“ผมทำโรงแรมแกรนด์ฮิลล์ฯ มา 16 ปี เพราะเห็นศักยภาพของการเป็นศูนย์กลางทางภาคเหนือตอนล่างของจังหวัดนครสวรรค์ โรงแรมผมจึงมีห้องประชุมที่ครบวงจร สปา ร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อเป็นตัวเลือกของนักท่องเที่ยวและหน่วยงานต่างๆ ที่มองหาสถานที่สำหรับจัดสัมมนาและกิจกรรมอื่นๆ
หลังจากที่การทำเกษตรอินทรีย์เริ่มเป็นที่รับรู้ในไทย ผมก็มองหาวัตถุดิบประเภทผักออร์แกนิกมาใช้ประกอบอาหารเช้าเสิร์ฟลูกค้าโรงแรมด้วย แต่หลายปีก่อน การจะหาฟาร์มเกษตรอินทรีย์ในนครสวรรค์นี่แทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะยังไม่แพร่หลายในบ้านเรานัก ถ้าจะซื้อ ต้องสั่งให้เขาส่งมาจากเชียงใหม่ ต้นทุนจึงสูงไปอีก กระทั่งมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการสมาร์ทฟาร์มของกฎบัตรนครสวรรค์ และก็พบว่าจริงๆ เราทำสวนเกษตรอินทรีย์ของเราได้เองนี่
เนื่องจากผมมีที่ดินเปล่าอยู่ในเมืองราว 7 ไร่ แต่ผมไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับการทำเกษตรเลย ดีที่ทางกฎบัตรเชื่อมให้ผมได้รู้จักกลุ่ม Young Smart Farmer ที่ริเริ่มทำเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดนครสวรรค์ ก็ได้รู้จักคุณบุ๋ม (เบญจพร ลาบเหลือ) และคุณสาว (รัตนาภรณ์ ทองแฉล้ม) ซึ่งมีความคิดตรงกัน จึงชวนพวกเขามาทำฟาร์มในที่ดินของผมเลย โดยก็ได้ทีมนักออกแบบจากกฎบัตรช่วยออกแบบที่ดินแห่งนี้ในกรอบของสมาร์ทฟาร์ม ตั้งชื่อว่า ‘ฟาร์มสุขสมใจ’
เราคุยกันตั้งแต่ต้นว่าผมไม่ได้หวังให้ฟาร์มสุขสมใจเป็นพื้นที่เชิงธุรกิจเต็มตัว เพราะตระหนักดีว่าถ้าทำในสเกลเล็กมันทำเงินไม่ได้หรอก เป้าหมายจริงๆ คืออยากให้พื้นที่ในตัวเมืองเรามีแปลงเกษตรสำหรับผลิตผักอินทรีย์ให้กับโรงแรมของผม และบางส่วนจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการ รวมถึงอยากให้สวนมีความเป็นพื้นที่กึ่งๆ สาธารณะให้คนในเมืองได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และอีกหน่อยถ้าสวนแห่งนี้อยู่ตัว เราอาจจะมีการแบ่งพื้นที่ให้คนในเมืองได้เช่าปลูกผักแปลงเล็กๆ ของเขาเอง คุณอยู่ตึกแถวใช่ไหม แต่อยากปลูกผัก มาปลูกในที่ดินเราและเก็บผลผลิตไปได้เลย ก็คิดเป็นค่าเช่าเดือนละไม่กี่บาท แบ่งปันกัน
โครงการนี้เริ่มปี 2564 ลองผิดลองถูกอยู่พักหนึ่ง ก่อนจะเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคมปี 2565 มีแปลงผักสลัด โรงเรือนปลูกผักสวนครัว เช่น พริก มะเขือ และอื่นๆ ที่เราเอาไปใช้ประกอบอาหารจริงจัง รวมถึงเล้าไก่ และความที่ผมต้องการให้พื้นที่มีความเป็นสาธารณะ ช่วงเปิดงานก็เลยจัดคอนเสิร์ตเปิดสวนโดยชวนเขียนไขและวานิชมาแสดง และมีการออกร้าน และกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ สร้างความรับรู้ให้ผู้คน
ก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีมาก หลายคนแปลกใจว่าในตัวเมืองเรามีสวนเกษตรอินทรีย์อยู่ตรงนี้ด้วย แถมยังเปิดให้เด็กๆ มาวิ่งเล่น มาเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตร และเรายังแบ่งผลผลิตบางส่วนให้ซื้อหากลับไป ทั้งนี้ทางกลุ่ม Young Smart Farmer เขาก็ออกแบบหลักสูตรการทำสวนในพื้นที่เล็กๆ หรือสวนแนวตั้งที่บ้าน ให้ผู้ที่สนใจมาเรียนรู้ เพราะเห็นว่าหลายครอบครัวก็อยากทำสวนผักของตัวเอง แต่ติดตรงที่มีที่ดินจำกัด ซึ่งนอกจากองค์ความรู้ เราก็ยังมีดิน มีต้นกล้า ปุ๋ย และน้ำหมักชีวภาพจำหน่ายในราคากันเองด้วย
ผมตั้งใจอยากให้สวนแห่งนี้จุดประกายผู้คนในเมืองนครสวรรค์ให้เห็นว่าแม้พื้นที่เล็กๆ เราก็ทำสวนผักปลอดภัยเพื่อใช้กินเองได้
ทุกวันนี้ผมใช้ผักจากฟาร์มแห่งนี้เสิร์ฟในอาหารเช้าให้กับแขกโรงแรมแกรนด์ฮิลล์ทุกคน แต่เนื่องจากเรามีผลผลิตจำกัด เลยยังไม่สามารถขยายไปถึงมื้อกลางวันและเย็นได้ แต่ก็มีแผนการจะเพิ่มกำลังผลิตในอนาคต
ในฐานะที่ผมทำธุรกิจท่องเที่ยว และทำงานให้หอการค้าจังหวัดฯ ผมมองว่านอกจากนครสวรรค์มีศักยภาพในการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เรายังสามารถนำจุดขายเรื่องอาหารการกินที่อร่อยมากๆ มาผสานเข้ากับการทำเกษตรอินทรีย์ ยกระดับให้เราเป็นเมืองอาหารปลอดภัยได้อีก ซึ่งสิ่งนี้ยังต่อยอดไปถึงการเป็น wellness hub ของภาคเหนือตอนล่าง ดึงดูดนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเที่ยวเมือง มาหาอาหารอร่อยๆ ที่ปลอดภัยรับประทาน รวมถึงเข้ารับบริการด้านสุขภาพและการผ่อนคลายต่างๆ
ผมจึงหวังลึกๆ ว่าฟาร์มสุขสมใจจะเป็นหนึ่งในฟาร์มที่ช่วยจุดประกายให้หลายคนเห็น และร่วมกันขับเคลื่อนเมืองของเราไปในทิศทางนี้”
ธนาเทพ ถึงสุข
เจ้าของโรงแรมแกรนด์ฮิลล์ รีสอร์ทแอนด์สปา
และผู้ร่วมก่อตั้งฟาร์มสุขสมใจ นครสวรรค์
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…