“จันทบุรีเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งท่องเที่ยวครบ ทั้งน้ำตก ทะเล ภูเขา อาหารก็ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีอาหารทะเล กุ้งหอยปูปลาครบ ช่วงหน้าผลไม้เดือนมีนาคมถึงมิถุนายนมีทั้งทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลางสาด ทำให้นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวช่วงนี้ค่อนข้างเยอะ คนจันท์ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวน บ้านเราทำธุรกิจพลอย เพราะจันทบุรีมีเหมืองแร่อยู่อำเภอท่าใหม่ มีชาวต่างชาติบินเข้ามาซื้อพลอยกลับไปขาย ช่วงโควิดก็กระทบ ทำให้ชาวต่างชาติเข้ามาซื้อไม่ได้ กระทบหลายอาชีพ ก็ต้องปรับตัว โรงแรมก็ปิดไปเลยเป็นเดือน ตอนนี้ค่อยๆ ดีขึ้น ที่นี่พนักงานไม่ได้เยอะก็สามารถไปต่อได้ มีลูกค้าที่ไม่ใช่นักท่องเที่ยว เช่น มางานแต่ง งานบวช มาธุระ คนในท้องที่บางทีก็ให้ญาติมาพัก
ตะปอน การ์เด้น รีสอร์ทเปิดปี 2557 ตอนแรกมาเราทำฟรอนต์ พนักงานต้อนรับ จนเป็นผู้จัดการ เราต้องทำให้เป็นทุกอย่าง ทำความสะอาดก็ทำได้นะ เราชอบบริหาร ชอบแก้ไขปัญหา ชอบเจอลูกค้า เราเป็นคนที่นี่ ไปเรียนกรุงเทพฯ จบรัฐประศาสนศาสตร์ ดูแตกต่างจากงานโรงแรมใช่มั้ย(หัวเราะ) แต่กลับมาทำงานที่จันท์เพราะได้อยู่กับครอบครัว ได้ดูแลพ่อแม่ ที่บ้านก็มีธุรกิจให้เราทำต่อได้ เมืองก็เปลี่ยนแปลงไปเยอะ จากเมื่อก่อนคนอาจไม่ค่อยมาเที่ยว พอมีโปรโมตการท่องเที่ยว มีโฮมสเตย์ นักท่องเที่ยวรู้จักจันทบุรี ก็มีนักท่องเที่ยวมาเยอะมาก ช่วงหน้าผลไม้โรงแรมจะมีลูกค้าเยอะ ร้านอาหารก็คนเยอะ แต่พอหมดหน้าผลไม้ คนก็หายไม่มาเที่ยวเท่าไหร่ ก็อยากให้มีการโปรโมตการท่องเที่ยวที่ทำให้คนอยากมาเที่ยวช่วงหน้านอกฤดูผลไม้ด้วย อยากให้เที่ยวได้ตลอดปี น่าจะต้องมีแลนด์มาร์กให้เกิดความรู้สึกอยากจะมา มีอีเวนต์บ้าง แต่ที่ผ่านมาอาจไม่ได้โปรโมตให้คนเข้ามา ความคึกคักเลยกระจุกอยู่แค่สามสี่เดือนช่วงหน้าผลไม้
ตอนนี้คนส่วนใหญ่เริ่มทำสวนทุเรียนมากขึ้น สวนที่มีอยู่ก็ตัดเงาะ ตัดมังคุด เพื่อปลูกทุเรียน เพราะเงาะราคาถูก ต่อไปอาจมีอะไรให้คนเข้ามาอยากลงทุน พอคนเข้ามาก็สร้างงานสร้างรายได้ ปัญหาของเมืองที่อยากให้แก้ไข 3 ข้อ หนึ่ง. การขนส่งสาธารณะมาไม่ถึงนอกเมือง อยู่แค่ในเมือง อยากให้กระจายออกมาทุกส่วน ของเราอยู่ริมถนนสุขุมวิท บางทีลูกค้ามา ถ้าเขาไม่มีรถยนต์ ก็ไม่สามารถออกไปเที่ยวไหนได้ ถ้ามีขนส่งสาธารณะมาถึง หรือพาไปเที่ยวน้ำตกพลิ้ว ก็อาจจะทำให้นักท่องเที่ยวที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัวมาเที่ยวได้ ส่วนคนในเมืองก็มีรถยนต์ เพราะไม่สะดวก บังคับให้เราต้องซื้อรถมอเตอร์ไซค์
สอง. อยากให้คนเข้าถึงสวัสดิการรัฐทั่วถึงกว่านี้ อยากให้สองปัจจัยพื้นฐาน ด้านการรักษาพยาบาล และการศึกษา เข้าถึงมากกว่านี้ เพราะเป็นสิ่งสำคัญ อย่างบางทีเขาอยู่ไกลจะเดินทางมารักษา โรงพยาบาลประจำตำบล ประจำอำเภอ รับรองไม่พอ เครื่องไม้เครื่องมือไม่ได้ครบขนาดนั้น สาม. เรื่องสวน ช่วงนี้คนมาลงทุนกับสวนเยอะ ในอนาคตคิดว่าทุเรียนคงเยอะมาก อยากให้มีแหล่งรองรับ บางทีอะไรที่เยอะเกินไปก็จะถูกกดราคา ค่าปุ๋ยก็แพง ระหว่างช่วงที่ไปถึงปลายทางเราอาจโดนกดราคา อยากให้มีการควบคุมราคา เพราะมันคือปากท้องของคนที่นี่”
กนกวรรณ สัจจาธรรม
ผู้จัดการตะปอน การ์เด้น รีสอร์ท
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…