“ผมเกิดและโตที่กรุงเทพฯ แต่ก็เหมือนคนกรุงเทพฯ หลายคนที่อยากหนีจากชีวิตวุ่นวายในเมืองใหญ่ เลยตัดสินใจย้ายมาเปิดร้านกาแฟที่เชียงใหม่เมื่อสิบกว่าปีก่อน แต่พออยู่ๆ ไป ก็รู้สึกว่าเชียงใหม่ไม่ตอบโจทย์ คือแค่ไม่มีตึกสูง เชียงใหม่ก็รถติดไม่ต่างจากกรุงเทพฯ แถมเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ของผมก็ล้วนเป็นคนกรุงเทพที่มาทำธุรกิจ หรือไม่ก็ชาวต่างชาติหมด รู้สึกเหมือนหนีชีวิตมาเพื่อเจอกับชีวิตแบบเดิมแค่เปลี่ยนสถานที่ไปเท่านั้นเอง
จนมีอยู่วันหนึ่ง ราว 7 ปีที่แล้ว ผมตามแฟนที่เป็นทนายความมาว่าความที่จังหวัดแพร่ เราตัดสินใจแวะค้างคืนที่ลำปาง พอเช้าวันถัดมา เราพบว่าเราหากาแฟดื่มไม่ได้เลย ตอนนั้นแหละที่ทำให้คิดลองย้ายมาเปิดร้านที่ลำปางดู ร้านแรกผมเปิดขายแถวตลาดหลักเมือง อยู่มาได้หนึ่งปี พอทราบว่าเจ้าของที่ตรงริมแม่น้ำวังย่านกาดกองต้าเปิดให้เช่า ก็เลยย้ายมาเปิดที่นี่ ตอนนี้เปิดมาได้ 6 ปีแล้ว
เอาจริงๆ ช่วงมาอยู่ลำปางใหม่ๆ อึดอัดทีเดียว เมืองมันเงียบ ของกินไม่ได้หลากหลาย แล้วก็ไม่รู้จะไปพักผ่อนที่ไหน ก็มานั่งทบทวนดู การย้ายมาอยู่ที่นี่มันอาจเป็นอุบัติเหตุก็ได้ เพราะถ้าวันนั้นผมไปพักที่พะเยา หรือที่แพร่ และตื่นขึ้นมาไม่มีกาแฟดื่ม ผมก็อาจย้ายไปอยู่ที่นั่น
แต่ในทางกลับกัน ยอดขายร้านกาแฟมันค่อนข้างดีเลย อาจเป็นเพราะตอนที่ผมเปิด ร้านมันไม่ได้มากเหมือนทุกวันนี้ และเราก็รักษาคุณภาพอยู่เสมอ เลยมีลูกค้าประจำต่อเนื่องจนทุกวันนี้ ที่สำคัญพออยู่ๆ ไปก็พบว่าที่เราเคยอึดอัด เพราะเราใช้มุมมองแบบคนเมืองใหญ่มามองเมืองเล็ก จากที่เคยอยู่เมืองใหญ่ที่มีอะไรพร้อม มาอยู่เมืองเล็กๆ เงียบๆ ก็ย่อมไม่คุ้นเคยอยู่แล้ว แต่ทำไมผมไม่คิดล่ะว่าที่เลือกมาเมืองนี้ ก็เพราะอยากหนีความวุ่นวายไม่ใช่หรือ
เสน่ห์ของลำปางสำหรับผมจึงเป็นความเรียบง่าย ไม่แฟนซี แต่ขณะเดียวกันก็มีทุกอย่างที่ตอบโจทย์ชีวิตผมได้ ที่สำคัญลำปางมันไม่มีไฮซีซั่นหรือโลว์ซีซั่น เราทำกาแฟขายคนลำปาง อาจมีนักท่องเที่ยวมาบ้าง แต่หลักๆ คือเราทำให้คนที่นี่กิน เลยรู้สึกว่าชีวิตมันเรียบง่ายตรงไปตรงมาดี และจังหวะของเมืองก็ไม่เร่งรีบมาก แต่ถ้าถามว่าอยากให้เมืองมันเจริญกว่านี้ไหม แน่นอนครับ ผมอยากให้เจริญอยู่แล้ว แต่ก็อยากให้เจริญในมุมของคุณภาพชีวิตของผู้คนที่ดีขึ้น คนรุ่นใหม่มีงานที่มีค่าตอบแทนที่ดีกว่าทุกวันนี้แบบนี้มากกว่า
ก่อนย้ายมาลำปางมีช่วงชีวิตหนึ่งที่ผมเคยไปเปิดแกลเลอรี่เล็กๆ แถวกาดพระนอนในจังหวัดแพร่ ตอนนั้นผมยังถ่ายรูปอยู่ ผมก็จัดนิทรรศการภาพถ่ายในแกลเลอรี่แห่งนั้น เป็นภาพถ่ายแนวศิลปะที่มีคอนเซปต์ชัดเจน ปรากฏว่าพอจัดแสดงไป คนที่เข้ามาดูเขาไม่เข้าใจเลย เขาไม่รู้ว่าเราถ่ายภาพหรือจะเล่าเรื่องอะไร ผมก็เหวอไปพักหนึ่ง จนมาคิดได้ว่าภาพที่เราว่ามันเป็นศิลปะถึงมันจะมีคุณค่าในพื้นที่หนึ่ง แต่ถ้ามันไม่เชื่อมโยงกับคนอีกพื้นที่ มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรกับชุมชนหรอกนะ นิทรรศการครั้งถัดไป ผมเลยถ่ายแนวสตรีท ถ่ายรูปผู้คนในแพร่ กลายเป็นว่างานนี้มีคนมาดูและชอบกันใหญ่ เพราะรูปถ่ายมันทำงานกับพวกเขา
นี่เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อมุมมองของผมทุกวันนี้ด้วย ผมมาเปิดร้านกาแฟที่ลำปาง ก็ไม่ได้คิดว่าร้านเราเจ๋งกว่าใครหรืออย่างไร เราแค่อยากทำกาแฟดีๆ ให้คนที่นี่ดื่มทุกวัน ให้ร้านเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเมืองนี้ เท่านั้นเลยครับ”
ภัทรเชษฐ ปัตถา
เจ้าของร้านกาแฟมาหามิตร (Mahamitr)
เมื่อความเสี่ยงจากภัยพิบัติกลายมาเป็นต้นทุนของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด จริงอยู่ที่การเป็นเมืองติดแม่น้ำซึ่งเผชิญกับความเสี่ยงด้านอุทกภัยจะดูไกลห่างจากความเป็น “เมืองน่าอยู่” กระนั้น เทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก็นำสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นจุดด้อย แปรเปลี่ยนเป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนาเมืองอย่างชาญฉลาด โครงการบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด และการพัฒนาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัย เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครปากเกร็ดและบพท. ในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเมือง (City Data…
น้ำเป็นทั้งพรและภัยของผู้คนในเทศบาลนครปากเกร็ด เมืองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเมืองนี้เติบโตมาจากหมู่บ้านชาวสวนในสมัยอยุธยา โดยสายน้ำไม่เพียงหล่อเลี้ยงชีวิต แต่ยังหลอมรวมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวไทย จีน และมอญ เข้าด้วยกัน กลายเป็นอัตลักษณ์และรากฐานสำคัญของการพัฒนาเมืองจนถึงปัจจุบันแต่ดังที่กล่าว น้ำก็เป็นภัยคุกคามที่ไม่อาจมองข้าม ในพื้นที่ 36 ตารางกิโลเมตรของเทศบาลนครปากเกร็ด แนวริมน้ำยาวกว่า 15 กิโลเมตรคือแนวหน้าที่ชุมชนหลายสิบแห่งต้องเผชิญกับมวลน้ำมหาศาลของเจ้าพระยา…
WeCitizens สนทนากับ รศ. ดร.สมพร คุณวิชิต หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลนครปากเกร็ด ถึง “โครงการบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดและการพัฒนาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่เทศบาลนครปากเกร็ด” ที่เขาขับเคลื่อน ว่าด้วยจุดเริ่มต้นและเป้าหมายในการทำให้ปากเกร็ดเป็นเมืองต้นแบบของการจัดการภัยพิบัติในระดับนานาชาติ เทศบาลนครปากเกร็ดมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน และการจัดการน้ำท่วมส่งผลต่อการทำปากเกร็ดให้เป็นเมืองน่าอยู่ได้อย่างไร ไปติดตามกัน ก่อนอื่น…
“ป้าเป็นคนอ่างทอง แต่ย้ายมาเรียนที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ประถมฯ พอเรียนจบ ไม่อยากอยู่เมืองที่พลุกพล่าน น้ำท่วมบ่อย บ้านแพง เลยมองหาชานเมืองที่สงบและราคาจับต้องได้ จนมาเจอปากเกร็ด ชุมชนประชานิเวศน์ 2 ระยะ 3 เป็นบ้านจัดสรรของการเคหะ ตั้งอยู่เยื้อง…
“คลองในพื้นที่ปากเกร็ดเป็นทั้งคลองดั้งเดิมและคลองที่ขุดขึ้นใหม่ ปัจจุบันมีทั้งหมด 17 คลอง รวมถึงลำราง ลำกระโดง และคูน้ำจำนวนหนึ่ง การดูแลพื้นที่ดังกล่าวเป็นงานที่ซับซ้อน เนื่องจากคลองบางแห่งมีปัญหาด้านกายภาพ ส่งผลกระทบต่อการไหลของน้ำและการป้องกันน้ำท่วมคลองบางพูดเป็นหนึ่งในคลองที่มีปัญหาหนักที่สุด โดยเฉพาะบริเวณใกล้ถนนแจ้งวัฒนะ เนื่องจากคลองมีลักษณะคดเคี้ยวและอยู่ติดกับบ้านเรือนประชาชน อีกทั้งประตูระบายน้ำบางแห่งยังชำรุด ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำเป็นไปได้ยาก เราจึงต้องเฝ้าระวังคุณภาพน้ำอย่างใกล้ชิด…
“ผมเป็นคนสุพรรณบุรี มาได้ภรรยาที่เกาะเกร็ด เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่วัยรุ่น ทำอาชีพขับเรือรับส่งคนจากเกาะเกร็ดไปปากเกร็ดหรือเมืองนนท์บ้าง รับ-ส่งตามท่าเรือต่าง ๆ คล้ายกับวินมอเตอร์ไซค์นี่แหละมีเรือรับส่งทั้งหมด 14 ลำ คนขับทุกคนเป็นคนเกาะเกร็ด ในวันธรรมดา คนบนเกาะส่วนหนึ่งเขาจะเลือกเดินทางเข้าเมืองด้วยการนั่งเรือข้ามฟากที่ท่าวัดสนามเหนือ แล้วก็นั่งรถเมล์ หรือรถสาธารณะอื่น ๆ…