“เราเสนอให้มีกิจกรรมนำร่องมาจากแนวคิดที่เด็กๆ เสนอ อาจทำสั้นๆ ใน 1 วัน เพราะแทนที่แนวคิดนี้จะอยู่ในกระดาษ มันอาจพัฒนาให้เกิดเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเมืองจริงๆ ได้ เด็กๆ ก็จะได้ภาคภูมิใจด้วย”

“เราสามคนไม่มีใครเป็นคนราชบุรีเลย แต่ย้ายมาเพื่อรับราชการครูที่นี่ ครูออยอยู่เมืองนี้มา 15 ปี ครูเจี๊ยบอยู่มา 13 ปี ส่วนครูสุรชัยอยู่มา 2 ปี แต่เราทั้งหมดก็หวังจะอยู่ที่นี่จนเกษียณ เพราะชอบเมืองนี้ ชอบวัฒนธรรม ความใกล้ชิดธรรมชาติ และผู้คนที่อัธยาศัยดี

เราไม่ได้สอนด้วยกัน ครูออยสอนสังคมและประวัติศาสตร์ ครูเจี๊ยบสอนฟิสิกส์ และครูสุรชัยสอนวิชาดนตรีพื้นบ้าน แต่ที่ได้ร่วมงานกันเพราะเราอยู่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเหมือนกัน ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานกิจกรรมเชิงสังคมนอกห้องเรียนของโรงเรียนเทศบาล 5 กับหน่วยงานต่างๆ

แต่เดิมกลุ่มสาระวิชาของพวกเราก็มีกิจกรรมนอกห้องเรียนอยู่แล้ว เพราะโรงเรียนเราเคยร่วมกับ ททท. สำนักงานราชบุรี ทำกิจกรรม ‘เจ้าบ้านน้อย’ โดยชวนให้นักเรียนในระดับชั้นต่างๆ มาเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองราชบุรี และหาวิธีสื่อสารถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดออกมาด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแต่งเพลง บทกลอน ละครเวที และอื่นๆ

โดยหลังจากนั้น ททท. ก็จัดตั้งศูนย์การท่องเที่ยวไว้ที่โรงเรียนของเราด้วย ซึ่งภายในศูนย์จะมีนิทรรศการเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด และข้อมูลด้านความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ ทำให้นักเรียนได้โรงเรียนเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับเมืองไปในตัว

พอมาปี 2564 ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรประสานเข้ามาขอให้เด็กๆ เข้าร่วมกิจกรรมเมืองแห่งการเรียนรู้ เราจึงแทบไม่ต้องปูพื้นเรื่องเมืองให้เด็กๆ เลย เริ่มแรกเขาให้โจทย์มาว่าให้เด็กๆ ช่วยกันคิดถึงพื้นที่การเรียนรู้ในเมืองและจะนำเสนอด้วยวิธีการใด คุณครูมีหน้าที่รับฟังพวกเขา และให้คำปรึกษาถึงแนวคิดในการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยว โดยแทบไม่ได้ชี้นำใดๆ

หลังจากนั้นทางโครงการก็ขอให้เราส่งเด็กๆ เข้ามาร่วมกิจกรรมการออกแบบเมือง เราจึงส่งเด็กไป 2 ทีม ไปเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการที่โรงแรม ณ เวลา และร่วมกันเสนอแนวคิดการออกแบบศูนย์การเรียนรู้เมืองราชบุรีในฝันของพวกเขา

นี่เป็นกิจกรรมที่ดีและกระตุ้นให้เด็กๆ ได้เรียนรู้พร้อมไปกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่ก็เสียดายอยู่นิดตรงที่กิจกรรมนี้ยังเป็นเพียงโครงร่างการออกแบบ ที่เด็กๆ เขียนและวาดรูปนำเสนอบนกระดาษ จะดีมากๆ ถ้ามีการนำไปต่อยอดเป็นรูปธรรม

อาจไม่ถึงกับต้องเป็นโครงการจริงจังก็ได้ แต่อาจเป็นกิจกรรมนำร่องจากแนวคิดที่เด็กๆ คิดให้มีคนมาร่วมสัก 1 วัน หรือถ้ากลุ่มไหนคิดถึงการออกแบบของที่ระลึก ก็อาจจะมีอาจารย์มาช่วยพัฒนาแบบให้เป็นผลิตภัณฑ์สักจำนวนหนึ่ง ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้เด็กๆ รู้สึกภูมิใจ เห็นถึงศักยภาพของพวกเขาเอง และมีความคิดอยากมีส่วนในการพัฒนาเมือง”

ครูออย-สุภารัตน์ รัฐเรืองมณีโรจน์,
ครูเจี๊ยบ-จิราพร พาพลงาม (สอนฟิสิกส์)
และครูสุรชัย บุญยง (สอนดนตรี)

คุณครูโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี)

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago

แก่งคอย…ย้อนรอยสงครามโลกเปลี่ยนบาดแผลประวัติศาสตร์สู่เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต

นอกจากจะถูกจดจำจากเพลงดังที่มีชื่อเดียวกับชื่ออำเภอของ ก้าน แก้วสุพรรณ และเพลงฮิตของคาราบาว ซึ่งสื่อถึงที่มาของชื่อ ‘แก่งคอย’ อย่าง ‘แร้งคอย’ หากไม่ใช่คนในพื้นที่ อาจนึกภาพไม่ออกว่าอำเภอของจังหวัดสระบุรีที่เป็นปากทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และประตูสู่ภาคอีสาน มีความสำคัญอย่างไร? ไม่เพียงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าผ่านแม่น้ำป่าสักและทางรถไฟ อำเภอแก่งคอย ยังเป็นจุดเริ่มต้น (ต่อจากอำเภอเมืองสระบุรี)…

1 year ago

ขอนแก่นโมเดล
The Legacy of City Development

เพราะเมือง คือ ผู้คน และผู้คน คือ ตัวแปรสำคัญที่สุดในการพัฒนาเมือง ความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานคุณภาพชีวิต จึงขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถ และความร่วมมือร่วมใจของคนในเมืองเป็นฐานสำคัญ กว่าทศวรรษที่ ‘ขอนแก่นโมเดล’ เป็นโมเดลการพัฒนาเมืองที่ได้รับการยอมรับ และพูดถึงในฐานะแนวคิดและปฏิบัติการการพัฒนาเมืองที่ก้าวหน้ามากที่สุด…

1 year ago

“ขอนแก่นเราไม่ใช่เป็นเมืองที่นั่งรอคนเข้ามาทำนู่นนี่ให้”

เมืองขอนแก่น ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป           ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด  ‘ผู้คน และความร่วมมือ…

1 year ago

“สำนึกรักท้องถิ่น ถือเป็นหัวใจสำคัญของจิตสำนึกของคนขอนแก่น”

“เมื่อพูดถึงเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครขอนแก่น เราดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘พัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข’ การที่เมืองจะพัฒนาได้และสร้างสังคมที่เป็นสุข ต้องเริ่มที่ ‘คน’ คนที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างในกรณีที่เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น ถ้าเราจะพัฒนาขอนแก่นเป็นเมือง…

1 year ago