่มุมมองผู้บริหารของเทศบาลว่าทำยังไงให้เมืองน่าอยู่ ผู้บริหารมีมุมมองวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เทศบาลก็เจริญ ในหนึ่งวาระบริหารนี่ก็ทำอะไรได้เยอะนะ พอเขาทำได้เยอะ เขาก็ได้อยู่ต่อ อย่างเทศบาลบึงยี่โถ นายกรังสรรค์ก็อยู่มาหลายสมัย ท่านมองเห็นว่าปัจจุบันคนเข้าสู่วัยชราเยอะ ทำศูนย์การแพทย์บึงยี่โถที่มีศูนย์เดย์แคร์รองรับ เราทำงานลงพื้นที่มา เราก็มีความกังวลใจ เดี๋ยวนี้มีศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงดูแลคนชราเยอะมาก แต่ไม่มีกฎหมายมารองรับ ใครอยากเปิดก็เปิดได้ แต่ศูนย์เหล่านี้ไม่รู้ปลอดภัยมั้ย มีการตรวจสอบหรือเปล่า บางแห่งอยู่กันอย่างแออัด เพราะฉะนั้นศูนย์การแพทย์บึงยี่โถทำมาแล้ว ก็ค่อนข้างประสบความสำเร็จ
การพัฒนาชุมชนต้องพัฒนาคน ทุกองค์กร Human Resource คัดเลือกคนที่เข้ามาทำงานสำคัญมาก คัดเลือกคนที่โอเค งานคุณก็ไปได้ดี ประสบความสำเร็จในงาน คนรุ่นใหม่ก็ต้องจับโยงคนรุ่นกลางเก่ากลางใหม่มารวมกัน คนรุ่นเก่ามีส่วนดีอยู่ คนรุ่นใหม่มีเทคโนโลยี ที่จะมาเชื่อมเข้าด้วยกัน ทุกวันนี้งานพัฒนาในพื้นที่ การให้เงินกู้ นโยบายของรัฐต้องการให้คนรวมกลุ่มกันทำงาน เพราะจะแก้ปัญหาการขาดแรงงานได้ สมมติเราสามารถทำอาหารได้อร่อยสุดเลย สูตรของเราที่ไหนก็ไม่มีเหมือน แต่เราทำคนเดียวไม่ได้ รัฐก็ให้มาทำเป็นกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาแรงงาน แต่ในความเป็นจริงกลุ่มที่ทำอยู่ในปัจจุบันที่ทำได้จริง ๆ น้อยมาก โดยเฉพาะในชุมชนเมือง เพราะต่างคนต่างอยู่ การรวมกลุ่มมันยาก อีกอย่างแนวคิดคนไม่อยากร่วมทำกับใคร คนที่มีเงินเขาก็มีศักยภาพทำได้เอง ไม่มารวมกลุ่ม กลุ่มที่ทำจริง ๆ ก็เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์บ้านประดิษฐ์พรพิมาน ทำพวกกระเป๋าผักตบชวา งานถักเชือกร่ม ผ้ามัดย้อม อีกกลุ่มที่หมู่ 1 บึงยี่โถ ทำกระเป๋าสานด้วยเส้นใยพลาสติก อีกกลุ่มที่เทศบาลสนั่นรักษ์ ทำการท่องเที่ยวฮักสนั่นรักษ์ แล้วก็ทำเบเกอรีที่อาจารย์ราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) ไปช่วยสอน
กลุ่มผลิตภัณฑ์โอทอปทุกวันนี้ไม่ใช่ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์นะ หนึ่งหมู่บ้านมีหลายผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดปทุมธานีมีสองร้อยกว่าผลิตภัณฑ์ ก่อนนี้ก็รวมกลุ่มกันไปออกงานขายโอทอป แต่พอสถานการณ์โควิด การตลาดก็เปลี่ยนไปในรูปการขายออนไลน์ แต่คนในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่สูงวัย ต้องปรับตัว ไปเรียนคอร์สขายของออนไลน์ แต่บางคนกลับมาก็ทำไม่ได้ เรามองว่า รัฐควรเอางบประมาณมาสอนคนเรื่องเทคนิคการขายของออนไลน์ การสร้างเพจ การยิงโฆษณา แล้วก็ควานหาคนที่มีศักยภาพ อาจจะหา 1 คนต่อ 1 ตำบล ไม่ต้องหว่านสอนทุกคน ให้เขาสร้างแบรนด์ สร้างตัวตนขึ้นมาได้ ทำหน้าที่ขายของให้กลุ่ม เพราะเราเห็นตัวอย่างแล้วว่าไม่ใช่ทุกคนที่ขายของออนไลน์แล้วจะประสบความสำเร็จ คนที่ขายได้เขาต้องมีศักยภาพ มีความคิดพลิกบทบาทให้คนสนใจ ถ้าเราปั้นคนในกลุ่มมันก็ต่อยอดได้”
งามพิศ ธรรมทัศน์
อาสาพัฒนาชุมชน เทศบาลเมืองบึงยี่โถ
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…